PRS Singlecut / SC โครงสร้างสไตล์ LP งานดีสไตล์ PRS – ตอนที่ 4 มีรุ่นอะไรบ้าง (2)

กลับมาว่ากันต่อสำหรับกีตาร์ PRS ทรง Singlecut/SC ที่เหลือจากตอนที่แล้ว สำหรับตอนนี้จะเป็นกีตาร์ SC ในรุ่นที่ผมมองว่าเป็น core SC ยุคหลัง ที่แบ่งเช่นนี้เนื่องจากผมมองว่าตั้งแต่ปี 2008 – 2009 เป็นต้นมา มีความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่ PRS กีตาร์บางรุ่นต่างทยอยปรับสเปคครั้งใหญ่ กีตาร์อีกหลายรุ่นถูกยกเลิกการผลิต มีปิคอัพใหม่ๆ ทยอยเปิดตัวภายใต้แนวคิดการตั้งชื่อรุ่นด้วยปี ค.ศ. ซึ่งก็ยังเป็นเช่นนั้นมาจนถึงปัจจุบัน

สำหรับคนที่ยังไม่ได้อ่านบทความตอนที่แล้ว คลิกอ่านได้ที่นี่ครับ

Singlecut/SC core models ยุคใหม่ มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

Ted McCarty Singlecut 245 limited (2009 -2010)

  • Body – mahogany with weight relief
  • Top – figured maple
  • Neck – mahogany
  • Neck profile – wide fat
  • Scale length – 24.5″
  • Fingerboard – rosewood
  • Fingerboard inlay – mother of pearl old school birds
  • Fingerboard binding – white plastic
  • Headstock shape – Santana
  • Headstock veneer – flamed maple in charcoal
  • Truss rod cover text – Ted McCarty
  • Tuners – vintage style, non-locking
  • Bridge – PRS stoptail
  • Pickups
    • 57/08 with covers (treble: alnico 2   9.4k, bass: alnico 2   8.5k)
    • Seymour Duncan P-90 Soapbar
  • Electronics – 3 way on upper bout, 2 vol, 2 tone, PRS style control layout
  • Hardware – chrome
  • Finish – nitrocellulose gloss
https://reverb.com/item/4693859-prs-ted-mccarty-dc-245-soapbar-matteo-mist-10-top-willcutt-ltd-546
https://www.zzounds.com/item–PAUTMSC245SB
https://distinctiveguitar.com/electrics/prs/paul-reed-smith-ted-mccarty-sc245-goldtop/

Singlecut รุ่นนี้เป็นรุ่นลิมิเต็ดที่เปิดตัวด้วยบอดี้ 2 ทรงคือทรง SC อย่างที่เห็น กับ McCarty อีกทรง กีตาร์ลิมิเต็ดสองรุ่นนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่จดจำได้ง่าย คือ headstock ใช้ดีไซน์ของรุ่นซานตาน่าแปะด้วยเฟลมเมเปิลสีดำ บอดี้เจาะ weight relief เคลือบด้วยแลคเกอร์ไนโตรแบบใสซึ่งดูจะเป็นเทรนด์ของกีตาร์ PRS สายวินเทจหลายรุ่นในเวลานั้น ปิคอัพก็ใช้รุ่น 57/08 ที่เปิดตัวได้ปีกว่าๆ ในขณะนั้น มีออพชันปิคอัพ P-90 Soapbar ที่ Seymour Duncan ผลิตเป็นสเปคเฉพาะสำหรับ PRS ซึ่งปิคอัพ P-90 มีให้เลือกเป็นออพชันของทั้งสองทรง

ผมมีความรู้สึกว่าลิมิเต็ดทั้งสองรุ่นนี้ไม่ค่อยได้รับการพูดถึงสักเท่าไหร่นะครับ ไม่แน่ใจว่าทำไม แต่เคยเห็นคนบ่นเรื่องไม่ชอบการเอาหัวของรุ่นซานตาน่ามาใส่ในกีตาร์ทั้งสองทรงนี้ บางคนก็มองว่าสวยดูดี ก็แล้วแต่รสนิยมนะครับ

25th Anniversary SC 245 (2010 – 2011)

  • Body – mahogany with weight relief
  • Top – figured maple
  • Neck – mahogany
  • Neck profile – wide fat
  • Scale length – 24.5″
  • Fingerboard – rosewood
  • Fingerboard inlay – 25th Anniversary shadow birds, synthetic materials
  • Fingerboard binding – white plastic
  • Headstock veneer – rosewood or cocobolo
  • Headstock inlay – 25th Anniversary eagle, synthetic materials
  • Truss rod cover text – 245
  • Tuners – PRS Phas II locking
  • Bridge – PRS stoptail
  • Pickups – 57/08 with gold covers (treble: alnico 2   9.4k, bass: alnico 2   8.5k)
  • Electronics – 3 way on upper bout, 2 vol, 2 tone, PRS style control layout
  • Hardware – hybrid
  • Accessories – PRS 25th Anniversary hard shell case in white
https://www.thegearpage.net/board/index.php?threads/paul-reed-smith-prs-10-top-25th-anniversary-sc-245-price-reduced.1740609/
https://en.audiofanzine.com/lp-shaped-guitar/prs/sc-245-smoked-amber-25th-anniversaire/medias/pictures/

SC 245 ตัวนี้โดยพื้นฐานก็คือ 245 ที่ติดปิคอัพ 57/08 ที่มาในรูปลักษณ์ฉลองครบรอบ 25 ปีของการก่อตั้งแบรนด์ สเปคเด่นของรุ่นนี้เริ่มด้วย 10 top ลายสวยๆ อินเลย์นก shadow birds หรือนกมีเอฟเฟคท์เงาดำๆ (ต้องมองใกล้ๆจึงจะเห็นเงา) ทำจากวัสดุสังเคราะห์ที่ทาง PRS บอกผมว่ามันคือ banded melon (เขาไม่ได้อธิบายละเอียดว่ามาจากอะไร แต่ผมคิดว่าเป็นพวกหินบดหรือวัสดุจำพวก corian) ส่วน headstock มีอินเลย์นกอินทรี 25th Anniversary Eagle สีขาวเลี่ยมด้วยวัสดุสังเคราะห์มาบน headstock veneer ไม้ rosewood งานประดับหรูๆอีกจุดหนึ่งคือ fingerboard binding สีขาวซึ่งเป็นกีตาร์ SC รุ่นที่สองที่มีงานประดับตรงนี้ ต่อจากรุ่น Ted McCarty SC 245

อีกหนึ่งความพิเศษของรุ่นนี้และของกีตาร์ฉลอง 25 ปี ก็คือมันมากับเคสสีขาวสุดสวยสกรีนโลโก้ครบรอบ 25 ปี ซึ่งเคสแบบนี้มีให้เฉพาะรุ่น 25 ปีนะครับ

25th Anniversary Singlecut Hollowbody II CB (2009 – 2010)

