Experience PRS งานดี กีตาร์สวย ตอนที่ 2 (จบ)

จากตอนที่แล้ว ที่ผมได้เล่าความเป็นมาของงาน Experience PRS นอกจากกิจกรรมต่างๆ แล้ว สิ่งที่เป็น hilight ของงานอีกอย่างหนึ่งก็คือการเปิดตัวกีตาร์ล็อตพิเศษจำนววนจำกัดชื่อเดียวกับงาน คือกีตาร์ซีรีส์ Experience PRS ซึ่งคอนเซพท์ของกีตาร์ซีรีส์ Experience ก็อาจเป็นกีตาร์ที่เอาสเปคไม่เหมือนไลน์ผลิตปกติ หรืออาจเป็นกีตาร์ที่เปิดตัว/แนะนำสเปคใหม่ๆ ของ PRS ที่จะนำไปใส่ในไลน์ผลิตปกติต่อไป

แต่ทั้งนี้ไม่ใช่ว่าทุกๆ ฟีเจอร์ในกีตาร์ Experience จะถูกถ่ายทอดลงไปสู่ production line ครบทุกอย่างนะครับ มันจะไปเฉพาะบางอย่างที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐานเท่านั้น อย่างเช่น ลักษณะบอดี้ ปิคอัพ ระบบไฟฟ้า อะไหล่ต่างๆ สี แต่องค์ประกอบสั่งตัดอื่นๆ อย่างเช่นเกรดไม้สวยๆ อินเลย์ฟรุ้งฟริ้ง ฝาครอบปิคอัพหรูๆ งานประดับต่างๆ จะไม่ได้ส่งต่อไปให้ด้วย ไม่งั้นเดี๋ยว Experience จะขายยาก อิอิ

 

กีตาร์ Experience PRS มันดูตรงไหน?

เหตุผลที่ผมตั้งหัวข้อแบบนั้นก็เพราะกีตาร์ EXP เขาไม่ได้เขียนชื่อรุ่นบอกไว้เสมอไปหรอกครับว่าเป็นซีรีส์นี้ แถมสเปคของกีตาร์ EXP แต่ละปีก็ไม่ซ้ำกัน ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าแต่ละปีจะเจอกับอะไรบ้าง

แต่ถึงอย่างไรมันก็พอมีจุดสังเกตให้รู้ว่าเป็นซีรีส์ EXP อยู่บ้าง ดังนี้ครับ

  1. มีคำว่า Experience PRS เขียนไว้ที่หลัง headstock หรือบน truss rod cover ถ้าเจอแบบนี้ก็ชัดเจนไม่ต้องคิดเยอะ
https://en.audiofanzine.com/misc-shape-guitar/prs/experience-prs-custom-24-limited-edition-2007/medias/pictures/a.play,m.800601.html

2) ปีหลังๆ ไม่ค่อยเขียนบอกแล้ว แต่จะมีอินเลย์ small eagle ตัวเล็กๆ อยู่ระหว่างเสาลูกบิดสายสองและห้า ซึ่งเป็นการจำลองอินเลย์นกอินทรีสไตล์ pre-factory ยุคก่อนที่ลุงพอลจะตั้งโรงงานผลิต โดยอินเลย์ small eagle ของกีตาร์ EXP นี้อาจจะเลี่ยมด้วยวัสดุอะไรก็ได้นะครับ แล้วแต่สเปคของแต่ละปี

https://artisanguitars.com/sites/default/files/guitar_product_images/IMG_6489.jpg

3) กีตาร์ EXP รุ่นที่ปิคอัพมีฝาก็มักจะมีการแกะข้อความเป็นชื่อรุ่นปิคอัพหรือชื่องาน Experience เอาไว้ คล้ายๆอย่างนี้ครับ

https://www.music-plant.com/webshop/products/detail.php?product_id=54641

List กีตาร์ Experience PRS

งาน Experience PRS นั้น แม้จะมีการเปิดตัวกีตาร์รวมถึงเครื่องดนตรีอื่นๆ ใหม่ๆ ทุกปี แต่มีบางปีเท่านั้นที่มีการเปิดตัวกีตาร์ Experience PRS ซึ่ง list กีตาร์ EXP ที่ีผมรวบรวมมาให้เพื่อนๆนี้ ผมคัดเฉพาะกีตาร์ที่ทำขึ้นเพื่อเป็นกีตาร์ที่ระลึกของงาน EXP จริงๆ (commemorative guitars) ซึ่งมีอัตลักษณ์บ่งบอกชัดเจน ส่วนพวก limited edition อื่นๆ ที่เปิดตัวในงานแต่ละปีนั้นซึ่งไม่ใช่กีตาร์ EXP ผมก็ไม่ใส่มาให้สับสนนะครับ

มีผู้ขายบางคนโพสต์ขายกีตาร์ลิมิเต็ดที่เปิดตัวในงาน EXP แต่อ้างคำว่า EXP ไม่แน่ใจว่าคนขายไม่รู้จริงๆว่ามันคนละอย่างกัน หรือตั้งใจทำให้กีตาร์ดูน่าซื้อมากขึ้นหรือไม่อย่างไร ซึ่งถ้าเราลองคิดดูดีๆจะเห็นว่าการทำแบบนั้นดูไม่สมเหตุสมผล เพราะทุกปีเขาก็เปิดตัวกีตาร์ลิมิเต็ดในงานนี้ ดังนั้นถ้าอ้างกีตาร์ PRS ที่เปิดตัวในงานนี้ว่าเป็นกีตาร์ Experience งั้นกีตาร์ PRS รุ่นลิมิเต็ดหรือแม้แต่กีตาร์ไลน์ผลิตปกติเกือบทุกรุ่นก็คงกลายเป็นซีรีส์ Experience ไปโดยปริยายหละครับ

บ่นอะไรนักหนานะผมนี่ เอาล่ะ ไปดูกีตาร์กันดีกว่า

 

ครั้งแรก (2007)

Experience PRS 2007 Custom 24

  • บอดี้ – มาฮอกกานี
  • ท็อป – เมเปิล
  • คอ – มาฮอกกานี โปรไฟล์ standard
  • ฟิงเกอร์บอร์ด – rosewood
  • อินเลย์ฟิงเกอร์บอร์ด – นก old school birds วัสดุอบาโลน
  • Headstock – ทำสีแมทช์กับบอดี้ ด้านหลังเขียนคำว่า EXPERIENCE PRS 2007
  • อินเลย์ Headstock – ลายเซ็น
  • Truss rod cover – สีดำ ไม่มีข้อความ
  • ลูกบิด – Phase II
  • Bridge – PRS tremolo
  • Pickups – #6 zebra
  • Electronics – McCarty switching: 1 vol, 1 tone ดึงตัดคอยล์ได้
  • Hardware – chrome
  • Color – 4 สี: แชมเปญ Champagne Fizz, แดง Raging Ruby, เขียว Calypso Green, และน้ำเงิน Warp Speed Blue
  • จำนวนผลิต 300 ตัว มี 200 ตัวที่ขายในอเมริกา แบ่งเป็นสีละ 50 ตัว

