PRS Singlecut / SC โครงสร้างสไตล์ LP งานดีสไตล์ PRS – ตอนที่ 5 มีรุ่นอะไรบ้าง (3) (จบ)

สวัสดีครับ จากตอนที่แล้วที่ผมเล่าถึงกีตาร์ PRS ทรง Singlecut หรือ SC สายการผลิต core USA ถึงตัวล่าสุด McCarty Singlecut 594 ไปแล้ว ตอนนี้ผมจะขอกล่าวถึงกีตาร์ทรงนี้ของ PRS ที่อยู่ในซีรีส์อื่นๆ ที่อยู่ในระดับราคารองๆลงไป เช่น S2 และ SE นะครับ

 

– S2 –

S2 คือซีรี่ส์ใหม่ที่เปิดตัวเมื่อปี 2013 เป็นกีตาร์ที่อยู่ระหว่าง core USA กับ  SE กีตาร์ในซีรีส์นี้ผลิตในโรงงาน PRS เมือง Stevensville สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นที่เดียวกันที่ผลิตรุ่นตัวละเป็นแสนๆนั่นแหละ แต่ S2 มีการปรับกรรมวิธีการผลิตรวมถึงใช้อะไหล่ส่วนใหญ่จากเกาหลีเพื่อลดต้นทุนการผลิต เพื่อให้ได้กีตาร์ PRS ในราคาที่เอื้อมถึงง่ายขึ้น โดยยังคงมาตรฐานการผลิตและการ QC ของ PRS USA

S2 Singlecut มือหนึ่ง มีราคาตั้งแต่ 3 – 4 หมื่นบาท

ข้อมูลลึกๆ ของ PRS ซีรีส์ S2 สามารถอ่านได้ที่นี่ครับ

แล้ว S2 ทรง Singlecut มีอะไรบ้าง? ไปดูกันเลย

S2 Singlecut (2013 – ปัจจุบัน)

และ S2 Singlecut Semi-hollow (2014 – ปัจจุบัน)

  • Body – mahogany
  • Top –beveled figured maple
  • Neck – mahogany, scarf joint
  • Neck profile – Pattern regular
  • Scale length – 25″
  • Fingerboard – rosewood
  • Fingerboard inlay – synthetic old school birds inlays
  • Fingerboard binding – none
  • Headstock veneer – none
  • Truss rod cover text
    • 2013 – SC 250
    • 2014 – present  – Singlecut
  • Tuners – S2 Phase II locking, brass posts
  • Bridge
    • 2013 – 2015 – S2 stoptail, brass studs
    • 2016 – present – PRS S2 adjustable stoptail, unplated brass studs
  • Pickups – S2 #7 with covers
  • Electronics – 3 way on upper bout, 2 vol, 2 tone with push-pull for coil tap, PRS style control layout
  • Hardware – nickel
  • Accessories – gig bag
  • Weight
    • S2 SC – 3.6 kg.
    • S2 SC Semi-hollow – 3.35 kg

2013 PRS S2 Singlecut

https://www.andertons.co.uk/guitar-dept/electric-guitars/modern-body-guitars/prs-s2-single-cut-guitar-in-elephant-grey

2015 PRS S2 Singlecut in champagne gold

https://www.thegearpage.net/board/index.php?threads/prs-usa-s2-singlecut-2015-champagne-gold-mint.1872797/

2014 PRS S2 Singlecut Semi hollow

martelmusicstore.com

S2 Singlecut การผสมไม้ก็ตามสูตรปกติ คือบอดี้ทำจากไม้มาฮอกกานี คอทำจากไม้มาฮอกกานี ฟิงเกอร์บอร์ดทำจากไม้โรสวูด แต่มีความแตกต่างจากพวก core USA ในรายละเอียดหลายอย่าง เริ่มจากบอดี้ที่มีความหนาไม่ต่างจาก core Custom 24  มากนัก คือประมาณ 50 mm (original Singlecut หนาเกือบ 60) ไม้ Top เป็น solid maple ลายไม้จริงไม่แปะวีเนียร์ แต่บางกว่าไม้เมเปิ้ลที่ใช้ในรุ่น core นะครับ และไม้ Top ของ S2 มีการ ใช้กรรมวิธีปาดเหลี่ยมหรือที่เรียกว่า bevel รูปทรงและลวดลายไม้ท็อปของ S2 จึงดูไม่โค้งแบบ violin carve เหมือนกีตาร์ระดับ core แต่ก็ให้คุณสมบัติทางเสียงตามที่ไม้เมเปิ้ลควรจะเป็นทุกประการ

