Experience PRS 2018 – กีตาร์ limited 5 รุ่น พร้อมสเปคแบบละเอียด


PRS เปิดตัวกีตาร์รุ่นลิมิเต็ด 5 รุ่นในงาน Experience PRS ปี 2018 ที่เพิ่งจบไปเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา สำหรับเพื่อนๆที่ไม่รู้ว่า Experience PRS มันคืองานอะไร มีอะไรน่าสนใจบ้าง คลิกอ่านได้ตรงนี้ครับ

สำหรับกีตาร์ limited edition 5 รุ่นที่เปิดตัวในงาน EXP ปีนี้ ได้แก่

  1. Special Semi-hollow
  2. Paul’s Guitar (สเปคใหม่)
  3. Private Stock Graveyard LTD
  4. McCarty 594 Semi-hollow และ
  5. McCarty Singlecut 594 Semi-hollow

ดูท่าทางกีตาร์ semi-hollow ยอดขายน่าจะดีนะครับ กีตาร์เปิดตัวในงานปีนี้ 3 ใน 5 รุ่นจึงเป็นเซมิ และแน่นอนว่าแต่ละตัวมีความพิเศษไม่เหมือนไลน์ผลิตปกติ แต่ละรุ่นเป็นยังไงบ้างนั้น ไปดูกันเลย

Special Semi-hollow

  • Body – semi-hollow mahogany
  • Top – figured maple
  • Neck – mahogany
  • Neck profile – Pattern
  • Scale length – 25″
  • Number of frets – 22
  • Fingerboard – rosewood
  • Fingerboard inlay – J. birds
  • Headstock veneer – rosewood
  • Truss rod cover text – Special
  • Tuners – PRS Phase III locking
  • Bridge – PRS Gen III Tremolo
  • Pickups
    • treble: 58/15 MT
    • middle: 57/08 Narrowfield (NF)
    • bass: 58/15 MT reversed
  • Electronics – 5 way blade, 2 mini toggles, vol, tone

https://forums.prsguitars.com/threads/prs-special-semi-hollow-limited-core-super-eagle.31563/page-3

http://www.prsguitars.com/index.php/electrics/core/special_semi_hollow_limited_edition

พูดถึงกีตาร์ PRS รุ่นที่ชื่อ Special เพื่อนๆบางคนอาจไม่คุ้นเคย แต่ที่จริงรุ่น Special เปิดตัวครั้งแรกตั้งแต่ปี 1987 เป็นกีตาร์รุ่นแรกของค่ายนี้ที่มีการใช้คอบางหรือคอ wide thin ในขณะนั้น แต่ต่อมากีตาร์รุ่นนี้ก็ถูกถอดจากสายการผลิตหลักไป ยุคหลังๆก็มาเป็นครั้งคราว อาจเป็นในซีรีส์ที่ผลิตไม่มากเท่าพวกรุ่นทำเงินอย่าง Custom 24 กีตาร์ PRS Special มีจุดสังเกตง่ายๆ คือจะมากับ pickup configuration สไตล์ hum-sing-hum และมี 22 เฟรทครับ

สำหรับกีตาร์ Special เวอร์ชันพิเศษที่เปิดตัวในงาน EXP PRS ครั้งที่ 9 หรือปี 2018 นี้ เป็นกีตาร์ semi hollowbody ที่ดูเผินๆ ช่างคล้ายกับ Supe Eagle ของ John Mayer กีตาร์ Special ตัวนี้มากับปิคอัพ 58/15 เวอร์ชันใหม่ Multi-Tap (MT) ที่ตำแหน่ง treble และ bass  โดยตัว bass วาง screw coils กลับด้าน หันเข้ามาด้านในแทนที่จะหันไปทางฟิงเกอร์บอร์ดคล้ายกับการวางปิคอัพ Narrow 408 จุดประสงค์ก็เพื่อทำให้การรับรู้การสั่นของสายอยู่ในตำแหน่งที่มี focus มากขึ้น ลดโอกาสเสียงบวมเบลอลงเล็กน้อย ไม่ใช่การกลับเฟสอย่าง Les Paul Greenie/Gary Moore นะครับ