เปิดตัวกีตาร์ Experience PRS ปีแรกด้วย Custom 24 สีสดใส 4 สี คอนเซพท์ปีนี้คงเน้นทำสีสวยสะดุดตาเฉยๆ ไม่ได้จะพรีเซนต์อนาคตอะไร แต่จะมีที่แปลกๆตาหน่อยก็คงจะเป็นปิคอัพ #6 (นัมเบอร์ ซิกซ์) ซึ่งปกติจะมากับกีตาร์รุ่น Singlecut Tremolo นอกนั้นที่น่าสนใจก็อินเลย์นกอบาโลน (ปกติต้องสั่ง Artist Pack จึงจะได้) และการทำสีที่จะไม่ทำสีตรงด้านข้างและด้านหลัง สวยไปอีกแบบ

 

ครั้งที่ 2 (2008)

ปี 2008 PRS ไม่มีการเปิดตัวกีตาร์ซีรีส์ EXP ผมคิดว่าน่าจะเพราะช่วงนั้นกำลังโหมโปรโมทกีตาร์ที่ติดปิคอัพรุ่นใหม่ล่าสุดซึ่งตั้งชื่อด้วยตัวเลขปี ค.ศ. ซึ่งปิคอัพในซีรี่ส์นี้ PRS นำลวดทองแดงมาจาก supplier เจ้าเดียวกันกับที่ผลิตให้ Fender และ Gibson ในยุค 50s ซึ่งเป็นยุคทองของกีตาร์ไฟฟ้าและเป็นยุคแห่งโทนเสียงวินเทจที่สร้างแรงบันดาลใจให้ลุงพอลในการสร้าง PRS สายวินเทจ ปิคอัพตัวแรกของซีรี่ส์ตัวเลขที่ลุงพอลแกภูมิใจนักหนาก็คือ 1957/2008 หรือเรียกสั้นๆ ว่า 57/08 นั่นเอง

กีตาร์ใหม่ที่เปิดตัวในงาน Experience ปี 2008 ก็จะมาพร้อมปิคอัพ 57/08 เป็นส่วนใหญ่ เช่น 1957/2008 Limited ซึ่งมีทั้งเชพ Custom 24, McCarty และ SC นอกจากนี้ก็เป็นรุ่นของศิลปินดังลายรุ้ง Al Di Meola Prism นอกจากนี้ก็มีเปิดตัว Modern Eagle II และ Starla (รุ่นออริจินอลที่สเกลยังเป็น 24.5)

ครั้งที่ 3 (2009)

ปี 2009 ก็ไม่มีการเปิดตัวกีตาร์ EXP และเช่นกันผมคิดว่าเหตุผลก็คล้ายๆกับปี 2008 เนื่องจากในปี 2009 PRS ก็เปิดตัวปิคอัพรุ่น 1959/2009 (หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า 59/09) ซึ่ง PRS ก็เริ่มทยอยติดตั้งปิคอัพรุ่นนี้ลงในกีตาร์หลายรุ่น

ครั้งที่ 4 (2010)

Experience PRS 2010 Custom 24

https://reverb.com/item/6903403-paul-reed-smith-custom-24-prs-experience-2010

Specs:

  • บอดี้ – มาฮอกกานี
  • ท็อป – เมเปิล เกรด Artist
  • คอ – Indian rosewood
  • ฟิงเกอร์บอร์ด – Indian rosewood
  • อินเลย์ฟิงเกอร์บอร์ด – นก old school birds วัสดุเปลือกหอยมุก
  • Headstock – Indian rosewood
  • อินเลย์ Headstock – อินเลย์ pre-factory small eagle วัสดุ MOP
  • Truss rod cover – Custom
  • ลูกบิด – Phase II
  • Bridge – PRS tremolo
  • Pickups – 59/09 ไม่มีฝาครอบ หรือ 53/10 มีฝาครอบ
  • Electronics – McCarty switching: 1 vol, 1 tone ดึงตัดคอยล์ได้
  • Hardware – gold
  • จำนวนผลิต 200 ตัว

กีตาร์ EXP กลับมาอีกครั้งหลังเงียบหายไปสองปี มาคราวนี้ดู PRS จะเริ่มตั้งอกตั้งใจวาง position ซีรีส์ EXP ให้ดูมีตัวตน มีความสำคัญมากกว่าแค่ผสมสเปคกับใส่สีอย่างปี 2007 เพราะรอบนี้ใช้ไม้อินเดียนโรสวูดทำคอทั้งดุ้น อินเลย์ small eagle ที่ headstock ถูกนำมาใช้กับซีรีส์นี้เป็นปีแรก ส่วนไม้ท็อปก็จัดหนักให้เกรด Artist มาเลย เรียกว่าสวยเป็นรองก็แค่ Private Stock เท่านั้นเอง

EXP Custom 24 ปีนี้เป็นปีเดียวที่ยังใช้สวิทช์สไตล์แมคาร์ตี้นะครับ ใครชอบสวิทช์สามทางคลาสสิคๆ แบบนี้ แถมจะเอาคอโรสวูด ไม้ท็อปเฟลมเจ็บๆ ก็ต้องรุ่นนี้ปีนี้แล้วหละครับ โลโก้ที่หัวกีตาร์จะช่วยเสริมบารมีความเป็นนักสะสมของท่านขึ้นไปอีก ให้รู้กันไปว่านี่ไม่ใช่ Custom 24 ธรรมดา

ครั้งที่ 5 (2011)

Experience PRS 2011 Custom 24

sweetwater.com

  • บอดี้ – ribbon mahogany
  • ท็อป – เมเปิล เกรด Artist
  • คอ – มาฮอกกานี โปรไฟล์ Pattern Regular
  • ฟิงเกอร์บอร์ด – ebony
  • อินเลย์ฟิงเกอร์บอร์ด – นก dirt birds เวอร์ชัน EXP 2011  ตัวนกเป็นวัสดุ black lip MOP เส้นขอบนกเป็นวัสดุ white MOP
  • Headstock – แปะ maple veneer ลายเฟลม สีแมทช์กับบอดี้
  • อินเลย์ Headstock – small eagle
  • Truss rod cover – ไม้ ebony ไม่มีข้อความ
  • ลูกบิด – Phase III
  • Bridge – PRS tremolo
  • Pickups – 59/09 มีฝาปิด สลักข้อความ “59/09 EXP 2011”
  • Electronics – 1 vol, 1 tone, 5 way blade switch
  • Hardware – hybrid (โครเมี่ยม – ทอง)
  • Finish – V12
  • จำนวนผลิต 200 ตัว