โปรไฟล์คอเป็น Pattern regular ซึ่งหน้าแคบกว่าคอ Wide Fat/Pattern ของ core SC สเกล 25 นิ้ว radius 10 นิ้ว 22 เฟรทมาตรฐาน อินเลย์เป็นนกสังเคราะห์สไตล์ old school birds ดูคลาสสิค pick up รุ่น #7 เวอร์ชัน S2 ผลิตในเกาหลี ซึ่งออกแบบตามปิ๊กอัพรุ่นต้นฉบับ #7 USA ให้เสียงโทนหนา มีเนื้อเบส มีความร็อก ดุดัน S2 Singlecut มากับ 2 volume 2 Tone ปุ่ม tone สามารถดึงตัดคอยล์ได้

อะไหล่ก็ตามมาตรฐานของซีรีส์นี้ คือเป็นอะไหล่เกาหลี แต่วัสดุดีกว่าของ SE เริ่มจาก Stoptail ชิ้นเดียวซึ่ง tailpiece ทำจากอลูมิเนียมขึ้นรูปด้วยเครื่องจักร (machined aluminium) เสาทองเหลืองคล้ายของ USA ซึ่งในปี 2016 มีการอัพเกรด Bridge เป็นแบบปรับ saddles ได้ วัสดุของ saddles ก็ทำจากทองเหลืองเปลือยๆ ไม่ชุบ และเสาก็เป็นทองเหลืองเปลือยๆ ไม่ชุบหัวเสาเช่นกัน ดูดิบๆ ให้เห็นกันชัดๆ ว่าใช้วัสดุดี ส่วนลูกบิดเป็นแบบล็อคสายเสาทองเหลืองเวอร์ชั่น S2 นัทใช้ของ core USA แท้ๆ เพื่อที่สุดของความลื่น กีตาร์ S2 Singlecut มากับ Gig Bag ไม่มีกล่องนะครับ

สำหรับ S2 Singlecut Semi-hollow นั้น สเปคแทบทุกอย่างก็จะเหมือนกับ S2 Singlecut แต่ต่างกันที่โครงสร้าง คือ บอดี้เป็น semi Hollowbody เจาะบอดี้ฝั่งสายเบส มีช่อง F hole ช่องเดียว ซึ่งการที่บอดี้ไม่ตันทั้งตัวทำให้เสียงมีความโปร่ง มีความกลมกล่อมมากขึ้น ลดความกระแทกกระทั้นลงไป แต่ก็ไม่ถึงกับโหวงๆ อย่างพวกกลวงทั้งตัว (full hollowbody) ทีเด็ดของรุ่น semi-hollow ผมคิดว่าเป็นเสียง clean หรือแตกอ่อนๆ มากกว่าเสียงแตกแบบ high gain นอกจากนี้ ข้อดีอีกอย่างคือน้ำหนักของกีต้าร์เบาลงไป 2-3 ขีดเมื่อเทียบกับเวอร์ชันตัวตัน ซึ่งเรื่องความเบาสบายในการใช้งานนี้ สำหรับหลายๆ คนก็มองว่าสำคัญนะครับ