ตำแหน่ง middle pickup ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของกีตาร์รุ่น Special นั้น มาคราวนี้ใช้ปิคอัพ 57/08 Narrowfield ซึ่งโดยโครงสร้างแล้ว มันคือ humbucker รุ่น 57/08 ที่ออกแบบใหม่ บีบพื้นที่ผิวหน้ารับรู้การสั่นของสายให้แคบลง มีโฟกัส เสียงมีคาแรคเตอร์ใกล้เคียงกับ P-90 single coil แต่ไร้อาการจี่อย่างสิ้นเชิง เพราะอย่างที่ผมบอก มันคือ humbucker ย่อส่วน

ปิคอัพสามตัวนี้มากับระบบ switching คล้ายกับของรุ่น 509 คือเป็นการเอาระบบตัดคอยล์ของ 408 มาใช้ร่วมกับ blade switch 5 ทาง

หลักการทำงานคือมี mini toggle สองตัวควบคุมการทำงานของ humbucker สวิทช์ mini toggle ละตัวมีสองแก๊ก แต่ละแก๊กเป็นการเลือกการทำงานของ humbucker ระหว่างเปิดเต็มและตัดคอยล์ ปิคอัพทั้งสามตำแหน่งมี blade switch 5 ทางเป็น selector หลัก แต่มีสิ่งหนึ่งที่สวิทช์ 5 ทางอันนี้ไม่เหมือนของพวก Strat ทั่วไป คือ แก๊กที่ 3 ไม่ได้เปิดใช้งานปิคอัพตัวกลาง เป็นยังไงนั้น เราไปดูกันครับ ปรับได้เยอะมาก

ระบบ switching ประหลาดๆ อีกละ ใช้งานยังไง?

การปรับแบบที่ 1 mini toggles สับลงทั้งคู่ = HUM+NF+HUM

1. treble humbucker

2. treble humbucker + NF

3. treble + bass humbuckers

4. NF + bass humbucker

5. bass humbucker

การปรับแบบที่ 2 mini toggles สับขึ้นทั้งคู่ = SING+NF+SING

1. treble single coil

2. treble single coil + NF

3. treble + bass single coils

4. NF + bass single coil

5. bass single coil

การปรับแบบที่ 3 mini toggles สลับกัน = HUM+NF+SING

แก๊ก 3 ก็จะเป็น treble humbucker + bass single coil

การปรับแบบที่ 4 mini toggles สลับกัน = SING+NF+HUM

แก๊ก 3 ของออพชันนี้ก็จะตรงข้ามกับออพชันก่อนหน้า กลายเป็น treble single coil + bass humbucker

สรุปเบ็ดเสร็จเจ้า Special limited ตัวนี้มี 12 เสียง และอย่างที่บอก ไม่มีตำแหน่งไหนที่เปิดใช้งานตัวกลาง (NF) ตัวเดียวโดดๆนะครับ มันมีไว้เพื่อผสมเสียงเท่านั้น Special รุ่นนี้ไม่เหมือนรุ่นก่อนๆ ที่ดึงปุ่ม tone เพื่อเปิดใช้งานปิคอัพตัวกลางโดดๆได้ ส่วนเรื่องของเสียงของ Special ตัวนี้ แม้จะเป็นปิคอัพ 58/15 MT ที่มีความอุ่น วินเทจ แต่เมื่อใช้ระบบ 408 switching เข้าไปก็ช่วยให้เสียงตัดคอยล์มีความใกล้เคียง single coil มากโดยที่วอลุ่มแทบไม่ตกเมื่อเราตัดคอยล์ บอดี้ขุดโพรงกลวงครึ่งบนช่วยลดน้ำหนักสบายไหล่คนเล่น ขณะเดียวกันก็เติมความนวลให้เนื้อเสียง เกิดเป็นส่วนผสมใหม่ที่นวลแต่เคลียร์ พร้อมออพชันเสียงมากมายจนบางคนอาจใช้ไม่หมด ฮ่าๆ