กีตาร์ลำดับที่  ของตระกูล Experience เป็นการเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่หลายอย่างก่อนถ่ายทอดลงสู่ไลน์ core  Custom 24 ในช่วงปีนั้น ซึ่งก็ได้แก่ คอโปรไฟล์ Pattern ทรง Regular, อินเลย์ฟิงเกอร์บอร์ดสไตล์ dirt birds ซึ่งในเวอร์ชัน EXP เป็นวัสดุ black lip MOP สีโทนดำ ตัดขอบด้วย MOP สีขาว แต่ในเวอร์ชัน core ของ Custom 24 ปี 2011 จะถูก downgrade เป็นวัสดุสังเคราะห์ corian ที่มีสีสันใกล้เคียงกัน, สวิทช์เปลี่ยนจาก toggle สามทางมาเป็นสวิทช์ blade 5 ทาง, ลูกบิดรุ่นใหม่ Phase III แกนทองเหลืองไม่ชุบโครเมี่ยมและเปิดหลังโชว์เฟืองทองเหลือง, และสุดท้าย เคลือบผิวแบบ V12

ไฮไลท์เด่นสุดของรุ่นนี้ก็น่าจะเป็น headstock veneer ลายเฟลมแมทช์กับบอดี้ สวยมากมาย และเจอไม่บ่อยนะครับ และแน่นอน ของแต่งฟรุ้งฟริ้งแบบนี้ไม่ถูกนำไปใส่ในไลน์ผลิตปกติ

ครั้งที่ 6 (2012)

กีตาร์ Experience PRS ของปีนี้มี 2 รุ่นนะครับ

Experience PRS 2012 Custom 24

 

https://www.music-plant.com/webshop/products/detail.php?product_id=54641
  • บอดี้ – African mahogany
  • ท็อป – เมเปิล เกรด artist
  • คอ – เมเปิลลายเฟลม โปรไฟล์ Pattern Regular
  • ฟิงเกอร์บอร์ด – Mexican ebony
  • อินเลย์ฟิงเกอร์บอร์ด – นก J. birds วัสดุตัวนก green select abalone, วัสดุเส้นขอบนก green ripple abalone
  • Headstock – แปะวีเนียร์ Macasar ebony 
  • อินเลย์ Headstock – small eagle วัสดุ green select abalone 
  • Truss rod cover – Mexican ebony ไม่มีข้อความ
  • ลูกบิด – Phase III
  • Bridge – PRS tremolo
  • Pickups – Experience 2012 มีฝาครอบ สลักคำว่า “EXP 2012”
  • Electronics -blade switch 5 ทาง
  • Hardware – hybrid
  • Color – 10 สี: Autumn Sky, Bitchin’ Bev, Blue Crab Blue Burst, Bonnie Pink, Cherry Vanilla Burst, Faded Abalone Smokeburst, Jade, Livingston Lemondrop, Old Antique Vintage Natural, Solana Eclipse
  • จำนวนผลิต 100 ตัว

Experience PRS 2012 P22 

http://wildwireguitars.com/prs-p22-artist-package-experience-2012-in-livingston-lemondrop-with-53-10-pickups-maple-neck-used-192287/

ในคลิป Experience P22 คือตัวสี Old Antique Vintage Natural ทางซ้ายมือเรานะครับ แต่ตัวสีเขียวนั่นเป็น P22 เวอร์ชันปกติ ซึ่งไม้ ปิคอัพ รวมถึงงานประดับจะต่างกัน

สเปค Experience PRS 2012 P22

  • บอดี้ – African mahogany
  • ท็อป – เมเปิล เกรด artist
  • คอ – เมเปิลลายเฟลม โปรไฟล์ Pattern Regular
  • ฟิงเกอร์บอร์ด – Mexican ebony 22 เฟรท
  • อินเลย์ฟิงเกอร์บอร์ด – นก J. birds วัสดุตัวนก green select abalone, วัสดุเส้นขอบนก green ripple abalone
  • Headstock – แปะวีเนียร์ Macasar ebony 
  • อินเลย์ Headstock – small eagle วัสดุ green select abalone
  • Truss rod cover – Mexican ebony ไม่มีข้อความ
  • ลูกบิด – Phase III
  • Bridge – PRS/LR Baggs Piezo Stoptail
  • Pickups
    • Magnetic – 53/10 มีฝาครอบ สลักคำว่า “EXP 2012”
    • Piezo – PRS/L.R. Baggs piezo ติดตั้งบนบริดจ์ PRS stoptail
  • Electronics
    • blade switch 5 ทาง สำหรับเลือกปิคอัพปกติ
    • mini toggle เลือกเสียงไฟฟ้าหรือ piezo
    • 1 vol สำหรับเสียงปิคอัพ 53/10
    • 1 tone สำหรับเสียงปิคอัพ 53/10
    • 1 blend control สำหรับบาลานซ์วอลุ่มของทั้งสองปิคอัพ
  • Hardware – hybrid
  • Color – 10 สี: Autumn Sky, Bitchin’ Bev, Blue Crab Blue Burst, Bonnie Pink, Cherry Vanilla Burst, Faded Abalone Smokeburst, Jade, Livingston Lemondrop, Old Antique Vintage Natural, Solana Eclipse
  • จำนวนผลิต 100 ตัว

สำหรับกีตาร์ EXP ของปีนี้ตัวแรกก็คือ Custom 24 ที่เราคุ้นเคย แต่จัดสเปคไม้มาเต็ม ตั้งแต่ท็อปเกรด Artist คอเมเปิลลายเฟลมจัดๆ ฟิงเกอร์บอร์ดอีโบนีเม็กซิโกสีออกโทนน้ำตาล อินเลย์นกสไตล์ J. birds วัสดุ green select abalone มีเดินเส้นขอบ headstock แปะวีเนียร์ Macasar ebony ซึ่งเป็นคนละสายพันธุ์กับที่ฟิงเกอร์บอร์ดนะครับ สังเกตในรูปจะเห็นว่า Macasar veneer มีมีริ้วลวดลายเหลืองๆด้วย และงานประดับส่วนที่เป็นเหมือนลายเซ็นของซีรีส์ Experience คือ อินเลย์ small eagle ที่หัวก็จัดมาให้อย่างงาม เป็น green paua heart เดินขอบด้วย green ripple abalone