  • Model : 25th Anniversary Singlecut Hollowbody II
  • Top : Figured maple, solid wood, with 2 f- holes
  • Back : Figured maple, solid wood
  • Side : Mahogany, solid wood
  • Neck : Mahogany
  • Neck joint : Set-in, Singlecut style
  • Neck profile (s) : Wide Fat
  • Scale length : 25″
  • Number of frets : 22
  • Fingerboard : Indian rosewood with white plastic binding
  • Fingerboard inlay : 25th Anniversary Shadow Birds, banded melon
  • Headstock veneer : Rosewood
  • Headstock inlay/logo : 25th Anniversary Eagle, banded melon
  • Truss rod cover text : SC/HB II
  • Tuners : PRS Phase II locking, nickel
  • Bridge : PRS Stoptail with L/R. Baggs Piezo acoustic pickups
  • Pickups : 57/08 with covers
  • Electronics :
    • Magnetic controls : 3 way toggle switch, 1 Master Volume, 1 Tone,
    • Piezo controls : 1 mini toggle switch, 1 Piezo volume,
    • Outputs : 2 separate output jacks for magnetic and piezo signals
  • Hardware : Nickel
  • Finish : polyester base coat with acrylic top coat, high gloss
  • Accessory : 25th Anniversary white tolex hardshell Hollowbody case



http://bughakata.seesaa.net/article/376503657.html

Hollowbody II ทรง SC ตัวกลวง ไม้หน้าและหลังเป็น solid figured maple (SC HB I 2009 ไม้หลังเป็นมาฮอกกานี) หันหลังมาก็จะเห็นไม้เมเปิลลายสวยๆ เอียงข้างดูก็จะเห็นว่ามีแถบบายดิ้งสีไม้เมเปิลตรงขอบบอดี้ด้านหลังด้วย สวยมาก โครงสร้างของ SC HB ตัวนี้มีการอัพเดทเล็กน้อย ซึ่ง PRS เรียกว่า center block หมายความว่าใต้แผ่นไม้ท็อป บริเวณ treble pickup มีเนื้อไม้มากกว่าดีไซน์ของรุ่นก่อนหน้า เพื่อเสริมความแข็งแรง ลดโอกาสเกิด feedback (แต่ที่จริงกีตาร์ HB ของ PRS ก็ขึ้นชื่อเรื่องการปลอดเสียงหอนอยู่แล้ว) ดังนั้น คำว่า center block ของ PRS ไม่ได้แปลว่ามีบล็อคไม้เชื่อม top กับ backตรงกลางบอดี้ให้ถึงกันอย่างของ Gibson นะครับ

เมื่อเป็นเวอร์ชันฉลอง 25 ปีก็มากับงานประดับคล้าย 25th SC 245 คืออินเลย์นก shadow birds และ 25th Eagle เลี่ยมด้วยวัสดุสังเคราะห์ มี fingerboard binding สีขาว headstock มีโลโก้ 25 ปี ฝังด้วยวัสดุสังเคราะห์ที่เรียกว่า banded melon ปิคอัพ 57/08 ติดตั้ง L.R. Baggs piezo acoustic pickups มาให้ด้วย เพื่อเล่นท้ังเสียงกีตาร์ไฟฟ้าและเสียงกีตาร์โปร่งในตัวเดียวกัน

SC-58

  • Body – mahogany
  • Top – Artist grade figured maple
  • Neck – mahogany
  • Neck profile – Pattern
  • Scale length – 24.5″
  • Fingerboard – rosewood
  • Fingerboard inlay – Birds inlays with paua heart center, MOP outline
  • Fingerboard binding – white plastic
  • Headstock veneer – rosewood
  • Truss rod cover text – SC 58
  • Tuners
    • 2010 – PRS Phase II locking with ebonized buttons
    • 2011-2012 – PRS Phase III locking
  • Bridge – PRS 2 piece stoptail
  • Pickups – 57/08 with brushed covers (treble: alnico 2   9.4k, bass: alnico 2   8.5k)
  • Electronics – 3 way on upper bout, 2 vol, 2 tone, PRS style control layout
  • Hardware – hybrid
  • Accessories – Paisley case
https://i.pinimg.com/originals/aa/c5/27/aac527849c9762b9bd4fa0a4237ca19e.jpg

fivestarguitars.com

หลังจากผ่านพ้นช่วงฉลองครบรอบ 25 ปี PRS ก็เดินหน้าสายการผลิตกีตาร์ Singlecut ต่อในชื่อรุ่น SC 58 ซึ่งรุ่นนี้ผมมองว่าเป็นการยกเครื่องครั้งใหญ่หลังจากไม่เคยเปลี่ยนแปลงอะไรจริงๆจังๆมา 10 ปี มันเยอะจนผมต้องแยกหัวข้อ รุ่นนี้มีอะไรเด็ดบ้าง ไปดูกันเลยครับ

PRS SC-58  – construction and new neck profile

SC รุ่นนี้ก็มีพื้นฐานมาจากรุ่น 245 คือบอดี้มาฮอกคอมาฮอก สเกลสั้นดันสายนิ่มมือ 24.5 นิ้ว สำหรับ SC รุ่นนี้เป็นต้นมา จะไม่มีการเจาะบอดี้ลดน้ำหนัก ดังนั้น ความ resonance จึงหายไป และได้ย่านเบสกลับคืนมาแทน ซึ่งผมคิดว่าหลายๆ คนคงชอบแบบนี้มากกว่า คอเป็นโปรไฟล์ใหม่ ชื่อ Pattern ซึ่งก็คือ Wide Fat เดิม กว้างเท่าเดิม หนาเท่าเดิม แต่ปาดเนื้อไม้ส่วนใกล้กับขอบฟิงเกอร์บอร์ดออกไป เชพของคอ Pattern จึงมีลักษณะเป็นทรง V มากขึ้น เล่นง่ายขึ้น ไม่อ้วนกลมเป็นทรง D อย่าง Wide Fat ลองดูมือผมตอนจับคอ PRS Pattern neck สังเกตตรงนิ้วโป้งนะครับ คอบริเวณนี้ตามเส้นสีเหลืองทั้งแถบมันจะลาดๆลงไปกว่า Wide Fat ตรงนี้แหละที่มันต่างจากคอ Wide Fat และช่วยให้เล่นง่ายขึ้นอย่างมาก แม้ความหนาและกว้างจะยังเท่า Wide Fat ก็ตาม

ผมเองเคยเล่น PRS USA คอ Wide Fat มาก่อนแต่ไม่ถนัดเพราะอ้วนเกินไป แต่เมื่อได้ลองเล่นคอโปรไฟล์ Pattern ไม่น่าเชื่อว่าสามารถเล่นได้สบายกว่ามาก ก็ฝากไว้สำหรับใครที่เคยลองคอ Wide Fat แล้วยังแขยงๆ ว่า อยากให้ลองจับคอ Pattern ดูก่อน เพราะมันต่างกันอย่างรู้สึกได้ ถ้าเพื่อนๆ สามารถเล่นคอ Pattern ได้ เพื่อนๆจะสามารถเล่นกีตาร์ PRS รุ่นหลังปี 2009 ได้สบายๆ แทบทุกรุ่นครับ เพราะกีตาร์ค่ายนี้โดยเฉพาะรุ่นสูงๆ หรือรุ่นสายวินเทจ มักมากับคอโปรไฟล์ Pattern

PRS SC-58  – hardware changes

ลูกบิดใช้ Phase II ล็อกสายลูกบิดดำในช่วงปีแรกของสายการผลิต แต่ต่อมาก็เปลี่ยนเป็น Phase III โชว์เฟือง แต่ไฮไลท์สำคัญของ SC-58 คือการใช้บริดจ์สองชิ้น PRS 2 piece stoptail เป็นรุ่นแรกของกีตาร์ production model เจ้าบริดจ์ที่ว่านี้ ตัว stoptail ทำจากสังกะสี saddles ทำจากทองเหลืองเปลือยๆ หน้าสัมผัสสายกว้างเป็นพิเศษ สามารถตั้ง intonation ได้ ส่วน tailpiece ทำจากอลูมิเนียม ทั้งสองชิ้นติดตั้งอยู่บนเสา 4 ต้นที่ทำจากทองเหลือง ดูวัสดุที่ใช้ก็คล้ายๆ บริดจ์ ABR-1 ของ Gibson นะครับ แต่รูปทรงแตกต่าง และผมไม่รู้ว่าในขั้นตอนการผลิตนั้นอาจจะมีอะไรต่างจากของ Gibson ด้วยหรือเปล่า