Special ltd 2018 ไม่จำกัดจำนวนผลิต แต่จำกัดเวลาเปิดรับออร์เดอร์ถึงเดือนสิงหาคม ครับ

ราคา pre order $ 3,850

specs Special Semi-hollow ltd. http://www.prsguitars.com/index.php/electrics/core/special_semi_hollow_limited_edition

Paul’s Guitar (สเปคใหม่)

  • Body – thick mahogany
  • Top – ‘Dirty’ maple
  • Neck – mahogany
  • Neck profile – Pattern
  • Scale length – 25″
  • Number of frets – 22
  • Fingerboard – Ziricote
  • Fingerboard inlay – small Brushstroke birds, วัสดุ corian
  • Headstock overlay – Ziricote
  • Headstock inlay – PRS pre-factory small eagle เลี่ยมด้วยอบาโลน
  • Truss rod cover text – none
  • Nut – bone
  • Tuners – PRS Phase III locking, ivoroid buttons
  • Bridge – PRS Stoptail with brass inserts
  • Pickups – TCI
  • Electronics – 3 way toggle, 2 mini toggles, vol, tone
  • Color – Black Gold (ไม่มี body binding)
  • Finish – nitrocellulose

เห็นสเปคที่ผมเน้นข้อความไว้ให้แล้ว เพื่อนๆบางคนที่รู้จักกีตาร์รุ่นนี้มาก่อนคงมีสะดุดตากันบ้างว่ามันมีอะไรแปลกๆไปจากเดิม ใช่แล้วครับ PRS Paul’s Guitar รุ่นที่เปิดตัวในงาน EXP 2018 มีการเปลี่ยนแปลงสเปคจากนอกจรดใน

โครงสร้างโดยรวมเหมือนเดิม บอดี้และคอมาฮอกกานี ตัวหนาเท่า McCarty ท็อปเมเปิลลายเฟลมลึกกว่าปกติที่ลุงพอลเรียกว่า dirty grade มี 22 เฟรท (เขาไม่ได้บอกว่ายังใช้ขนาดจัมโบ้เหมือนเดิมรึเปล่า แต่ผมคิดว่าใช่) ฟิงเกอร์บอร์ดเปลี่ยนจากไม้โรสวูดฮอนดูรัส มาเป็น ziricote (ซิริโคตี) ซึ่งให้โทนเสียงอยู่ระหว่าง Indian rosewood กับ Macassar ebony กึ่งเบสกึ่งไบรท์ มีลวดลายเฉพาะตัว ส่วนอินเลย์นก Brushstroke birds ปรับใหม่ ลดไซส์ลงลงสามารถอยู่ในช่องเฟรทได้โดยไม่โดนเฟรทวางทับเหมือนรุ่นก่อน วัสดุดูแล้วก็คง corian เหมือนเก่า แค่ลดขนาดเฉยๆ แต่ที่เด่นที่สุดคงเป็นอินเลย์ small eagle ตามแบบฉบับกีตาร์ Experience

สำหรับฮาร์ดแวร์ มีการใช้นัทกระดูก (เหมือน 594 และ Silver Sky) ลูกบิดล็อกสาย Phase III locking ที่มากับใบลูกบิดเสมือนงาช้าง (ivoroid) บริดจ์ stoptail แบบมีหมุดทองเหลืองฝังไว้บริเวณใต้สาย (บริเวณที่ปกติควรจะเป็น saddles) เพื่อการถ่ายทอดการสั่นของสายที่ดีขึ้น โทนเสียงเต็มขึ้น

แต่ไฮไลท์ของ PG รุ่นอัพเดทนี้คือภาคไฟฟ้า โดยเป็นการเปิดตัวปิคอัพใหม่ที่หน้าตาเหมือน Narrow 408 เป๊ะ ในชื่อ TCI ซึ่งย่อมาจาก Tuned Capacitance and Inductance ทำงานร่วมกับสวิทช์ mini toggles สองตัว แยกตัดคอยล์ของสองปิคอัพได้อิสระ การใช้งานก็เหมือน PG กับ 408 ซึ่งผมเคยอธิบายไปแล้ว