ผมสังเกตว่านักดนตรีกลางคืนเดี๋ยวนี้นิยมเล่นกีต้าร์ semi Hollow ค่อนข้างมาก ไม่แน่ใจว่าเพราะเสียงหวาน ลูกค้าฟังแล้วเคลิ้ม หรือเพราะน้ำหนักเบาสะดวกต่อการขนย้ายกันแน่นะครับ แต่ถึงอย่างไรกีต้าร์ทรงนี้ก็เป็นเทรนด์ที่กำลังได้รับความนิยมของนักดนตรีทั้งรุ่นใหม่และรุ่นเก่า ถ้าใครยังไม่เคยลอง แนะนำว่าลองดูสักครั้งครับ ซึ่ง PRS ก็มีอีกหลายรุ่นที่เป็น semi hollow และราคาไม่แรงครับ

สำหรับใครที่สนใจ S2 Singlecut ผมขอแนะนำให้หารุ่นปี 2016 หรือใหม่กว่า เพราะได้บริดจ์ดีกว่าและยังมีตัวเลือกสีมากกว่าด้วยครับ ทั้งสีใสโชว์ลายไม้ และสีทึบ (เผลอๆสีทึบอาจจะดูดีกว่าก็ได้นะครับ)

 

S2 Singlecut Standard (2014 – ปัจจุบัน)

และ S2 Singlecut Standard Satin (2015 – ปัจจุบัน)

  • Body and top – beveled mahogany with black pickgaurd
  • Neck – mahogany, scarf joint
  • Neck profile – Pattern regular
  • Scale length – 25″
  • Fingerboard – rosewood
  • Fingerboard inlay – synthetic dots
  • Fingerboard binding –none
  • Headstock veneer – none
  • Truss rod cover text – Singlecut
  • Tuners – S2 Phase II locking, brass posts
  • Bridge
    • 2014 – 2015 – S2 stoptail, brass studs
    • 2016 – present – PRS S2 adjustable stoptail, unplated brass studs
  • Pickups – S2 #7 with covers
  • Electronics – 3 way on upper bout, 2 vol, 2 tone with push-pull for coil tap, PRS style control layout
  • Hardware – nickel
  • Accessories – S2 gig bag

2015 PRS S2 Singlecut Standard

https://www.promusictools.com

2016 PRS S2 Singlecut Standard Satin

gear4music.com

สำหรับ S2 Singlecut Standard นี้ มีความแตกต่างจาก 2 รุ่นแรกในเรื่องของการใช้ไม้ คือ body  ทำจากไม้มะฮอกกานีทั้งดุ้น ไม่มีไม้ top แต่มี pick guard สีดำแปะไว้แทน เมื่อไม่มีการผสมไม้เมเปิ้ล โทนเสียงที่ได้จึงมาจากไม้มาฮอกกานีเต็มๆ เบสเน้นๆ ริธึ่มหนาๆ ดิบ ดุดัน ส่วนคอก็ใช้ไม้มะฮอกกานีโปรไฟล์ pattern regular ไม่หนาไม่บางตามสเปคมาตรฐานซีรีส์ S2 ในส่วนของ อินเลย์ รุ่นนี้ จะเป็นแบบ dots (dots ไม่ใช่ moons นะครับ) ไม่มีนกเป็นออพชัน  ส่วนลูกบิดเป็นแบบล็อคสาย Phase II เวอร์ชั่นผลิตในเกาหลี ในส่วนของระบบไฟฟ้ารวมถึงอะไหล่ต่างๆ ก็เหมือนกับ S2 Singlecut เวอร์ชันมาตรฐาน

S2 Singlecut รุ่นนี้ มี finish ให้เลือก 2 แบบ คือแบบเคลือบเงาและเคลือบด้าน ซึ่งรุ่นที่เคลือบด้านก็คือ Singlecut Standard Satin เป็นการเคลือบด้วยแลคเกอร์ไนโตรบางๆ แต่จะต่างจากพวกเคลือบด้านของ core หรือ private stock คือตัวนี้เคลือบด้านดิบๆ ไม่มีการเติม filler เพื่ออุดร่องเสี้ยนไม้แต่อย่างใด ทำให้เนื้อไม้มีอิสระในการสั่นสะเทือนมากขึ้น ไม้หายใจได้สะดวกขึ้น เสียงมีความบริสุทธิ์มากขึ้น นอกจากนี้ผมคิดว่า การที่กีตาร์เคลือบด้านดิบๆมาแบบนี้ มันมีผลทางความรู้สึกบางอย่างต่อคนเล่น คือ มันทำให้คนเล่นไม่ค่อยรู้สึกว่าต้องประคบประหงมอะไรมากมายในการใช้งาน ไม่ต้องกลัวเป็นรอย หิ้วออกไปเลย ถึงไหนถึงกัน