ส่วน Experience P22 ก็เป็นการเปิดตัวกีตาร์ PRS solidbody รุ่นแรกที่ติด piezo เพื่อเลียนเสียงกีตาร์โปร่ง ซึ่งโดยปกติก่อนหน้านี้ระบบ piezo ของ PRS จะมากับกีตาร์รุ่นตัวกลวงเท่านั้น ปิคอัพ magnetic รุ่น 53/10 เอาท์พุทโคตรต่ำ ต่ำยิ่งกว่า 57/08 ให้โทนแจ๊สนุ่มละมุน  สำหรับงานประดับนั้นก็คล้ายกันกับ CU24 ตัวข้างบนครับ

Private Stock Nouveau Inlay

ในงาน EXP 2012 นอกจากกีตาร์ EXP limited 2 รุ่นตามที่ได้นำเสนอไปแล้ว ยังมีการเปิดตัวลายอินเลย์ใหม่ลวดลายอินเลย์อ่อนช้อยที่เรียกว่า ‘Nouveau’ (นูโว) ซึ่งเป็นสไตล์การออกแบบที่ได้แรงบันดาลใจมาจากเทรนด์การออกแบบที่เรียกว่า Art Nouveau ของปลายยุค 1880s ดูเก่าแก่คลาสสิค มีความหรูหราเหมือนงานประดับอาคารเก่าๆของยุโรปสมัยร้อยกว่าปีที่แล้ว เป็นผลงานการออกแบบของบริษัท Aulson Inlays

ถึงแม้อินเลย์นี้นำออกโชว์ครั้งแรกในงาน Experience PRS 2012 แต่มันไม่ได้กั๊กไว้ใช้เฉพาะกีตาร์ EXP 2012 นะครับ อินเลย์ลายนี้ถ้าใครอยากมีบ้างก็สั่งทำใหม่ได้

ครั้งที่ 7 (2013)

มี 2 รุ่น

Experience PRS 2013 408 Semi-hollow

lkg-guitars.de

  • บอดี้ – มาฮอกกานี เจาะบอดี้แบบ semi-hollow
  • ท็อป – เมเปิล มี f-hole หนึ่งรู
  • คอ – มาฮอกกานี โปรไฟล์ Pattern
  • ฟิงเกอร์บอร์ด – ebony
  • อินเลย์ฟิงเกอร์บอร์ด – นก J. birds วัสดุตัวนก green select abalone, วัสดุเส้นขอบนก green ripple abalone
  • Headstock – แปะวีเนียร์ ebony
  • อินเลย์ Headstock – นก small eagle 
  • Truss rod cover – ebony ไม่มีข้อความ
  • ลูกบิด – Phase III
  • Bridge – PRS tremolo
  • Pickups – 408
  • Electronics – 408: 1 blade switch 3 ทาง, 1 vol, 1 tone, 2 mini toggle
  • Hardware – hybrid
  • จำนวนผลิต 100 ตัว

Experience PRS 2013 Private Stock Custom 22

http://willcuttguitars.com/paul-reed-smith/private-stock/sold-private-stock-gallery/prs-private-stock-4658-custom-22
http://www.prsguitars.com/index.php/privatestock/gallery_guitar/experience_prs_2013_private_stock_custom_22

สเปค Experience PRS 2013 Private Stock Custom 22:

  • บอดี้ – swamp ash
  • ท็อป – quilted maple เกรด PS หรือ curly maple เกรดเดียวกัน และจะใช้ไม้เมเปิลลายลักษณะเดียวกันทำแผ่น backplate ด้านหลังให้ด้วย
  • คอ – มาฮอกกานี โปรไฟล์ Pattern
  • ฟิงเกอร์บอร์ด – African blackwood เดินเส้น purfling ด้วยงาช้างแมมมอธ
  • อินเลย์ฟิงเกอร์บอร์ด – Private Stock Experience วัสดุ:
    • ทอง 14k
    • ทองคำขาว
    • งาช้างแมมมอธ
  • Headstock – แปะวีเนียร์ไม้ African blackwood ลายเซ็นจากมือลุงพอล
  • อินเลย์ Headstock – ลายเซ็น
  • Truss rod cover – ไม้ ebony ไม่มีข้อความ
  • ลูกบิด – Robson ไม่ล็อกสาย buttons เป็นสีงาช้าง
  • Bridge – ตามสั่ง PRS tremolo หรือ stoptail ก็ได้
  • Pickups – ตามสั่ง รุ่นไหนก็ได้ที่ไซส์มาตรฐาน
  • Electronics -blade 5 ทาง
  • Hardware – hybrid
  • จำนวนผลิต 30 ตัว

กีตาร์ EXP 2013 PRS ใช้กีตาร์รุ่น 408 ซึ่งประกอบด้วยคอยล์ 4 อัน มีสวิทช์เลือกปิคอัพหลักแบบ blade 3 ทาง ใช้คู่กับ mini toggle สองอัน แยกตัดคอยล์ได้อิสระโดยวอลุ่มไม่ดรอป ผสมไปผสมมาได้ 8 เสียง บอดี้ semi-hollow ไม้ท็อปเกรดสูงพร้อมอินเลย์ small eagle บน headstock ตามธรรมเนียม อัพเกรดฟิงเกอร์บอร์ดเป็นไม้อีโบนี อินเลย์นก J. birds เหมือนของปีที่แล้ว แต่ไฮไลท์ของ EXP ปีนี้น่าจะอยู่ที่กีตาร์  Custom 22 จากแผนก Private Stock (custom shop ของ PRS) ที่สเปคก็แหวกแนวตามสไตล์ PS เริ่มจากบอดี้ใช้ไม้ swamp ash ลายสวยๆ ท็อปเมเปิลเกรดสูงสุด ฟิงเกอร์บอร์ด African blackwood ที่มากับอินเลย์ Private Stock Experience ออกแบบเฉพาะสำหรับกีตาร์รุ่นนี้ วัสดุหลักที่ใช้ก็มีทอง 14k กับงาช้างแมมมอธ ลูกค้าสามารถเลือกออพชั่นได้หลายอย่างนะครับตั้งแต่ปิคอัพ ลายไม้ สี บริดจ์ ฯลฯ

ครั้งที่ 8 (2016)

Experience PRS 2016 Custom 24-08

Specs:

  • บอดี้ – มาฮอกกานี
  • ท็อป – เมเปิล เท็นท็อป
  • คอ – มาฮอกกานี
  • ฟิงเกอร์บอร์ด – อีโบนีกาบอง
  • อินเลย์ฟิงเกอร์บอร์ด – นก old school วัสดุ green abalone
  • Headstock – แปะวีเนียร์อีโบนีกาบอง
  • อินเลย์ headstock – small eagle วัสดุ green abalone
  • Truss rod cover – “Experience 2016 Ltd”
  • ลูกบิด – Phase III
  • Bridge – PRS tremolo
  • Pickups – 85/15 multi tap
  • Electronics – 1 vol, 1 tone, มีระบบสวิทช์ของ 408 คือมี blade switch สามทางสำหรับเลือกปิคอัพ humbucker ทั้งสามตำแหน่ง และมี mini toggle สองตัวแยกตัดคอยล์ฮัมบักเกอร์ทั้งสองตัวอิสระโดยวอลุ่มไม่ดร็อป
  • จำนวนผลิต 50 ตัว