ปิคอัพ TCI เป็นแนวคิดใหม่ของการสร้างปิคอัพของ PRS  คือ จะมีการกำหนดโทนเสียงเป้าหมายที่ต้องการขึ้นมาก่อน แล้วสร้างปิคอัพที่ให้เสียงตามโจทย์นั้น PRS ยังไม่อธิบายรายละเอียดการออกแบบด้วยแนวคิดนี้ แต่ตามความเข้าใจของผมคือ น่าจะมีการจูนค่าต่างๆ เช่นความจุไฟฟ้า (capacitance) และการนำไฟฟ้า (inductance) คือเป็นการออกแบบ ทั้งระบบ ให้อุปกรณ์ทุกชิ้นทำงานร่วมกันให้ได้ผลลัพธ์ของเสียงปิคอัพตามโจทย์ที่กำหนดไว้ 

เสียงของปิคอัพ TCI ของ PG ตัวใหม่นี้ เท่าที่ผมฟังดูรู้สึกว่าน่าทึ่งมาก โดยเฉพาะการตัดคอยล์ที่ใกล้เคียงเสียงของ single coil แท้ๆอย่างน่าทึ่ง มันเคลียร์ ฟังดูเป็นธรรมชาติ มีความเปิด หรือเผลอๆอาจฟังดูดีกว่ากีตาร์ Single coil ยี่ห้อดังๆบางรุ่นด้วยซ้ำไป และยิ่งห่างไกลจากพวกระบบ push/pull coil tapping (แม้เทียบกับของ PRS เองก็เถอะ ความเห็นส่วนตัวนะครับ) ถ้าเปิดใช้โหมด humbucker เสียงที่ได้ก็จะมีคาแรคเตอร์ของปิคอัพตระกูล soapbar แต่มีความเคลียร์ มี definition และไม่จี่เลย

เป็นที่น่าสังเกตว่า TCI เมื่อตัดคอยล์ก็จะมีเสียงจี่แทรกนิดๆ แต่น้อยมากๆ เสียงจี่และความใสแบบนี้อาจจะเป็นผลจากแนวคิดการสร้างจากผลไปหาเหตุของ TCI หรือเปล่า? เป็นไปได้หรือไม่ว่าในตอนที่ออกแบบ เสียงจี่เล็กๆนี่ก็คือส่วนหนึ่งของโจทย์? แต่จะด้วยอะไรก็ช่าง ในเรื่องเสียง ผมว่ามันเป็นพัฒนาการที่ ล้ำ จาก Paul’s Guitar ตัวเดิมขึ้นไปอีกขั้น (แต่เจ้าตัวแรกนั้นมันก็ดีมากแล้วนะครับ) ผลงานจากแนวคิด TCI ล่าสุดที่ผ่านมาก็คือปิคอัพ 635 JM ของ Silver Sky ที่ทำเอาอึ้งทึ่งเสียวกันทั้งวงการกีตาร์นั่นเอง แต่ ณ ตอนนี้  PRS ไม่ได้เปิดเผยกระบวนการสร้างปิคอัพแนวคิดนี้นะครับ ถ้าผมทราบรายละเอียดเพิ่มเติมอย่างไรจะนำมาเล่าในภายหลัง

ทีเด็ดอีกอย่างของเจ้านี่คือ มันเคลือบแลคเกอร์ gloss nitrocellulose นะครับ ได้ฟีลวินเทจกีตาร์เก่าที่เหล่าสาวกต่างตามหา

Paul’s Guitar EXP limited 2018 ผลิตจำนวนจำกัดเพียง 100 ตัวเท่านั้นนะครับ ใครอยากได้ก็ต้องขวนขวายกันหน่อยแล้ว

ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.prsguitars.com/index.php/electrics/core/experience_prs_2018_pauls_guitar

Private Stock Graveyard ltd.