และก็เหมือนเดิม แนะนำให้หาปี 2016 หรือใหม่กว่านะครับ ได้บริดจ์แบบปรับได้ แซดเดิลทองเหลืองครับ

 

– SE –

ซีรีส์ต่อไปคือ SE ผลิตในเกาหลี แต่ล็อตใหม่ๆ เริ่มมีผลิตในอินโดนีเซียบ้างแล้ว PRS SE เป็นกีตาร์ที่มีราคาอยู่ระหว่าง S2 กับ SE Standard เป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมสูงสุด เพราะราคาไม่แรงอีกทั้งหน้าตาก็สะสวยไม่หนีจากรุ่นใหญ่ USA เท่าไรนัก

เอาล่ะ SE ทรง Singlecut มีรุ่นอะไรบ้าง

SE Singlecut (2000 – 2013)

  • Body – mahogany, 45.5mm thick
  • Top –maple top with maple veneer, natural maple top binding
  • Neck – mahogany
  • Neck profile – wide fat
  • Scale length – 25″
  • Fingerboard – rosewood
  • Fingerboard inlay
    • 2000 – 2010 : moons
    • 2011 – 2013 : synthetic old school birds
  • Fingerboard binding – none
  • Headstock veneer – none
  • Headstock text – SE Singlecut
  • Truss rod cover text – PRS
  • Tuners – SE non-locking
  • Bridge – SE stoptail
  • Pickups – PRS-designed, uncovered
  • Electronics – 3 way toggle, 1 vol, 1 tone
  • Hardware – nickel
  • Accessories – gig bag

massstreetmusic.com

http://www.mylespaul.com/threads/so-whats-the-verdict-on-prs-se-singlecuts.32989/

http://www.pourlesmusiciens.com/prs-se-singlecut-2011-antique-white-gpr-sesc-aw-guitare-electrique-solid-body.html

PRS เริ่มต้นผลิตกีตาร์ทรงนี้ในไลน์ SE ด้วยรุ่น SE Singlecut ที่แม้จะใช้ชื่อคล้ายซิงเกิลคัทต้นฉบับ แต่ที่จริงกลับมีความแตกต่างอย่างมากมายนะครับ เริ่มจากบอดี้มาฮอกกานี ท็อปเมเปิลแปะวีเนียร์เมเปิล ความหนาบอดี้ราวๆ 45 มิลลิเมตร (รุ่น USA ต้นฉบับ หนาประมาณ 60 มิล)  และแม้จะเอาไปเทียบกับ Custom 24 USA เจ้านี่ก็ยังบางกว่าเกือบครึ่ง ซม.  ไม้คอเป็นมาฮอกโปรไฟล์ wide fat สเกลคอยาวเท่ากันที่ 25 นิ้ว อินเลย์ moons หรือนก (moons ไม่เหมือน dots นะครับ มันมีที่มาที่ไป อ่านได้ที่นี่ครับ) บริดจ์ Stoptail เวอร์ชัน SE ปิคอัพ PRS designed ไม่ระบุสเปค ไม่มีฝาครอบ ควบคุมด้วย toggle 3 ทางวางอยู่ใกล้วอลุ่มและโทนอย่างละปุ่ม ไม่ตัดคอยล์