การมี tailpiece วางอยู่ในระนาบต่ำกว่า saddles ช่วยให้เกิดมุมหักสาย (string break angle) และเกิดแรงกดของสายผ่าน stoptail ลงไปบอดี้กีตาร์ และถ่ายทอดการสั่นสะเทือนของสาย (string vibration) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เผื่อใครนึกภาพตามไม่ออก ลองดูรูปนี้นะครับ balloon สีฟ้าผมใช้อธิบายวัสดุแต่ละจุด สีเหลืองอธิบายแนวสายและมุมที่เกิดจากการหักเลี้ยวของสาย (string break angle) ส่วนสีแดงหมายถึงพลังงานการสั่นของสาย (string vibration) ที่ถ่ายทอดลงบอดี้กีตาร์ผ่านเสาทองเหลืองทั้ง 4 ต้น

Original picture source: https://forums.prsguitars.com/threads/2-piece-bridge-and-tail-was-something-changed.26419/

พูดถึง PRS 1 piece stoptail ผมเองก็เคยใช้จริงๆจังๆมาสองตัว เป็น USA ทั้งคู่ จากประสบการณ์ผมคิดว่า PRS 1 piece stoptail ให้เสียงที่นิ่งและซัสเทนยาวกว่าบริดจ์คันโยก ฟีลของ PRS Stoptail ดีจนผมคิดว่า PRS ตัวต่อๆไปของผม ก็คงจะเป็นรุ่นบริดจ์ Stoptail ซึ่งขอแค่ 1 piece ก็ดีเกินพอ เพราะ 2 piece งบไม่ถึง 555

ส่วนภาคไฟฟ้าก็แน่นอนว่า SC 58 มากับปิคอัพ 57/08 มีฝาครอบ ควบคุมด้วย toggle 3 ทางวางอยู่ด้านบนตามปกติ มีปุ่มวอลุ่มและโทนอย่างละสองปุ่ม ไม่ตัดคอยล์ โทนเสียงที่ได้ก็สไตล์วินเทจจ๋า นวล กลม อุ่นหวาน ย่านกลางค่อนข้างเยอะ output ต่ำ เหมาะกับแนวแจ๊ซ บลูส์เก่าๆ classic rock แต่คงไม่เหมาะกับเมทัลนะครับ นอกเสียจากว่าใช้เอฟเฟคท์หรือแอมป์แรงๆ ช่วยดัน

PRS SC 58 – aesthetics and new finish

สำหรับในส่วนของความสวยงาม ต้องบอกว่า SC 58 มีการ upgrade สเปคหลายอย่างให้แตกต่างจาก SC ทุกตัวที่ผ่านมา เริ่มจากไม้ท็อปเกรด Artist ลายเฟลมงามๆ headstock แปะ rosewood veneer ลายเซ็นสีขาว ตรงลายเซ็นนี้คือการเลี่ยมจริงๆ คือฝังตัววัสดุลงไปในเนื้อไม้ ซึ่งต้องใช้ความประณีตกว่าลายเซ็น PRS รุ่นปกติที่จะนูนขึ้นมา ผมหารูปตัวอย่างชัดๆจาก Google ไม่ได้ งั้นลองดูจากหัวกีตาร์ PRS McCarty-58 ของผมนะครับ เป็นกีตาร์เกรดเดียวกัน ช่วงปีเดียวกัน ใช้งานประดับเดียวกันกับ SC-58 ทุกประการครับ

อินเลย์นกสไตล์ Modern Eagle II คือเลี่ยมด้วยเปลือกหอย paua heart สีรุ้งๆ สวยยิ่งกว่าพวกอบาโลนทั่วไปของ core Custom  เดินขอบนกด้วยเปลือกหอยมุกหรือ MOP แท้ๆ คอโรสวูดมีบายดิ้งสีขาว เท่านั้นยังไม่พอ ยังมาพร้อมเคส paisley แบบเดียวกับระดับ Private Stock อีกด้วย เรียกว่าจัดเต็มจริงๆ SC 58 เป็นกีตาร์รุ่นสูงของ PRS ในช่วงปี 2010 – 2012 ซึ่งจัดอยู่ในเกรดเดียวกับ McCarty 58 ที่ผมเคยนำเสนอไป ลองดูจากอินเลย์ของ MC-58 ของผมนะครับ คิดว่าชัดกว่าดูจากเว็บร้าน

อีกสิ่งหนึ่งที่ SC 58 แตกต่างจาก SC ทุกรุ่นที่ผ่านมา คือการเคลือบ (finish) แบบ V12 ที่เป็นกรรมวิธีใหม่ สูตรใหม่กึ่งอะคริลิคกึ่งไนโตรที่ PRS ใช้เวลาพัฒนาถึง 12 ปี ผลที่ได้คือการเคลือบที่ใสดุจแก้ว เนื้อแข็ง และไม่เป็นฝ้าด้วยครับ

PRS SC 58 – FunkyFreeman’s verdict

และก็เช่นเดียวกันกับ MC-58 ส่วนตัวผมชอบ SC รุ่นนี้เป็นพิเศษ เพราะ SC รุ่นนี้ได้รับการปรับปรุงโครงสร้างให้ดีขึ้นกว่า SC ทุกรุ่นที่ผ่านมาอย่างเห็นได้ชัด สเปคก็จัดเต็มทั้งในเรื่องของความหรูหราสวยงาม ลายท็อปสวย อินเลย์งาม ปิคอัพสวย โทนเสียงหวาน ลูกบิดสวย อะไหล่ดี กล่องโคตรหรู ทุกอย่างถูกจัดวางอย่างสมบูรณ์แบบไร้ที่ติ

ทั้ง MC-58 และ SC 58 เป็นกีตาร์ ไม่กี่รุ่นของ PRS ที่รอดจากการถูกลดสเปควัสดุในช่วงปีนั้น ดังนั้น ถ้าใครมองหา PRS ทรง SC งานสวย ไม้ท็อปสวย สเกลสั้น ดันสายนิ่มมือ เสียงวินเทจหวานๆ งานคุณภาพสูง แต่ไม่อยากจ่ายหนักเพื่อสอย SC 594 ผมแนะนำให้จัด SC 58 แล้วจะไม่ผิดหวังครับ

Stripped 58

  • Body – mahogany
  • Top – figured maple
  • Neck – mahogany
  • Neck profile – Pattern
  • Scale length – 24.5″
  • Fingerboard – rosewood
  • Fingerboard inlay – dots or dirt birds
  • Fingerboard binding – none
  • Headstock veneer – none
  • Truss rod cover text – none
  • Tuners – PRS Phase III locking
  • Bridge – PRS 2 piece stoptail
  • Pickups – 57/08 with covers (treble: alnico 2   9.4k, bass: alnico 2   8.5k)
  • Electronics – 3 way on upper bout, 2 vol, 2 tone, PRS style control layout
  • Hardware – chrome

มาถึงกีตาร์ SC ที่ผมคิดว่า สร้างความมึนงงให้กับลูกค้าชาวไทยและพ่อค้าชาวไทยมากที่สุดรุ่นหนึ่ง มันคือ PRS Stripped 58 นั่นเอง

เจ้า Stripped (อ่านว่า สตริฟท์) แปลตาม dictionary ก็คือ โป๊ เปลือย ไร้เสื้อผ้าอาภรณ์ปกคลุมร่างกาย เป็นการบอกใบ้ว่า กีตาร์รุ่นนี้ก็คือ SC 58 ที่ถูกตัดเรื่องความสวยงามออกไป เหลือไว้แต่โครงสร้างและอะไหล่ที่สำคัญๆนั่นเอง ดังนั้นในส่วนของโครงสร้างและ hardware ของรุ่นนี้จึงคล้ายกับ SC 58 ที่ผมเล่าไปเหยียดยาวข้างบน เช่น ไม้สปีชีส์เดียวกัน คอโปรไฟล์เดียวกัน ลูกบิดล็อกสายเหมือนกัน บริดจ์ 2 ชิ้นเหมือนกัน และแน่นอน ปิคอัพเดียวกัน