  • Body – thick mahogany
  • Top – Graveyard Private Stock grade red maple
  • Neck – figured mahogany
  • Neck profile – Pattern Vintage
  • Scale length – 24.594″
  • Number of frets – 22
  • Fingerboard – Madagascar Rosewood
  • Fingerboard inlay – old school birds วัสดุ solid red abalone
  • Fingerboard and headstock binding – curly maple
  • Headstock overlay – Madagascar Rosewood
  • Headstock inlay – Private Stock eagle วัสดุ solid red abalone
  • Truss rod cover text – none
  • Nut – bone
  • Tuners – PRS Tweaked Phase III locking, Ivoroid Buttons
  • Bridge – PRS 2 piece stoptail
  • Pickups – 58/15LT
  • Electronics – 3 way toggle on upper bout, 2 vol, 2 tone with push/pull coil tap
  • Backplate – mahogany
  • Color – Honey Gold with Dark Cherry Smokeburst
  • Finish – nitrocellulose
  • 80 made
  • Accessories: PS paisley hardshell case

สังเกตลายไม้คอนะครับ แบบนี้คือแพง

ตัวนี้เป็นกีตาร์ตัวที่มี story น่าสนใจ เริ่มด้วยบอดี้กับคอมาฮอกกานี คอใช้มาฮอกกานีแบบมีลายซึ่งเป็นไม้หายากจากกัวเตมาลาและมีไว้สำหรับ Private Stock เท่านั้น ส่วนที่มาของคำว่า Graveyard หรือสุสานนั้น เกิดจากการที่ PRS ไปได้ไม้จากต้นเมเปิลเก่าแก่จำนวนหนึ่งมาจากบนภูเขาแห่งหนึ่งทางตะวันออกของอเมริกา จุดที่พบต้นเมเปิลเหล่านี้อยู่ใกล้กับสุสานแห่งหนึ่ง ต้นเมเปิลที่ขึ้นอยู่บริเวณนี้มีอายุเก่าแก่มากกว่า 125 ปี มีขนาดสูงใหญ่ถึงขนาดที่ว่ากิ่งล่างสุดของต้นอยู่สูงจากพื้นดินถึง 12 เมตร PRS สันนิษฐานว่าเป็นต้นไม้ที่ขึ้นเองหลังจากพื้นที่ป่าตรงนี้ถูกแผ้วถางไปเพื่อทำเป็นสุสานและก็น่าจะมีอายุใกล้เคียงกับสุสานแห่งนี้ ป้ายบนหลุมศพบางอันก็จารึกปีที่ฝังศพผู้เสียชีวิตไว้เก่าสุดคือ ค.ศ. 1884 เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยยืนยันได้ว่าต้นเมเปิลล็อตนี้ เก่าจริง รูปนี้เป็นรูปสุสานที่ว่าครับ

แต่ความพิเศษของต้นเมเปิลข้างสุสานยังไม่หมดแค่เรื่องสถานที่ ลุงพอลเล่าว่า ไม้ที่ได้จากนี้ แปลกมาก เพราะนอกจากจะเป็นไม้เก่า ลายสวยมากๆ เฟลมใหญ่แล้ว เนื้อไม้ยังมีความแวววาวแบบสีเหลือบ (iridescent) ลุงบอกว่าครั้งสุดท้ายที่เห็นอะไรแบบนี้คือตั้งแต่สมัยที่เพิ่งเริ่มอาชีพช่างทำกีตาร์ (ประมาณ 30-40 ปีมาแล้ว) ลองไปชมลุงพอลพูดถึงต้นไม้มหัศจรรย์ข้างสุสานล็อตนี้ และลองดูว่าสีเหลือบจากเนื้อไม้ธรรมชาติมันเป็นอย่างไร สังเกตการสะท้อนแสงของลายเฟลมตอนที่ลุงเอียงกีตาร์ไปมานะครับ