เทียบความหนาของบอดี้ SE Singlecut (ซ้าย) กับ SE 245 (ขวา) นะครับ

 

https://forums.prsguitars.com/threads/se-245-vs-se-singlecut.8686/

จุดเด่นของตัวนี้จึงอยู่ที่ความคล่องตัวในการใช้งาน ด้วยความที่ตัวมันบาง จึงสามารถข้าซอกแขนสะดวกกว่าแถมน้ำหนักเบา การตอบสนองในการเล่นเกิดขึ้นฉับไวกว่ากีตาร์ตัวหนาๆ ชุดควบคุมใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน ที่สำคัญราคาถูกสุดๆ ถ้าเป็นมือสองราคาก็มักขายกันหลักพันบาท แต่ถ้าอยากได้แบบอินเลย์นกอาจต้องใช้เวลาหาหน่อยนะครับ เพราะมีผลิตแค่ช่วงไม่กี่ปีท้ายๆ

 

SE Singlecut Tremolo (2000 – 2013)

  • Body – mahogany, 45.5mm thick
  • Top –maple top with maple veneer, natural maple top binding
  • Neck – mahogany
  • Neck profile – wide fat
  • Scale length – 25″
  • Fingerboard – rosewood
  • Fingerboard inlay
    • 2000 – 2010 – moons
    • 2010 – 2013 – synthetic old school birds
  • Fingerboard binding – none
  • Headstock veneer – none
  • Headstock text – SE Singlecut
  • Truss rod cover text – PRS
  • Tuners – SE non-locking
  • Bridge – SE tremolo
  • Pickups – PRS-designed, uncovered
  • Electronics – 3 way toggle, 1 vol, 1 tone
  • Hardware – nickel
  • Accessories – gig bag

https://www.gak.co.uk/en/prs-se-singlecut-trem-tobacco-sunburst/31927

http://www.guitar.com.au/guitars/electric/prs/se_singlecuttrem.html

SE Singlecut Tremolo ก็คือ Se Singlecut ติดคันโยกนั่นเอง นอกจากคันโยกแล้ว ไม้และส่วนประกอบต่างๆ ก็เหมือนกับเวอร์ชัน stoptail ผสมไม้เหมือนกัน บอดี้บางเหมือนกัน ต่างกันที่คันโยก และรุ่นคันโยกนี้ ปีท้ายๆ ได้อัพเกรดอินเลย์จาก moons เป็น birds ่วนเรื่องของเสียงเมื่อเทียบกับ SE Singlecut ผมคิดว่ามันน่าจะมีย่านแหลมมากขึ้น ลดย่านเบสลงไปจากการที่บริดจ์เป็นคันโยกนะครับ แต่ข้อได้เปรียบเมื่อเทียบกับตัวไม่โยกก็คือแอคชั่นต่ำกว่า และเซ็ท intonation ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่บริดจ์แบบ stoptail มาตรฐานของ SE ส่วนใหญ่ ให้ไม่ได้ครับ

จะว่าไปแล้ว สำหรับ SE Singlecut ตัวไม่โยก หากเอาไปเทียบความแตกต่างกับเวอร์ชันอเมริกามันเหมือนต่างกันคนละเรื่อง เอาแค่ความหนาของบอดี้ก็ผิดกันไกลแล้ว แต่สำหรับ SE SC Trem ผมคิดว่ามันดูใกล้เคียงกับ SC Trem USA มากขึ้น เพราะเวอร์ชัน USA บอดี้ก็บางกว่าตัว Singlecut original ปี 2000

 

SE Singlecut Korina (2009 – 2012)

  • Body and top – African korina, 44 mm thick
  • Neck – African korina
  • Neck profile – wide fat
  • Scale length – 25″
  • Fingerboard – rosewood
  • Fingerboard inlay
    • 2009 – 2011 – moons
    • 2012 – synthetic old school birds
  • Fingerboard binding
    • 2009 – 2011 – none
    • 2012 – white binding
  • Headstock veneer – none
  • Headstock text – SE Singlecut
  • Truss rod cover text – PRS
  • Tuners – SE non-locking
  • Bridge – SE stoptail
  • Pickups – PRS-designed, uncovered
  • Electronics – 3 way toggle, 1 vol, 1 tone
  • Hardware – nickel
  • Accessories – gig bag

https://en.audiofanzine.com

SE Singlecut Korina น่าสนใจมาก ตรงที่มันสร้างจากไม้ African Korina และเป็นไม้ korina สายพันธุ์เดียวกันกับที่ใช้ทำ McCarty Korina USA เป๊ะๆ เราจึงได้ไม้เกรด USA ในราคา SE!! และก็ตามธรรมเนียมของ PRS ที่ทำจากไม้ korina คือมันมักจะไม่มีไม้ท็อป เพื่อให้ไม้ชนิดนี้ได้แสดงคาแรคเตอร์ของมันอย่างอิสระเต็มที่ไม่มีไม้อื่นเจือปน