แต่ สเปคที่ Stripped 58 ถูกลดทอนไปก็เช่น

  • เกรดไม้ท็อปเป็นเกรดธรรมดา (แต่มีให้อัพเกรดเป็น 10 top)
  • ไม่มี rosewood headstock veneer
  • truss rod cover ว่างเปล่า ไม่มีข้อความใดๆ (ถ้าเป็นรุ่น SC 58 จะเขียนไว้ชัดเจนว่า SC 58)
  • ไม่มีอินเลย์นก paua+MOP birds แต่จะได้อินเลย์ dots จุดกลมๆ (ไม่มีเอฟเฟคท์พระจันทร์เสี้ยวอย่าง moons) Stripped บางตัวได้ออพชันอินเลย์นกวัสดุสังเคราะห์ที่เรียกว่า dirt birds แทน (นกสีดิน) ใครไม่รู้ว่าอินเลย์นก dirt birds เป็นยังไง อ่านข้อมูลละเอียดได้ที่นี่ครับ
  • ไม่มี fingerboard binding
  • ไม่มีเคส paisley โดย Stripped จะได้เคส tolex สีดำเหมือน Custom 24 USA แทน

ผมลิสต์ความแตกต่างของสองรุ่นให้เห็นกันชัดๆ เพื่อให้เพื่อนๆที่กำลังสับสน หรือพ่อค้าที่ไม่รู้เรื่อง หรือคนที่ (อาจจะ) กำลังบอกขาย Stripped 58 ในราคา SC 58 อยู่นะครับ ขอให้เพื่อนๆที่กำลังเล็ง PRS หน้าตาคล้ายๆสองรุ่นนี้อยู่ ลองเช็กดีๆ ตามลิสต์ที่ผมทำไว้ว่ามันคือ SC 58 ตัวจัดเต็ม หรือ Stripped 58 ตัวลดสเปคกันแน่ จะได้ตั้งงบประมาณได้เหมาะสมและไม่ถูกเอาเปรียบครับ อ้อ ข้อควรระวังอีกอย่าง อย่าเช็กชื่อรุ่นจาก bird tag ที่มากับกีตาร์นะครับ เพราะบางครั้งป้าย bird tag ก็ดันเขียนชื่อรุ่นว่า SC 58 เพิ่มโอกาสเข้าใจผิดเข้าไปอีก ไม่ต้องอะไรมาก ขนาด Singlecut ตัวเก่าของผมเขายังเขียนชื่อรุ่นปิคอัพผิดเลยครับ (แกะปิคอัพดูแล้ว เขียนผิดจริงๆ)

SC 58 กับ Stripped 58 เรื่องเสียงและการใช้งานไม่ต่างกัน ที่ต่างกันคือความสวยงามและราคา โดยสำหรับ Stripped 58 นี้ PRS วางตัวให้ขายในระดับราคาประมาณ Gibson Les Paul Standard

สำหรับใครที่กำลังอยากได้ PRS SC ตัวเมกาที่มากับโครงสร้างที่ดี คุณภาพการผลิตไว้ใจได้ ใช้ออกงานสบาย ราคาใกล้เคียง Gibson Les Paul Standard ถ้าเช่นนั้นแล้ว PRS Stripped 58 ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ (ถ้าได้ราคาแถวๆ LP standard มือสองจะดีมากครับ) แต่ผมอยากแนะนำว่าอย่างน้อยควรได้อินเลย์ dirt birds นะครับ เผื่อวันไหนอยากขายจะได้ขายไม่ยาก

Singlecut Hollowbody II (2011 – 2017)

  • Full hollow body construction
    • Back – figured maple
    • Sides – mahogany
    • Top – figured maple with CB
  • Neck – mahogany
  • Neck profile – pattern
  • Scale length – 25″
  • Fingerboard – rosewood
  • Fingerboard inlay
    • 2011 – 2012 – dirt birds
    • 2013 – 2017 – j birds
  • Fingerboard binding
    • 2011 – 2012 – white plastic
    • 2013 – 2017 – none
  • Headstock veneer
    • 2011 -2012 – none
    • 2013 – 2017 – rosewood
  • Headstock inlay – none
  • Truss rod cover text
    • 2011 – 2012 – SC/HB II
    • 2013 – 2017 – Hollowbody
  • Tuners
    • 2011 – PRS Phase II locking
    • 2012 – 2017 – PRS Phase III locking
  • Bridge
    • 2011 – 2016 – PRS/LR Baggs piezo
    • 2017 – PRS/LR Baggs piezo มีออพชันไม่เอา piezo
  • Pickups
    • 2011 – 2015 – covered 57/08
    • 2015 – 2016 – covered 58/15
    • 2017 – covered 58/15 LT
  • Electronics
    • (magnetic only) 3 way toggle, vol, tone
    • (magnetic and piezo) 3 way toggle, 3 way mini toggle, mag vol, mag tone, piezo blend
  • Finish – V12

2012 SC HB II

2012 dirt birds synthetic inlay

https://reverb.com/item/3498152-2012-paul-reed-smith-prs-singlecut-hollowbody-ii-10-top-birds-piezo-solana-burst

2013 PRS SC HB II สังเกตว่า fingerboard binding ไม่มีแล้วนะครับ

https://reverb.com/item/911697-prs-hollowbody-ii-singlecut-trampas-green-2013-s-n-198896

2014 PRS Singlecut Hollowbody II สังเกต headstock นะครับ

https://reverb.com/item/600407-paul-reed-smith-hollowbody-ii-single-cut-2014-boyd-burst

2016 PRS Singlecut Hollowbody II with 58/15 pickups

Singlecut Hollowbody II เวอร์ชั่นหลังรุ่น 25th Anniversary SC HB II CB ซึ่งก็มีโครงสร้างเหมือนกัน คือใต้ไม้ท็อปมีโครงสร้างที่เรียกว่า center block เสริมความแข็งแรงและลดโอกาสเกิดเสียงหอน ไม้หลังเป็นเมเปิลแท้ตามมาตรฐาน PRS ถ้าลูกค้าอัพเกรดลายไม้ท็อป ไม้หลังก็จะอัพเกรดตามด้วย ดังนั้นจึงไม่แปลกที่กีตาร์ทรง Hollowbody เวอร์ชัน II ของ PRS จะมีราคาสูงกว่ากีตาร์ตัวกลวงอื่นๆในท้องตลาด ก็เนื่องจากมันใช้ไม้เมเปิลด้านหลังด้วย แถมกรรมวิธีการผลิตยุ่งยากกว่าเนื่องจากการใช้ไม้แท้ทุกๆส่วนนั่นเอง ในส่วนของคอก็มาฮอกกานีโปรไฟล์ Pattern ฟิงเกอร์บอร์ดโรสวูดมีบายดิ้งสีขาว อะไหล่ก็ลูกบิดล็อกสายมาตรฐาน

เนื่อจากช่วงที่กีตาร์รุ่นนี้ออกมาเป็นช่วงที่ PRS กำลังปรับสเปคกีตาร์หลายรุ่น ซึ่ง SC HB II ก็มีการปรับด้วยเช่นกัน ดังนั้นสเปคในบางช่วงปีจึงมีความแตกต่างในแง่ของงานประดับและภาคไฟฟ้า เริ่มตั้งแต่ปี 2011 – 2015 ใช้ปิคอัพ 57/08 มีฝาครอบเหมือนรุ่น 25 ปี แต่เมื่อมีการเปิดตัวปิคอัพวินเทจรุ่นใหม่ 58/15 ปี 2015 ก็มีการอัพเดทสเปคปิคอัพให้เป็นรุ่นดังกล่าว จากนั้นในปีสุดท้ายของสายการผลิต (2017) ก็เปลี่ยนปิคอัพอีกครั้งเป็นรุ่น 58/15 LT เหมือนกับ McCarty 594 piezo pickups เป็นสเปคภาคบังคับของรุ่นนี้มาตั้งแต่ปี 2011 แต่เพิ่งมีอออพชันไม่ติด piezo ในช่วงราวๆปีสุดท้ายของสายการผลิต