ลุงพอลบอกว่า เชื่อว่ามันน่าจะเป็น red maple หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Michigan maple ไม้เมเปิลที่ใช้ทำท็อปกีตาร์ดังๆ ยุค 50s ซึ่งที่จริง PRS ก็เลือกใช้ไม้เมเปิลชนิดนี้สำหรับไลน์ McCarty มาตลอดอยู่แล้ว แต่ตัวนี้แตกต่าง และมีความพิเศษเฉพาะตัวมากๆ อย่างที่ผมได้บอกไป

ในส่วนของงานประดับ แม้เจ้าตัวนี้จะไม่ดูฟรุ้งฟริ้งสะดุดตาอย่าง PS อีกหลายๆตัว แต่อย่างไรเสีย Private Stock มันไม่เคยมีคำว่าธรรมดาอยู่แล้ว อย่างในงานอินเลย์ของรุ่นนี้ทั้งฟิงเกอร์บอร์ดและหัวกีตาร์นั้นใช้เปลือกหอย red abalone แบบ solid ซึ่งหมายความว่า เป็นการตัดจากเปลือกหอย red abalone โดยตรง ไม่ใช่ตัดจากเปลือกหอยแปรรูปที่ผ่านกระบวนการอัดเป็นแผ่นบางๆ (laminated abalone sheets) ทำให้งานนี้มีความยากและมีต้นทุนสูง เพราะต้องหาเปลือกหอยชิ้นที่มีโทนสีตรงตามความต้องการจริงๆ ไหนจะเรื่องขนาด ความกว้าง ความหนา การตัด ฯลฯ ต้องระมัดระวังกว่าปกติ มิหนำซ้ำเปลือกหอยตระกูล red abalone ยังถือว่าหายากและมีราคาสูงกว่าเปลือกหอยอบาโลนเขียวๆทั่วไปอีกด้วย

ลองสังเกตนะครับ ไม่เหมือนอินเลย์นกรุ่นไหนๆ ของกีตาร์ PRS สายการผลิตปกติ มันเงา วาววับ สวยงามอย่างไม่น่าเชื่อว่านี่คือวัสดุจากธรรมชาติ

laminated abalone sheets หรือบางครั้งเรียกว่า Abalam มีความหนาใกล้เคียงกับกระดาษ

woodtoworks.com

ชิ้นเปลือกหอย solid red abalone ราคาแพง อย่างเกรดในรูปนี้ ขายที่ราคาประมาณ 1750 บาทต่อน้ำหนัก 1 ออนซ์ (28.34 กรัม) ที่สำคัญคือ red abalone หายากกว่าสีเขียวๆอย่าง paua หรือ green ripple

http://www.rescuepearl.com/redabalone.htm

ฟิงเกอร์บอร์ดและ headstock มีการเดินเส้นบายดิ้งด้วยไม้เมเปิลแท้ลายเฟลมตลอดแนว ดูสวยงามแม้จะเป็นเพียงจุดเล็กๆที่ผู้ผลิตอื่นก็คงแค่แปะแถบพลาสติกมาให้ ฝา back plate ด้านหลังก็ไม่ธรรมดา เพราะใช้ไม้บอดี้นั่นแหละมาทำ ฝา back plate ของ PS รุ่นนี้จึงเป็นลายเดียวกับไม้หลัง สวยงามกลมกลืนมีลวดลายเฉพาะของใครของมัน อะไหล่ก็ลูกบิดล็อกสาย Phase III เวอร์ชันโมดิฟายด์ (โมยังไงอ่านจากบทความ McCarty ครับ) บริดจ์ 2 piece stoptail มาตรฐานรุ่น 594 ส่วนการเคลือบ ใช้แลคเกอร์ nitrocellulose ซึ่ง PRS ให้ข้อมูลว่าเมื่อเวลาผ่านไปแลคเกอร์จะเริ่มมีรอยแตก (weather checking) ได้ฟีลกีตาร์เก่าที่นักสะสมต่างชื่นชอบ