ปี 2016 กลับมาใช้พื้นฐานของรุ่น Custom 24 แต่เปลี่ยนปิคอัพเป็น 85/15 multi tap และเพิ่มระบบสวิทช์ของรุ่น 408 มาให้ ซึ่งแยกตัดคอยล์ได้อิสระโดยวอลุ่มไม่ดรอป ฟิงเกอร์บอร์ดและวีเนียร์แปะหัวทำจากไม้อีโบนีประเทศกาบอง อินเลย์นก old school เลี่ยมด้วย green abalone สีเขียวรุ้งสวยงาม ซึ่งตรงนี้จะต่างจากเวอร์ชัน core production ที่เป็นนกสไตล์ J. birds

หลังจาก Exp 2016 Custom 24-08 Ltd เปิดตัวในฐานะ Exp ไปแล้ว ต่อมา PRS ก็ทำ Custom 24-08 เวอร์ชัน Core ขาย ซึ่งก็เหลือเฉพาะปิคอัพกับระบบคอนโทรลแบบ 408 เท่านั้นที่ได้รับการถ่ายทอดจาก Exp 16 แต่ฟีเจอร์ฟรุ้งฟริ้งอื่นๆนั้น ไม่ให้ ซึ่งก็เป็น marketing อย่างหนึ่งตามที่ผมได้บอกไปแล้วข้างต้น

ครั้งที่ 9 (เดือนมิถุนายน ปี 2018)

กีตาร์ limited edition 5 รุ่นที่เปิดตัวในงาน EXP ปี 2018 ได้แก่

  1. Special Semi-hollow
  2. Paul’s Guitar (สเปคใหม่)
  3. Private Stock Graveyard LTD
  4. McCarty 594 Semi-hollow และ
  5. McCarty Singlecut 594 Semi-hollow

PRS Experience 2018 Special Semi-hollow

  • Body – semi-hollow mahogany
  • Top – figured maple
  • Neck – mahogany
  • Neck profile – Pattern
  • Scale length – 25″
  • Number of frets – 22
  • Fingerboard – rosewood
  • Fingerboard inlay – J. birds
  • Headstock veneer – rosewood
  • Truss rod cover text – Special
  • Tuners – PRS Phase III locking
  • Bridge – PRS Gen III Tremolo
  • Pickups
    • treble: 58/15 MT
    • middle: 57/08 Narrowfield (NF)
    • bass: 58/15 MT reversed
  • Electronics – 5 way blade, 2 mini toggles, vol, tone

พูดถึงกีตาร์ PRS รุ่นที่ชื่อ Special เพื่อนๆบางคนอาจไม่คุ้นเคย แต่ที่จริงรุ่น Special เปิดตัวครั้งแรกตั้งแต่ปี 1987 เป็นกีตาร์รุ่นแรกของค่ายนี้ที่มีการใช้คอบางหรือคอ wide thin ในขณะนั้น แต่ต่อมากีตาร์รุ่นนี้ก็ถูกถอดจากสายการผลิตหลักไป ยุคหลังๆก็มาเป็นครั้งคราว อาจเป็นในซีรีส์ที่ผลิตไม่มากเท่าพวกรุ่นทำเงินอย่าง Custom 24 กีตาร์ PRS Special มีจุดสังเกตง่ายๆ คือจะมากับ pickup configuration สไตล์ hum-sing-hum และมี 22 เฟรทครับ

สำหรับกีตาร์ Special เวอร์ชันพิเศษที่เปิดตัวในงาน EXP PRS ครั้งที่ 9 หรือปี 2018 นี้ เป็นกีตาร์ semi hollowbody ที่ดูเผินๆ ช่างคล้ายกับ Supe Eagle ของ John Mayer กีตาร์ Special ตัวนี้มากับปิคอัพ 58/15 เวอร์ชันใหม่ Multi-Tap (MT) ที่ตำแหน่ง treble และ bass  โดยตัว bass วาง screw coils กลับด้าน หันเข้ามาด้านในแทนที่จะหันไปทางฟิงเกอร์บอร์ดคล้ายกับการวางปิคอัพ Narrow 408 จุดประสงค์ก็เพื่อทำให้การรับรู้การสั่นของสายอยู่ในตำแหน่งที่มี focus มากขึ้น ลดโอกาสเสียงบวมเบลอลงเล็กน้อย ไม่ใช่การกลับเฟสอย่าง Les Paul Greenie/Gary Moore นะครับ

ตำแหน่ง middle pickup ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของกีตาร์รุ่น Special นั้น มาคราวนี้ใช้ปิคอัพ 57/08 Narrowfield ซึ่งโดยโครงสร้างแล้ว มันคือ humbucker รุ่น 57/08 ที่ออกแบบใหม่ บีบพื้นที่ผิวหน้ารับรู้การสั่นของสายให้แคบลง มีโฟกัส เสียงมีคาแรคเตอร์ใกล้เคียงกับ P-90 single coil แต่ไร้อาการจี่อย่างสิ้นเชิง เพราะอย่างที่ผมบอก มันคือ humbucker ย่อส่วน

ปิคอัพสามตัวนี้มากับระบบ switching คล้ายกับของรุ่น 509 คือเป็นการเอาระบบตัดคอยล์ของ 408 มาใช้ร่วมกับ blade switch 5 ทาง

หลักการทำงานคือมี mini toggle สองตัวควบคุมการทำงานของ humbucker สวิทช์ mini toggle ละตัวมีสองแก๊ก แต่ละแก๊กเป็นการเลือกการทำงานของ humbucker ระหว่างเปิดเต็มและตัดคอยล์ ปิคอัพทั้งสามตำแหน่งมี blade switch 5 ทางเป็น selector หลัก แต่มีสิ่งหนึ่งที่สวิทช์ 5 ทางอันนี้ไม่เหมือนของพวก Strat ทั่วไป คือ แก๊กที่ 3 ไม่ได้เปิดใช้งานปิคอัพตัวกลาง เป็นยังไงนั้น เราไปดูกันครับ ปรับได้เยอะมาก เบ็ดเสร็จเจ้า Special limited ตัวนี้มี 12 เสียง และอย่างที่บอก ไม่มีตำแหน่งไหนที่เปิดใช้งานตัวกลาง (NF) ตัวเดียวโดดๆนะครับ มันมีไว้เพื่อผสมเสียงเท่านั้น Special รุ่นนี้ไม่เหมือนรุ่นก่อนๆ ที่ดึงปุ่ม tone เพื่อเปิดใช้งานปิคอัพตัวกลางโดดๆได้ ส่วนเรื่องของเสียงของ Special ตัวนี้ แม้จะเป็นปิคอัพ 58/15 MT ที่มีความอุ่น วินเทจ แต่เมื่อใช้ระบบ 408 switching เข้าไปก็ช่วยให้เสียงตัดคอยล์มีความใกล้เคียง single coil มากโดยที่วอลุ่มแทบไม่ตกเมื่อเราตัดคอยล์ บอดี้ขุดโพรงกลวงครึ่งบนช่วยลดน้ำหนักสบายไหล่คนเล่น ขณะเดียวกันก็เติมความนวลให้เนื้อเสียง เกิดเป็นส่วนผสมใหม่ที่นวลแต่เคลียร์ พร้อมออพชันเสียงมากมายจนบางคนอาจใช้ไม่หมด ฮ่าๆ