เนื้อไม้ korina โดยธรรมชาติจะออกโทนเหลืองๆ เสี้ยนไม้ค่อนข้างเห็นได้ชัด โทนเสียงของ korina มีความคล้ายมาฮอกกานีเนื่องจากเป็นไม้ในตระกูลเดียวกัน แต่ korina จะมีย่านแหลมมากกว่า ไบรท์กว่า ให้ detail ของเสียงที่อาจจะมากกว่ามาฮอกกานี แต่ความทุ้มหนักแน่นก็ดูจะลดลงไปเล็กน้อย

ส่วนประกอบอื่นๆของกีตาร SE SC รุ่นนี้ก็คล้ายๆกับ SE Singlecut ปิคอัพเดียวกัน, neck profile เดียวกัน, สเกลยาวเท่ากัน, electronics เดียวกัน แต่ผมว่ารุ่นนี้น่าสนใจตรงไม้ korina ทำให้เป็น SE SC ที่ควรค่าน่าเก็บเพราะนานๆ จะมาที แถมรุ่นนี้เป็นไม้ korina เกรดดีแต่ราคาไม่แพงด้วย ดังนั้นถ้าเจอก็น่าจะสอยมาเก็บไว้สักตัว ไม่ชอบเสียงค่อยเปลี่ยนปิคอัพเอาครับ

 

SE 245 (2011 – ปัจจุบัน)

  • Body – SE thick mahogany
  • Top –maple top with maple veneer, natural maple top binding
  • Neck – mahogany
  • Neck profile – wide fat
  • Scale length – 24.5″
  • Fingerboard – rosewood
  • Fingerboard inlay – synthetic old school birds
  • Fingerboard binding – none
  • Headstock veneer – none
  • Headstock text
    • 2011 – 2016 – SE 245
    • 2017 – PRS signature
  • Truss rod cover text
    • 2011 – 2016 – PRS
    • 2017 – 245
  • Tuners – SE non-locking
  • Bridge – SE stoptail
  • Pickups
    • (2011 – 2017) – SE 245, uncovered,  black or zebra bobbins
    • 2018 – 245 ‘S’, uncovered, zebra bobbins
  • Electronics – 3 way toggle on upper bout, 2 vol, 2 tone, original PRS-style control layout
  • Hardware – nickel
  • Accessories – gig bag

2014 PRS SE 245

https://reverb.com/item/806481-paul-reed-smith-prs-se-245-w-upgrades-discontinued-color-free-shipping

2017 PRS SE 245

https://www.nstuffmusic.com/p-85626-prs-se-245-tobacco-sunburst.aspx

SE Singlecut (ซ้าย) เทียบกับ  SE 245 (ขวา)  

https://forums.prsguitars.com/threads/se-245-vs-se-singlecut.8686/

 

2018 PRS SE 245 in whale blue

 

https://www.prsguitars.com/index.php/electrics/se/se_245_2018

 

2007 PRS SC 245 (USA) กีตาร์รุ่นต้นแบบของ SE 245

https://forums.prsguitars.com/threads/used-2007-sc245-10-top-mccarty-burst.13578/