Private Stock Graveyard McCarty 594 ltd. มีเพียง 80 ตัวเท่านั้น ใครสนใจก็ติดต่อตัวแทนดูนะจ๊ะ จะเล่นรุ่นนี้ต้องมือไว ใจถึง เงินถังกันหน่อย ถ้าใครมีพละกำลังพอแต่ยังลังเล ขอแนะนำว่าซื้อๆไปเถอะครับอย่าคิดมาก ตัวนี้น่าเก็บเพราะคุณสมบัติตามธรรมชาติของมันหายากมากๆ ยากยิ่งกว่าหาคอบราซิเลี่ยนซะอีก แถมมี story ให้เล่าให้เพื่อนๆฟังขณะชมกีตาร์ตัวนี้ของเรา อีกอย่างกีตาร์พวกนี้ถึงแม้มันจะราคาสูงกว่ากีตาร์ทั่วไป แต่อีกยี่สิบสามสิบปีถ้าเก็บดีๆ มันก็ยังใช้งานได้ ไม่พังหรอก ของอย่างอื่นแพงกว่านี้แต่อายุการใช้งานก็มีอีกตั้งเยอะแยะคนสมัยนี้ยังกล้าซื้อกันได้เลย ผมอาจพูดเหมือนจับแพะชนแกะไปหน่อย แต่สำหรับคนรักกีตาร์ที่มีความพร้อม ผมว่ามองแบบนี้ก็ไม่เห็นจะเสียหายตรงไหน

ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.prsguitars.com/index.php/blog/post/meet_the_private_stock_mccarty_594_graveyard_limited

specs: http://www.prsguitars.com/index.php/privatestock/gallery_guitar/ps_7486_mccarty_594_graveyard_limited

McCarty Semi-hollow 594 & SC 594

  • Body
    • McCarty 594 – thick mahogany, semi-hollowbody
    • SC 594- SC full depth mahogany, semi-hollowbody
  • Top – maple
  • Neck – mahogany
  • Neck profile – Pattern Vintage
  • Scale length – 24.594″
  • Number of frets – 22
  • Fingerboard – rosewood
  • Fingerboard inlay – old school birds วัสดุ green ripple abalone
  • Fingerboard binding – faux bone binding
  • Headstock overlay – rosewood
  • Truss rod cover text – McCarty 594
  • Nut – bone
  • Tuners – PRS Tweaked Phase III locking, ivoroid buttons
  • Bridge – PRS 2 piece stoptail
  • Pickups – 58/15LT
  • Electronics – 3 way toggle on upper bout, 2 vol, 2 tone with push/pull coil tap

หลักใหญ่ใจความก็คือ McCarty 594 สเปคมาตรฐาน ที่เจาะบอดี้กลวงครึ่งบนซึ่งบอดี้แบบนี้ไม่มีในเวอร์ชันมาตรฐาน กีตาร์ลิมิเต็ดสองรุ่นนี้ไม่จำกัดจำนวนที่ผลิต แต่จำกัดช่วงเวลารับจอง คือถึงสิ้นเดือนสิงหาคมปีนี้

ความเป็นมาและรายละเอียดสเปคของ 594 เรื่องมันยาวครับ ลองคลิกที่นี่ เข้าไปอ่านกันเองนะ อิอิ

specs McCarty 594 Semi-hollow ltd. http://www.prsguitars.com/index.php/electrics/core/mccarty_594_semi_hollow

specs McCarty 594 SC Semi-hollow ltd.  http://www.prsguitars.com/index.php/electrics/core/singlecut_mccarty_594_semi_hollow_limited

ส่งท้าย

ก็เอามาฝากเผื่อใครจะสนใจอยากจัดสักรุ่นนะครับ ส่วนตัวผมแว้บแรกสนใจ Special semi แต่พออ่านข้อมูลครบทุกตัวผมว่า Paul’s Guitar กับ PS Graveyard แจ่ม ตัวนึงฟังก์ชันดี ส่วนอีกตัวน่าเก็บ แต่ผมไม่มีตังค์ก็คงยังได้แต่ชะเง้อมองต่อไปเนอะ อิอิ


กลุ่มเฟสบุค PRS Club Thailand แอดเข้ามากันได้ คลิกที่นี่ครับ

กด Like page ของผมได้ที่นี่จ้า