ส่วนงานประดับ ในช่วง 2011 – 2012 ก็ใช้อินเลย์ dirt birds  ตามอย่าง Custom 24 แต่ถึงนกจะเป็นวัสดุสังเคราะห์ ก็มีของแถมเป็น fingerboard binding สีขาวดูคลาสสิคมาให้ จากนั้นในปี 2013 เป็นต้นมาอินเลย์นกได้รับการอัพเกรดเป็น J birds ที่ตัวนกเลี่ยมด้วยอบาโลนและเดินเส้นของตัวนกด้วยวัสดุสังเคราะห์สีงาช้าง พร้อมๆการหายไปของ fingerboard binding ส่วน rosewood headstock veneer พร้อมลายเซ็นแบบใหม่วัสดุ ivoroid สีงาช้างขนาดใหญ่ถูกอัพเกรดตามมาในปี 2014

สำหรับ J birds inlay เป็นยังไงนั้น ลองดูจากของ PRS Custom 24 ปี 2013 ตัวสีส้มของผมนะครับ ปีเดียวกัน วัสดุเดียวกัน เกรดเดียวกัน สไตล์เดียวกันครับ

PRS Singlecut Hollowbody II เพิ่งหยุดการผลิตในปี 2018 นี้เองครับ

SC 245 (version 2) (2013 – 2016)

  • Body – mahogany
  • Top – figured maple
  • Neck – mahogany
  • Neck profile – Pattern
  • Scale length – 24.5″
  • Fingerboard – rosewood
  • Fingerboard inlay – J birds
  • Fingerboard binding
    • 2013 – none
    • 2014 – 2015 – white plastic
  • Headstock veneer
    • 2013 – none
    • 2014 – 2016 – rosewood with ivoroid signature
  • Truss rod cover text – SC 245
  • Tuners – PRS Phase III locking
  • Bridge – PRS 2 piece stoptail
  • Pickups
    • 2013 – 2015 – 57/08 with chrome covers (treble: alnico 2   9.4k, bass: alnico 2   8.5k)
    • 2015 – 2016 – 58/15 with chrome covers
  • Electronics
    • 57/08 – 3 way on upper bout, 2 vol, 2 tone, PRS style control layout
    • 58/15 – 3 way on upper bout, 2 vol, 2 push-pull tone, PRS style control layout
  • Finish – V12

2013 PRS SC 245

http://www.mylespaul.com/threads/ngd-prs-sc245.262208/

2014 PRS SC 245

vintageandrare.com

2015 – 2016 PRS SC 245 with 58/15 pickups

SC 245 เวอร์ชัน 2 จากเวอร์ชันแรกที่หยุดการผลิตไปเมื่อปี 2009 คราวนี้กลับมาในโครงสร้างใหม่ตามสไตล์ SC 58 บอดี้มาฮอกคอมาฮอกโปรไฟล์ pattern ฟิงเกอร์บอร์ดโรสวูด pickups 57/08 รวมถึงอะไหล่ทุกอย่างแทบไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง จนมาถึงปลายปี 2015 หลังจากที่ PRS เปิดตัวปิคอัพสายวินเทจตัวใหม่ 58/15 SC 245 ก็ได้รับการอัพเกรดให้ใช้ปิคอัพรุ่นนี้ ซึ่งนอกจากปิคอัพ 58/15 จะให้โทนวินเทจที่มีความเคลียร์กว่า ย่านกลางโฟกัสกว่า และเหมาะกับยุคสมัยใหม่มากกว่า 57/08 แล้ว ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของ SC 245 ที่มากับปิคอัพใหม่นี้ คือปุ่ม tone สามารถตัดคอยล์ได้ด้วย ซึ่งออพชันนี้ไม่เคยมีมาก่อนในกีตาร์ PRS SC สเปคมาตรฐาน

ในส่วนของงานประดับ ผมมีข้อสังเกตว่า SC 245 ปี 2013 ดูจะประหยัดงานประดับไปหน่อย (แต่ไม่ downgrade เท่า Stripped 58) กล่าวคือ อินเลย์สเปคมาตรฐานเป็นนก J birds วัสดุอบาโลนเดินเส้นขอบขาว แต่ไม่มีบายดิ้งฟิงเกอร์บอร์ด ในขณะที่รุ่น 2014 เป็นต้นมาจะได้รับการยกเครื่องใช้งานประดับเดียวกันกับ Custom 24 เจเนอเรชันล่าสุดที่เราเห็นกันทุกวันนี้ คือ มีแปะ rosewood veneer ที่บน headstock พร้อมทั้งเปลี่ยนลายเซ็นใหม่ จากสีทองนูน เป็น ivoroid สีงาช้าง เพิ่มเติมด้วยบายดิ้งสีขาวที่ขอบฟิงเกอร์บอร์ด ทำให้ SC 245 ปี 2014 – 2016 ดูหรูหราคลาสสิคมากกว่า 2013

McCarty Singlecut 594 (2016 – ปัจจุบัน)

McCarty Singlecut Soapbar Ltd. (2017) และ

McCarty Singlecut 594 Semi-hollow Ltd. (2018)

  • Body – mahogany
  • Top – figured maple
  • Neck – mahogany
  • Neck profile – Pattern Vintage
  • Scale length – 24.594″
  • Fingerboard – rosewood
  • Fingerboard inlay – Green ripple abalone old school birds
  • Fingerboard binding – bone-colored
  • Fret size – flat crown jumbo
  • Headstock veneer – Indian rosewood
  • Truss rod cover text – McCarty 594
  • Tuners
    • 2016 – 2020 – PRS Tweaked Phase III locking
    • 2020 – Vintage style non-locking
  • Nut – bone
  • Bridge – PRS 2 piece stoptail
  • Pickups
    • SC 594 – 58/15 LT with covers
    • SC 594 Soapbar Ltd. – Seymour Duncan P-90 Soapbar, customized for PRS
  • Electronics
    • SC 594 – 3 way on upper bout, 2 vol, 2 push-pull tone, Gibson style control layout
    • SC 594 Soapbar Ltd. – 3 way on upper bout, 2 vol, 2 tone, Gibson style control layout
  • Hardware – nickel
http://www.prsguitars.com/index.php/electrics/core/mccarty_singlecut_594_2018
https://www.thegearpage.net/board/index.php?threads/minty-prs-singlecut-594-goldtop.1826835/