ราคา pre order $ 3,850

specs Special Semi-hollow ltd. http://www.prsguitars.com/index.php/electrics/core/special_semi_hollow_limited_edition

PRS Experience 2018 Paul’s Guitar

  • Body – thick mahogany
  • Top – ‘Dirty’ maple
  • Neck – mahogany
  • Neck profile – Pattern
  • Scale length – 25″
  • Number of frets – 22
  • Fingerboard – Ziricote
  • Fingerboard inlay – small Brushstroke birds, วัสดุ corian
  • Headstock overlay – Ziricote
  • Headstock inlay – PRS pre-factory small eagle เลี่ยมด้วยอบาโลน
  • Truss rod cover text – none
  • Nut – bone
  • Tuners – PRS Phase III locking, ivoroid buttons
  • Bridge – PRS Stoptail with brass inserts
  • Pickups – TCI
  • Electronics – 3 way toggle, 2 mini toggles, vol, tone
  • Color – Black Gold (ไม่มี body binding)
  • Finish – nitrocellulose

เห็นสเปคที่ผมเน้นข้อความไว้ให้แล้ว เพื่อนๆบางคนที่รู้จักกีตาร์รุ่นนี้มาก่อนคงมีสะดุดตากันบ้างว่ามันมีอะไรแปลกๆไปจากเดิม ใช่แล้วครับ PRS Paul’s Guitar รุ่นที่เปิดตัวในงาน EXP 2018 มีการเปลี่ยนแปลงสเปคจากนอกจรดใน

โครงสร้างโดยรวมเหมือนเดิม บอดี้และคอมาฮอกกานี ตัวหนาเท่า McCarty ท็อปเมเปิลลายเฟลมลึกกว่าปกติที่ลุงพอลเรียกว่า dirty grade มี 22 เฟรท (เขาไม่ได้บอกว่ายังใช้ขนาดจัมโบ้เหมือนเดิมรึเปล่า แต่ผมคิดว่าใช่) ฟิงเกอร์บอร์ดเปลี่ยนจากไม้โรสวูดฮอนดูรัส มาเป็น ziricote (ซิริโคตี) ซึ่งให้โทนเสียงอยู่ระหว่าง Indian rosewood กับ Macassar ebony กึ่งเบสกึ่งไบรท์ มีลวดลายเฉพาะตัว ส่วนอินเลย์นก Brushstroke birds ปรับใหม่ ลดไซส์ลงลงสามารถอยู่ในช่องเฟรทได้โดยไม่โดนเฟรทวางทับเหมือนรุ่นก่อน วัสดุดูแล้วก็คง corian เหมือนเก่า แค่ลดขนาดเฉยๆ แต่ที่เด่นที่สุดคงเป็นอินเลย์ small eagle ตามแบบฉบับกีตาร์ Experience

สำหรับฮาร์ดแวร์ มีการใช้นัทกระดูก (เหมือน 594 และ Silver Sky) ลูกบิดล็อกสาย Phase III locking ที่มากับใบลูกบิดเสมือนงาช้าง (ivoroid) บริดจ์ stoptail แบบมีหมุดทองเหลืองฝังไว้บริเวณใต้สาย (บริเวณที่ปกติควรจะเป็น saddles) เพื่อการถ่ายทอดการสั่นของสายที่ดีขึ้น โทนเสียงเต็มขึ้น

แต่ไฮไลท์ของ PG รุ่นอัพเดทนี้คือภาคไฟฟ้า โดยเป็นการเปิดตัวปิคอัพใหม่ที่หน้าตาเหมือน Narrow 408 เป๊ะ ในชื่อ TCI ซึ่งย่อมาจาก Tuned Capacitance and Inductance ทำงานร่วมกับสวิทช์ mini toggles สองตัว แยกตัดคอยล์ของสองปิคอัพได้อิสระ การใช้งานก็เหมือน PG กับ 408 ซึ่งผมเคยอธิบายไปแล้ว

ปิคอัพ TCI เป็นแนวคิดใหม่ของการสร้างปิคอัพของ PRS  คือ จะมีการกำหนดโทนเสียงเป้าหมายที่ต้องการขึ้นมาก่อน แล้วสร้างปิคอัพที่ให้เสียงตามโจทย์นั้น PRS ยังไม่อธิบายรายละเอียดการออกแบบด้วยแนวคิดนี้ แต่ตามความเข้าใจของผมคือ น่าจะมีการจูนค่าต่างๆ เช่นความจุไฟฟ้า (capacitance) และการนำไฟฟ้า (inductance) คือเป็นการออกแบบ ทั้งระบบ ให้อุปกรณ์ทุกชิ้นทำงานร่วมกันให้ได้ผลลัพธ์ของเสียงปิคอัพตามโจทย์ที่กำหนดไว้

เสียงของปิคอัพ TCI ของ PG ตัวใหม่นี้ เท่าที่ผมฟังดูรู้สึกว่าน่าทึ่งมาก โดยเฉพาะการตัดคอยล์ที่ใกล้เคียงเสียงของ single coil แท้ๆอย่างน่าทึ่ง มันเคลียร์ ฟังดูเป็นธรรมชาติ มีความเปิด หรือเผลอๆอาจฟังดูดีกว่ากีตาร์ Single coil ยี่ห้อดังๆบางรุ่นด้วยซ้ำไป และยิ่งห่างไกลจากพวกระบบ push/pull coil tapping (แม้เทียบกับของ PRS เองก็เถอะ ความเห็นส่วนตัวนะครับ) ถ้าเปิดใช้โหมด humbucker เสียงที่ได้ก็จะมีคาแรคเตอร์ของปิคอัพตระกูล soapbar แต่มีความเคลียร์ มี definition และไม่จี่เลย