จุดเริ่มต้นของ McCarty Singlecut 594 

McCarty Singlecut 594 รุ่นใหม่ล่าสุดนี้เปิดตัวพร้อมกับ McCarty 594 ซึ่งมีสเปคเหมือนกัน ต่างกันแค่รูปทรงและมิติบอดี้ การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มีการปรับปรุงหลายอย่างเพื่อให้ได้เสียงที่ใกล้เคียงกับกิบสันยุคทอง 50s ลุงพอลได้พูดถึงจุดมุ่งหมายของการสร้างกีตาร์สายวินเทจของ PRS ยุคใหม่อันเป็นที่มาของกีตาร์รุ่นนี้ ว่า “PRS จะสร้างกีตาร์วินเทจที่ดีหรือดียิ่งกว่ากีตาร์วินเทจแบรนด์อื่นที่คนนิยมเล่นกัน กีตาร์วินเทจของ PRS จะให้โทนเสียงที่เปิด เนื้อเสียงเต็ม มีความเป็นวินเทจแท้ๆ โดยมีการนำเทคนิคสมัยใหม่มาใช้กำจัดจุดบกพร่องต่างๆ ที่มักพบในกีตาร์วินเทจทั่วไป”McCarty Singlecut 594 รุ่นใหม่ล่าสุดนี้เปิดตัวพร้อมกับ McCarty 594 ซึ่งมีสเปคเหมือนกัน ต่างกันแค่รูปทรงและมิติบอดี้ การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มีการปรับปรุงหลายอย่างเพื่อให้ได้เสียงที่ใกล้เคียงกับกิบสันยุคทอง 50s ลุงพอลได้พูดถึงจุดมุ่งหมายของการสร้างกีตาร์สายวินเทจของ PRS ยุคใหม่อันเป็นที่มาของกีตาร์รุ่นนี้ ว่า “PRS จะสร้างกีตาร์วินเทจที่ดีหรือดียิ่งกว่ากีตาร์วินเทจแบรนด์อื่นที่คนนิยมเล่นกัน กีตาร์วินเทจของ PRS จะให้โทนเสียงที่เปิด เนื้อเสียงเต็ม มีความเป็นวินเทจแท้ๆ โดยมีการนำเทคนิคสมัยใหม่มาใช้กำจัดจุดบกพร่องต่างๆ ที่มักพบในกีตาร์วินเทจทั่วไป”

ลุงพอลท้าวความถึงที่มาของจุดมุ่งหมายดังกล่าวว่า วันหนึ่งระหว่างที่ลุงไปเปิด clinic และพบปะกับแฟนคลับที่ร้านกีตาร์แห่งหนึ่งในชิคาโก ลุงเล่าให้แฟนๆในร้านฟังเกี่ยวกับประสบการณ์ของลุงที่เคยเล่นกีตาร์วินเทจของจริงปี 57, 59, 61 ฯลฯ ในตอนนั้นมีแฟนคลับคนหนึ่งยกมือและลุกขึ้นพูดว่า “พอล กีตาร์ปีเก่าขนาดนั้นพวกเราไม่เคยเล่นหรอก กีตาร์วินเทจที่พวกเราเล่นกันอยู่ทุกวันนี้มันเป็นกีตาร์ที่ทำเลียนแบบกีตาร์เก่า (reissue) แค่นั้นเอง พวกเราไม่รู้หรอกว่าคุณกำลังพูดถึงอะไรอยู่” จากวันนั้น ลุงเก็บคำพูดนั้นมาเป็นแรงบันดาลใจว่า ในเมื่อความเป็นจริงคือลูกค้าที่เล่นกีตาร์ reissue ไม่เคยสัมผัสกีตาร์ปีเก่าของจริง ดังนั้นก็แทบไม่มีใครรู้เลยว่าของเก่าแท้ๆ นั้นมันเป็นอย่างไร ด้วยเหตุนี้ก้าวต่อไปของกีตาร์สายวินเทจของ PRS จะไม่ทำกีตาร์สายวินเทจที่แค่ดูคล้ายกีตาร์เก่า แต่จะลงลึกปรับปรุงในรายละเอียดต่างๆ ให้เป๊ะที่สุด เพื่อให้ได้กีตาร์สายวินเทจที่ดีจากภายใน ดีพอจนเสียบตรงเข้าแอมป์ได้ไม่ต้องเอาไปผ่านระบบจำลองเสียง modelling หรือ synthesizer ใดๆ และกล้าท้าชนกับกีตาร์วินเทจอื่นๆ ที่มีอยู่ในท้องตลาด

DNA ของ McCarty Singlecut 594 เริ่มจากชื่อ 594 ซึ่งมาจากการใช้ความยาวสเกล 24.594″ เท่า Gibson ยุค 50s เป๊ะ ยาวกว่า 24.5″ ของกีตาร์ SC รุ่นก่อนๆ อยู่ 2.38 มิลลิเมตร (แค่เนี้ย?) และใช้สเกลนี้ทั้งทรง doublecut และ singlecut

คอเป็นไม้มาฮอกกานีที่มาพร้อมโปรไฟล์ใหม่ Pattern Vintage เป็นคอหนา (Pattern) ที่ปรับใหม่ให้มีลักษณะเป็นทรง V เล็กน้อย โดยให้ส่วนหนาสุดของคออยู่ค่อนไปทางสายต่ำๆ หรือที่เรียกว่าคอ “อสมมาตร (asymmetrical neck)” นั่นเอง ส่วนนัทเป็นกระดูกเพื่อโทนเสียงวินเทจสัสๆสไตล์ 50s มองลงไปตามฟิงเกอร์บอร์ดเราจะเห็นอินเลย์นกเต็มตัว Old school ย้อนยุค ไม่มีลูกเล่นเดินเส้นขอบใดๆ เพื่อลุควินเทจออริจินอลสไตล์ PRS ยุคแบเบาะ วัสดุนกของ 594 นี้เลี่ยมด้วย green ripple abalone เกรดดีติดสีรุ้งนิดๆ

มีการนำปิคอัพสายวินเทจรุ่นใหม่ล่าสุดของปี 2017 มาใช้ คือรุ่น 58/15 LT ย่อมาจาก low turn หลายคนอาจจะเข้าใจว่าเป็นเซ็ท 58/15 ที่ถูกลดจำนวนรอบการพันลวด แต่ความเป็นจริงก็คือเป็นการนำปิคอัพ 58/15 ตำแหน่ง neck จำนวนสองตัว มาจับคู่เป็นเซ็ทเดียวกัน ดังนั้น คำว่า low turn ของรุ่น LT จึงหมายถึงการนำปิคอัพ 58/15 ตัว neck ซึ่งมีการพันลวดจำนวนรอบน้อย (low turn) กว่าปิคอัพตัวบริดจ์ มาวางไว้ที่ตำแหน่งบริดจ์ด้วย เราจึงได้ปิคอัพเซ็ทใหม่ที่ output ทั้งสองตำแหน่งต่ำเท่ากันเป๊ะ แต่สิ่งที่ได้มาคือเสียงที่หวานขึ้น ความแหลมของตำแหน่งบริดจ์ลดลงไปกว่าเวอร์ชันแรก มีคาแรคเตอร์ใกล้เคียงกับ neck pickup มากขึ้น นอกจากนี้ เจ้าปิคอัพรอบต่ำเซ็ทนี้ยังมาพร้อมกับชุดคอนโทรลใหม่ เป็น 3 way toggle 2 vol 2 tone ที่ถูกย้ายตัว toggle ไปอยู่ตรงเขาด้านบน และเรียงปุ่มใหม่ให้วอลุ่มอยู่แนวตั้ง พูดตรงๆ ก็คล้ายๆ ของ Gibson แต่ขยับเข้ามาให้อยู่ใกล้มือมากกว่า ปุ่ม tone เป็นแบบ push-pull pots ตัดคอยล์แยกอิสระแต่ละปิคอัพได้ เหมือนกับ SC 245 ล็อตหลังสุด ส่วนซีเลคเตอร์เป็นแบบ toggle 3 ทางติดตั้งอยู่ด้านบนเหนือปิคอัพตัวเนค และอยู่ตำแหน่งเดียวกันไม่ว่าจะเป็นทรง Singlecut หรือ doublecut

ในส่วนของฮาร์ดแวร์ ไฮไลท์คงเป็นลูกบิดล็อกสาย PRS Phase III เวอร์ชันอัพเกรด หรือที่ PRS เรียกว่า tweaked Phase III tuners โดยจะมีการติด set screw ตัวเล็กๆ ไว้ที่บริเวณปลอกชาฟท์ลูกบิด สกรูตัวเล็กๆพวกนี้จะช่วย “จับ” แกนชาฟท์เอาไว้ไม่ให้เฟืองตัวหนอนที่ปลายแกนชาฟท์ไปแนบชิดติดกับเฟืองทองเหลืองแน่นเกินไป เพื่อลดการสูญเสียพลังงานของสายกีตาร์ที่จะถ่ายไปทางลูกบิดให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยไม่กระทบการทำงานลูกบิด อาจกล่าวได้ว่านี่เป็นการปรับปรุงในจุดที่เล็กโคตรๆ แต่ลุงพอลแกมองว่าส่วนเล็กๆก็มีความสำคัญ แกก็พยายามอุดช่องโหว่เล็กๆพวกนี้ให้หมด ผมเห็นครั้งแรกก็ทึ่งนะครับกับการปรับปรุงในจุดเล็กๆ ซึ่งมันเล็กชนิดที่ว่าไม่บอกก็คงไม่เห็น แต่จากที่ผมติดตามแบรนด์นี้มา ก็เห็นเค้าทำแบบนี้อยู่หลายครั้ง แล้วมักจะทำเงียบๆ ไม่บอกด้วยนะ ต้องสังเกตเอาเอง

ในปี 2020 PRS เริ่มทยอยเปลี่ยนลูกบิดของ 594 ให้เป็นแบบวินเทจไม่ล็อกสาย ย้อนกลับสู่รากเหง้าของตระกูล McCarty ซึ่งผมมองว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะผมเชื่อว่าลูกบิดไม่ล็อกสายง่ายๆ ไม่มีกลไกใดๆ นั้นช่วยส่งผลดีต่อ string vibration ไม่มากก็น้อย ซึ่งเรื่องนี้ Mr. Shawn ซึ่งเป็นผู้จัดการแแผนก PRS Customer Service ก็ได้ให้เหตุผลไว้ว่า ลูกบิดวินเทจมีผลบางอย่างต่อย่านกลางของเสียงจริงๆ สำหรับคนที่อาจจะกังวลว่าเปลี่ยนมาใช้ลูกบิดไม่ล็อกสายแล้วมันจะเพี้ยนง่ายไหมนั้น ส่วนตัวผมเองซึ่งเคยมี PRS Singlecut ตัวแรกซึ่งใช้ลูกบิดไม่ล็อกสายเหมือนกัน ก็กล้ายืนยันได้ว่า ลูกบิดวินเทจที่ PRS เลือกใช้นั้น คุณภาพสูงมาก Singlecut ตัวนั้นไม่เคยมีปัญหาสายเพี้ยนเองเลย

ปี 2020 PRS ปรับสเปคลูกบิดใหม่ เป็นแบบวินเทจไม่ล็อกสายเสาทองเหลือง

จุดต่อไปที่เป็นรายละเอียดเล็กๆ ซึ่งน้อยคนจะสังเกต และ PRS ก็ไม่เคยบอกไว้ในเว็บ ก็คือเฟรทของ MC 594 เป็นเฟรทขนาดจัมโบ้ขนาดความกว้างเท่ากับเฟรทของ McCarty เวอร์ชันปกติ แต่ส่วนยอด (crown) ของเฟรท แบนราบ ทำให้เฟรทต่ำกว่า McCarty ตัวปกติ ากประสบการณ์ของผมมองว่า เฟรทรูปร่างแบนๆ แบบนี้มีความคล้ายคลึงกับเฟรทของพวก Gibson Reissue รุ่นต่างๆ และสาเหตุที่ทำเช่นนี้ก็เพื่อถอดลักษณะของกีตาร์ Gibson ยุค 50s ออกมาให้มากที่สุดนั่นเอง โดยเฉพาะในจุดที่มีการสัมผัสสาย

เฟรทของ McCarty 594
เฟรทของ McCarty ปกติ

สำหรับคนที่รักความวินเทจ สิ่งหนึ่งที่สนใจเป็นพิเศษคงหนีไม่พ้นเรื่องการเคลือบกีตาร์นะครับ สำหรับ 594 นั้น ตัวแทนของ PRS ท่านหนึ่งได้แง้มๆ ข้อมูลใน prsguitars forum ว่า 594 ใช้ finish แบบ polyurethane base coat + acrylic top coat ที่มาแทน V12 ซึ่งต่อมาก็ได้รับการยืนยันว่า PRS เลิกใช้การเคลือบแบบ V12 แล้วจริงๆ และมีการปรับสูตรสารเคลือบใหม่ แต่ไม่มีการตั้งชื่อเรียกใดๆ ซึ่งสูตรเคลือบใหม่นี้ก็เป็น poly+acrylic ที่ปรับสูตรใหม่ ไร้ฝ้า

เสียงก็แน่ละ วินเทจ แต่อย่างที่บอก มันไม่ใช่วินเทจอย่าง Gibson Reissue ที่เพื่อนๆคงกำลังนึกถึง แต่มันเป็นความวินเทจรสชาติใหม่สไตล์ PRS ที่เน้นความเคลียร์ สะอาด

นอกจากนี้ PRS ยังเปิดตัวกีตาร์ 594 เวอร์ชัน limited ติดปิคอัพ P-90 Soapbar จากผู้ผลิตมิตรสหายเก่าอย่าง Seymour Duncan ผมเคยสอบถามไปทาง PRS ว่า P-90 ที่เอามาใส่กับ 594 เป็น P-90 เวอร์ชันไหน (เพราะปิคอัพ P-90 มีหลายแบบเหลือเกิน) คำตอบก็คือ พื้นฐานมาจาก Antiquity แต่มีการปรับสเปคบางอย่างตามที่ PRS สั่ง ส่วนสเปคอื่นๆ ของเวอร์ชัน 594 Soapbar ที่ต่างจากตัว 58/15 LT ก็ตรงที่ปุ่ม tone ไม่มีให้ดึงตัดคอยล์ เพราะ P-90 เป็น single coil อยู่แล้วครับ

https://forums.prsguitars.com/threads/prs-mccarty-594-soapbars-from-the-product-release-ad-in-stock.25038/

สุ้มเสียงของ PRS 594 กับปิคอัพ P-90 Soapbar single coil หน้าตาโบราณๆ อยู่ระหว่าง humbucker วินเทจอุ่นหวาน กับ single coil ใสๆ สะอาดๆ รวมๆออกมาก็คือหวาน แต่ลดความบวมป่อง เป็นเสน่ห์เฉพาะตัวที่ยากจะเลียนแบบได้ ซึ่งคนที่ชื่นชอบปิคอัพ P-90 จะเข้าใจความรู้สึกนี้ดี

และผมอยากบอกว่า ไอ้ปิคอัพหน้าตาเชยๆแบบนี้ มันอยู่คู่กับกีตาร์หรูๆอย่าง PRS มาตั้งแต่เริ่มตั้งแบรนด์ และมีออกมาเรื่อยๆ จนถึงยุคปัจจุบัน กีตาร์ PRS หลายรุ่นมีการติดตั้งปิคอัพชนิดนี้ ไล่ตั้งแต่ SE หลายรุ่น, core Custom 22, Swamp Ash,  McCarty, signature models โดยซีรีส์ที่ผมเห็นมี P-90 ให้เลือกเป็นออพชันแบบจริงๆจังๆ ก็คือ McCarty original เจเนอเรชันที่เลิกผลิตไป และแม้กระทั่งตัวที่เป็น McCarty Brazilian limited และ McCarty Korina ก็ยังมีออพชัน P-90 นี้มาให้ ถ้าเพื่อนๆลองเสิร์ชหา PRS McCarty มือสองในเว็บต่างประเทศก็จะเจอ McCarty Soapbar มือสองปีเก่าๆ ขายอยู่เรื่อยๆ นั่นก็เพราะ PRS ติด P-90 มีสุ้มเสียงเป็นเสน่ห์เฉพาะตัวที่น่าประทับใจ และได้รับความนิยมมายาวนานในต่างประเทศนั่นเอง แถมราคามือสองถูกกว่าตัวที่ติดปิคอัพ humbuckers ด้วยครับ คงเพราะมันไม่ใช่แนวที่ตลาดหลักมองหานั่นเอง ซึ่งคนที่เขาเข้าใจข้อดีของมันก็สบายกระเป๋ากันไป ได้ของดีแต่ไม่ต้องจ่ายหนัก