เป็นที่น่าสังเกตว่า TCI เมื่อตัดคอยล์ก็จะมีเสียงจี่แทรกนิดๆ แต่น้อยมากๆ เสียงจี่และความใสแบบนี้อาจจะเป็นผลจากแนวคิดการสร้างจากผลไปหาเหตุของ TCI หรือเปล่า? เป็นไปได้หรือไม่ว่าในตอนที่ออกแบบ เสียงจี่เล็กๆนี่ก็คือส่วนหนึ่งของโจทย์? แต่จะด้วยอะไรก็ช่าง ในเรื่องเสียง ผมว่ามันเป็นพัฒนาการที่ ล้ำ จาก Paul’s Guitar ตัวเดิมขึ้นไปอีกขั้น (แต่เจ้าตัวแรกนั้นมันก็ดีมากแล้วนะครับ) ผลงานจากแนวคิด TCI ล่าสุดที่ผ่านมาก็คือปิคอัพ 635 JM ของ Silver Sky ที่ทำเอาอึ้งทึ่งเสียวกันทั้งวงการกีตาร์นั่นเอง แต่ ณ ตอนนี้  PRS ไม่ได้เปิดเผยกระบวนการสร้างปิคอัพแนวคิดนี้นะครับ ถ้าผมทราบรายละเอียดเพิ่มเติมอย่างไรจะนำมาเล่าในภายหลัง

ทีเด็ดอีกอย่างของเจ้านี่คือ มันเคลือบแลคเกอร์ gloss nitrocellulose นะครับ ได้ฟีลวินเทจกีตาร์เก่าที่เหล่าสาวกต่างตามหา

Paul’s Guitar EXP limited 2018 ผลิตจำนวนจำกัดเพียง 100 ตัวเท่านั้นนะครับ

Experience PRS ครั้งที่ 10 (ปี 2020)

งาน EXP ปี 2020 ที่ PRS แพลนไว้ว่าจะจัด ผลปรากฏว่าไม่สามารถจัดงานได้ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในอเมริกาที่รุนแรง อย่างไรก็ดี ทางโรงงานก็มิได้ยกเลิกการเปิดตัวกีตาร์ดาวเด่นที่ตามที่แพลนไว้ แต่เป็นการเปิดตัวออนไลน์แทน ครั้งนี้ PRS เปิดตัวกีตาร์รุ่นใหม่ในซีรีส์ Modern Eagle ในชื่อ Experience 2020 Modern Eagle V

Experience PRS 2020 Modern Eagle V

  • Body : Mahogany
  • Top : 10 top flamed maple
  • Neck : flamed mahogany
  • Neck profile : Pattern
  • Scale length : 25″
  • Number of frets : 22
  • Fingerboard : Honduran rosewood
  • Fingerboard inlay : Old school birds inlaid with solid ripple abalone
  • Headstock veneer : rosewood
  • Headstock inlay : Small Eagle inlaid with ripple abalone
  • Truss rod cover text : Experience PRS 2020
  • Tuners : PRS tweaked Phase III locking with faux bone buttons
  • Bridge : PRS Gen III Trem with locking saddles
  • Pickups
    • treble : TCI
    • middle : Narrow Singlecoil
    • bass : TCI
  • Electronics
    • 5 way blade for primary PU position selection
    • 2 mini toggle switches located next to blade switch for neck and bridge humbucker coil splitting
    • 1 mini toggle next to volume for potensiometer selection either 250k or 500k
    • 1 volume
    • 1 tone – pull out to activate both bass and treble pickups
  • Hardware – hybrid
  • Finish – Hi gloss
  • special features
    • limited 200 guitars built
    • black paisley hardshell case
  • ราคาของตัวแทนจำหน่ายในไทย 195,000 บาท

เพื่อนๆ บางคนอาจเคยได้ยินชื่อ PRS รุ่น Modern Eagle มาบ้าง มันคือกีตาร์ซีรีส์เกรดสูงของแบรนด์ PRS ที่เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2004 และมีการอัพเดทเวอร์ชันใหม่มา 4 ครั้ง ข้อมูลเกี่ยวกับ PRS Modern Eagle สามารถอ่านรายละเอียดเต็มๆ ได้ที่นี่ครับ

สำหรับ ME รุ่นที่ 5 มีการเปิดตัวครั้งแรกในเวอร์ชั่น Private Stock และในปี 2020 ได้ปรับสเปคลงมาอยู่ในระดับ core (อันที่จริงผมว่าน่าจะจัดมันให้อยู่ในกลุ่ม Wood Library) โดยแพลนว่าจะเปิดตัวในงาน Experience PRS 2020 และให้ชื่อรุ่นว่า Experience PRS 2020 Modern Eagle V ผลิตจำนวนจำกัด 200 ตัว

ระบบไฟฟ้าของ EXP MEV เริ่มจากปิคอัพ 3 ตัว ประกอบด้วยฮัมบัคเกอร์หน้าแคบรุ่น TCI (Tuned Capacitance and Inductance) ที่ตำแหน่ง bass และ treble ซึงเป็น PU ที่มากกับกีตาร์ Paul’s Guitar โมเดลที่สอง ส่วนปิคอัพตัวกลางเป็น Narrow Singlecoil เป็นซิงเกิลคอยล์ที่ออกแบบขึ้นใหม่เพื่อใส่ใน MEV โดยเฉพาะ มีหน้าแคบกว่า single coil ทั่วไป และถูกติดตั้งค่อนไปทาง bass humbucker แทนที่จะอยู่ตรงกลาง เพื่อให้เสียงที่ได้มีความนุ่มนวลมากขึ้น control knobs ก็มี volume + tone knob อย่างละปุ่ม

สวิทช์ตัวหลักที่ไว้เลือกปิคอัพเป็น blade 5 ทาง มี toggle ตัวเล็กสองตัว ติดตั้งถัดจาก blade switch ทำหน้าที่ตัดคอยล์ humbucker ทั้งสองตัวโดยไม่มีการเสียระดับวอลุ่ม เทคโนโลยีแบบเดียวกับ Paul’s Guitar และ 408 มีสวิทช์ตัวเล็กอีกตัวติดตั้งอยู่ข้าง volume knob ไว้เลือกค่า pot ระหว่าง 250k หรือ 500k ถ้าเลือก 250 ก็จะได้โทนนวลๆ แต่ถ้า 500 ก็จะใสชัดกว่า

Tone knob ของ MEV สามารถดึงขึ้นได้ แต่ไม่ได้เป็นการดึงเพื่อตัดคอยล์เพราะเรามี mini toggle 2 อันทำหน้าที่ตัดคอยล์อยู่แล้ว แต่เจ้า push-pull Tone นี้มีไว้เพื่อเปิดใช้งานปิคอัพตัว bass และ treble พร้อมกัน เบ็ดเสร็จ MEV สามารถผสมเสียงปจากการเลือกปิคอัพได้ 17 เสียง แต่เนื่องจากมันยังเลือกค่า volume pot ได้ 2 ค่า ดังนั้นเมื่อเอา 17 เสียงคูณด้วยค่า pot 2 ออพชัน ก็จะได้ 17 x 2 = 34 เสียง!!! ผมลองรุ่นนี้ตัวเป็นๆแล้ว ทึ่งกับออพชันการผสมเสียงของมัน เยอะจนเลือกใช้ไม่ถูกเหมือนกัน

สำหรับสเปคไม้นั้น EXP MEV มากับบอดี้มาฮอกกานีชิ้นเดียวตามปกติของ core USA ท็อปเกรด 10 ไม้คอมีความอลังการด้วยไม้มาฮอกกานีลายเฟลมซึ่งเป็นไม้หายากยิ่งกว่าเมเปิลลายเฟลม ฟิงเกอร์บอร์ดโรสวูดฮอนดูรัสเหมือนรุ่น Paul’s Guitar อินเลย์นกเต็มตัววัสดุ ripple abalone สไตล์ย้อนยุค มีโลโก้ small eagle ฝังไว้บนหัวกีตาร์เพื่อบ่งบอกว่านี่คือกีตาร์ที่สร้างมาเพื่องาน Experience PRS ฝา truss rod cover แกะโลโก้งาน Experience 2020 ลูกบิดล็อกสาย Phase III เวอร์ชันปรับแต่งแบบเดียวกับที่ติดมาใน McCarty 594 โมเดลแรก ลูกบิดแบบนี้ช่วยผ่อนแรง หมุนง่ายกว่า ใบลูกบิดวัสดุกระดูกเทียม

EXP MEV มีสองสี สีเทา Charcoal กับน้ำเงินแกมเหลือง River Blue (แบบตัวที่ผมเล่นในรูป) ผลิตจำกัด 200 ตัว ร้าน Music Collection ตัวแทนจำหน่ายในไทย ได้โค้วต้าจำหน่ายมา 3 ตัว ราคา 195,000 บาท

Experience VS Wood Library

ถ้าถามว่าระหว่าง Experience กับ Wood Library อย่างไหนน่าเล่นกว่ากัน? ผมคิดว่าคงต้องดูเป็นรายตัวไปนะครับ แต่เบื้องต้นคงพอจะบอกความแตกต่างได้ดังนี้

EXP

  • คุณภาพงาน – ระดับ Artist grade องค์ประกอบเกรดดีเกือบถึงขั้นสุด มีแค่ปีแรกที่ทำสีทึบ
  • ความ rare – หายากกว่า เพราะทำปีละครั้ง บางปีก็ไม่มีทำ แถมรุ่นสเปคสวยๆบางทีมีสีละไม่กี่ตัวทั่วโลก
  • ความหลากหลายของสเปค – ก็ดูแปลกกว่า core production อยู่บ้าง แต่ผมว่าก็ยังไม่แหวกแนวสักเท่าไหร่ เน้นสวยแบบเรียบๆ ซะมากกว่า
  • เรื่องราว – มีเรื่องราวให้อ้างถึงนิดหน่อยในแง่ที่ว่ามันเป็นกีตาร์ที่สร้างขึ้นเพื่อเปิดตัวในอีเวนท์ของ PRS ที่จัดทุกๆ 2-3 ปี และผลิตจำนวนจำกัด แต่สตอรี่แนวนี้ก็ไม่ได้ยึดโยงอะไรกับความรู้สึกของคนซื้อ ไม่เหมือนกีตาร์ที่ทำเก่าหรือทำทำเลียนแบบตัวที่ศิลปินใช้
  • ราคา – ถึงจะมือสองก็แสนอัพ ก็พอๆกับ WL

Wood Library

  • คุณภาพงาน – โดย concept ของซีรีส์นี้ ไม่เกี่ยวอะไรกับความสวยอยู่แล้ว ดังนั้นตอบยาก ต้องดูรายตัว แต่บอกได้ว่า WL มีโอกาสที่จะเจอลายไม้เกรดธรรมดา ไม่เหมือน EXP ที่กลายเป็นธรรมเนียมไปแล้วว่าอย่างน้อยต้องเป็น Ten top ขึ้นไปจนถึง Artist grade
  • ความ rare – หาง่ายกว่า เพราะสั่งผลิตโดยดีลเลอร์ ดีลเลอร์เมกาก็สั่ง ดีลเลอร์ญี่ปุ่นก็สั่ง มีของมือหนึ่งออกมาเรื่อยๆ แต่ถ้าเราหาแบบเจาะจงสเปค สี แบบชัดๆ อันนี้จะกลายเป็นหายากหรือไม่มีไปเลย
  • ความหลากหลายของสเปค – ถ้าเรื่องความแหวกแนว WL กินขาดครับ เพราะ WL แต่ละตัวมันเป็นผลผลิตจากไอเดียของดีลเลอร์ และดีลเลอร์แต่ละเจ้าเขาก็มีไอเดียมีโจทย์ต่างกันไป
  • เรื่องราว – ไม่มี ไม่เชื่อมโยงกับอะไรทั้งสิ้น เป็นการสั่งผลิตโดยร้านเฉยๆ
  • ราคา – ถ้ามือหนึ่ง WL มักจะถูกกว่า EXP แต่พอเป็นมือสองก็จะถูกลงมาอีก แต่ก็อีกนั่นแหละ ต้องดูเป็นตัวๆไปนะครับ อย่างถ้า WL แบบจัดเต็มก็อาจแพงกว่า EXP บางปีก็มี

ผมสรุปง่ายๆว่า EXP เหมาะกับคนที่มีรสนิยมชอบความเรียบหรู และต้องการสะสม ส่วน Wood Library เหมาะกับคนที่ต้องการความแปลกใหม่ เป็นลูกค้าสไตล์โมเดิร์น

ส่งท้าย

อ่านแล้วเพื่อนๆ สนใจกีตาร์ EXP ปีไหนเป็นพิเศษรึเปล่าครับ สำหรับผมคงเป็น EXP 2010 มั้ง ได้คอโรสวูดทั้งแท่งแถมสวิทช์สไตล์แมคคาร์ตี้สุดคลาสสิคด้วย ถึงแม้ส่วนตัวผมจะไม่ค่อยชอบเสียงจากคอโรสวูดทั้งแท่งสักเท่าไหร่ แต่ถ้าเพื่อการเก็บสะสมมากกว่าใช้งานแล้ว ผมว่าคอโรสวูดหล่อกว่ามาฮอกกานีครับ อิอิ


กด Like page ของผมได้ที่นี่ครับ

สำหรับกลุ่ม PRS แอดเข้ามากันได้ คลิกที่นี่ครับ