เผื่อใครคิดว่ามันดูเชยๆๆหรือดูตลก ผมอยากจะบอกว่านี่คือของดีนะครับ เพียงแต่เพื่อนๆ ต้องทำความรู้จักข้อดีของมันสักหน่อย ไม่แน่นะ ถ้าได้ลองอาจจะติดใจก็ได้ ของมันอยู่กับแบรนด์ PRS มานานขนาดนี้ นานยิ่งกว่าอายุปิคอัพบางรุ่นของ PRS เองซะด้วยซ้ำ แปลว่ามันต้องมีทีเด็ดอะไรแน่ๆครับ

SC ตัวล่าสุด (ณ เดือนมิถุนายน 2561) คือ PRS McCarty Singlecut 594 Semi-hollow  เป็นรุ่นลิมิเต็ดที่เปิดตัวในงาน Experience PRS ซึ่งจัดขึ้นเมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา  ความพิเศษของเวอร์ชั่นนี้คือโครงสร้างบอดี้แบบ Semi-hollow หรือภายในบอดี้ครึ่งบน (ฝั่งสายเบส) ถูกคว้านเนื้อไม้ออกและมีโพรง f-hole 1 โพรงเก๋ๆ ส่วนครึ่งล่างปล่อยเนื้อไม้ไว้ตันๆเหมือนเดิม ใช้ปิคอัพ 58/15 LT และสเปคในส่วนอื่นๆเหมือนกับ SC 594 เวอร์ชั่นปกติ  การมีบอดี้กึ่งกลวงทำให้เสียงมีความโปร่งมากขึ้น มีความกังวาน หวาน ใส และถ้าเราเล่นกีตาร์ 594 semi กับแอมป์หลอด clean ดีๆ หวานๆ หรือถ้าเปิด overdrive แตกอ่อนๆ บวกรีเวิร์บนิดๆ ก็คงจะฟินไม่น้อยเลยทีเดียว

PRS Singlecut 594 Semi-hollow ไม่จำกัดจำนวนการผลิต แต่จำกัดระยะเวลารับออเดอร์ 3 เดือน คือระหว่างมิถุนายน – สิงหาคม 2561 เท่านั้นครับ

http://www.prsguitars.com/index.php/electrics/core/singlecut_mccarty_594_semi_hollow_limited

UPDATE McCarty 594 โมเดล 2020

ในปี 2020 PRS ประกาศปรับสเปค McCarty 594 ดังนี้ครับ

  • เปลี่ยนสูตรการเคลือบใหม่ให้เป็นไนโตร (Nitro over cellulose หรือ CAB) ซึ่งเป็นการเคลือบแบบที่ใช้ในไลน์ผลิต Private Stock (custom shop ของ PRS) PRS ให้ข้อมูลว่า เนื้อแลคเกอร์มีความใสกว่า และจะไม่เหลืองหรือแตกลายงาตามกาลเวลาอย่างของ “คู่แข่ง” (ผมรู้ว่าเขาหมายถึง Gibson) แต่จะคงไว้ซึ่งความบางและอ่อนสไตล์ไนโตร ซึ่งต่างจากการเคลือบแบบโพลียูรีเทนที่ใช้มาโดยตลอด
  • เปลี่ยนลูกบิดจาก tweked Phase 3 locking tuners มาเป็นลูกบิดวินเทจไม่ล็อกสาย เสาทำจากวัสดุทองเหลือง PRS ให้เหตุผลว่าลูกบิดแบบนี้เปลี่ยนการตอบสนองย่านกลางของเสียงกีตาร์เล็กน้อย
  • ปิคอัพ 58/15 LT ได้รับการ “จูนเสียงใหม่” ด้วยกระบวนการ TCI (Tuned Capacitance and Inductance) เช่นเดียวกับ Paul’s Guitar เจเนอเรชัน 2
  • เปลี่ยนทรง Saddles จากทรงบล็อกสี่เหลี่ยมยอดโค้งที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2010 มาเป็นทรงคล้ายๆ ตัว V หรือพูดภาษาชาวบ้านคือมันก็คล้ายๆของ Gibson นั่นแหละ แต่แซดเดิลของ PRS ยังคงคอนเซพท์ทำจากวัสดุทองเหลือง ส่วนตัวผมว่าอันนี้เข้าท่า จุดสัมผัสหน้าแคบลง การตอบสนองของเสียงน่าจะมีโฟกัสมากขึ้นกว่าแบบสี่เหลี่ยมหน้ากว้างๆ
ตัวนี้เคลือบไนโตรครับ
ลูกบิดรุ่นใหม่แต่หน้าตาดูเก่า เสาทองเหลือง ไม่ล็อกสาย สวยงามมากๆ
ตัวนี้เป็น 10 top สกรูสีทอง
บอดี้มาฮอกกานีชิ้นเดียว มาตรฐาน PRS USA ยังคงไว้เหมือนเดิม
saddles แบบใหม่ ทรงสามเหลี่ยม

อย่างไรก็ดี การอัพเดทที่ว่ามาข้างต้นจะทยอยใส่ลงในกีตาร์ที่ค้างในสายการผลิตก่อน และทางโรงงานต้องใช้อะไหล่สเปคเก่าที่ยังเหลือในสต๊อคมาใช้ให้หมดก่อนนะครับ ถ้ากีตาร์ตัวไหนผลิตไว้ถึงขั้นตอนไหน ก็จะอัพเดทสเปคในส่วนที่ยังใส่ได้ ยกตัวอย่างเช่น กีตาร์ 594 ล็อตแรกๆของปี 2020 บางตัวจะได้งานเคลือบสูตรไนโตร แต่ลูกบิดและแซดเดิลยังเป็นสเปคเก่า หรือบางตัวได้ลูกบิดวินเทจแล้ว แต่แซดเดิลสี่เหลี่ยมยังมีอยู่ในสต๊อคอะไหล่ ทางโรงงานก็จะเอามาใส่ให้หมดก่อน เป็นต้น ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจที่กีตาร์ 594 ปี 2020 หลายๆตัว ยังไม่ได้รับอัพเดทครบทุกกระเบียดนิ้วอย่างที่ผมได้กล่าวไว้ข้างต้น

ส่งท้าย

สำหรับลิสต์กีตาร์ PRS Singlecut/SC ระดับ core model เท่าที่ผมมีข้อมูลก็จะมีประมาณนี้นะครับ ตอนต่อไปเราจะมาดูกีตาร์ทรงนี้ในสายการผลิตอื่นๆ กันบ้างครับ

ขอบคุณที่ติดตามอ่านจนจบนะครับ เนื้อหาเยอะไปหน่อยเพราะผมไม่รู้จะตัดทอนตรงไหน 555 อยากให้คนอ่านได้อะไรเยอะๆครับ เพราะการรู้เงียบๆ เพียงคนเดียวมันไม่สร้างประโยชน์อะไรกับสังคมครับ

กดอ่านต่อ Singlecut/SC ตอนจบได้ที่นี่ครับ


กลุ่มเฟสบุค PRS แอดเข้ามากันได้ คลิกที่นี่ครับ

กด Like page ของผมได้ที่นี่จ้า