SE 245 เป็นกีตาร์ SE ทรง SC ที่ไม่เหมือนตัวไหนๆที่ผ่านมา มันมีความน่าสนใจหลายอย่าง และมีความใกล้เคียงกับรุ่นพี่ SC 245 USA ของมันอย่างมากนะครับ เริ่มจากบอดี้มาฮอกกานีแบบหนา ซึ่งหนากว่า SE SC รุ่นก่อนหน้าอย่างเห็นได้ชัด ท็อปเมเปิลแปะวีเนียร์ลายเฟลมพร้อมบายดิ้งโชว์สีเนื้อไม้เมเปิลท็อปข้างใต้ veneer คอมาฮอกกานีโปรไฟล์หนา ฟิงเกอร์บอร์ดเโรสวูดมากับอินเลย์นกเต็มตัว (ไม่มี moons) แต่ไฮไลท์สำคัญคือ กีตาร์รุ่นนี้มากับสเกลคอ 24.5 นิ้วใกล้เคียงกับของ Les Paul มากกว่าสเกลปกติของ PRS ที่ยาว 25 นิ้ว เมื่อสเกลสั้นลง สายก็ลดความตึงลงไป เล่นง่ายสบายมือ ดันสายก็ง่าย นอกจากนี้ยัง มากับ หย่องแบบ stop tail ช่วยให้มี sustain ยาว โน๊ตนิ่ง

SE 245 มากับปิคอัพ SE 245 ซึ่งออกแบบเพื่อให้ได้โทนเสียงที่ใกล้เคียงกับปิคอัพรุ่น 245 ต้นฉบับเวอร์ชัน USA ที่แม้จะให้โทนวินเทจ คลีนหวาน มีความนุ่มนวล แต่ก็เป็นความวินเทจสไตล์ hot vintage คือไม่ใช่วินเทจกลมๆ ทู่ๆ แต่มีมีความพุ่ง มีย่านแหลมไว้ใช้เวลาเล่นร็อกเสียงแตกหนักๆ ปิคอัพรุ่นนี้ยังมีการนำไปใช้ใน SE รุ่นขายดีอีกหลายรุ่น เช่น SE Zach Myer และ SE Bernie Marsden เป็นต้น ในปี 2018 มีการ update ปิคอัพใหม่เป็นรุ่น 245 ‘S’  ซึ่งแรงขึ้น ไบรท์ขึ้น โน้ตมีความชัดเจนมากขึ้น ซึ่งผมคิดว่าเป็นการอัพเดทตามตามเทรนด์ของโทนเสียงปิคอัพ PRS เวอร์ชัน USA ในปัจจุบัน ที่่มุ่งชูจุดขายเรื่อง definition ของเสียง โน้ตแต่ละโน้ตที่เล่นออกมามีความชัดเจนไม่นวลจนบวม โดยไม่เกี่ยวว่าจะเป็นปิคอัพโทนโมเดิร์นหรือวินเทจก็ตาม

ส่วนตัวผมจะชอบกีต้าร์ SE รุ่นนี้เป็นพิเศษ เพราะมันมีทุกอย่างที่กีต้าร์แนววินเทจควรจะมี เช่น บอดี้มะฮอกกานีหนาหนา เมเปิ้ล Top สเกลสั้น แถมปิคอัพ เสียงหวานๆ เอามาเล่นเสียงแตกแบบมีย่านกลางอย่าง Marshall คงจะฟินไม่น้อย อ้อ และจะบอกว่ากีตาร์รุ่นนี้เอามาโมก็สวยเอาเรื่องนะครับ แค่จับใส่ฝาปิคอัพก็หล่อหรูดูดีราศีจับแล้ว ที่สำคัญราคาก็ไม่แรงมากนัก ถูกกว่าพวก SE Custom 24

 

SE 245 Soapbar (2013 – 2015)

  • Body – SE thick mahogany
  • Top
    • maple top with flamed maple veneer, natural maple top binding
    • maple top without veneer on solid color
  • Neck – mahogany
  • Neck profile – wide fat
  • Scale length – 24.5″
  • Fingerboard – rosewood
  • Fingerboard inlay – synthetic old school birds
  • Fingerboard binding – none
  • Headstock veneer – none
  • Headstock text – SE 245
  • Truss rod cover text – none
  • Tuners – SE non-locking
  • Bridge – SE stoptail
  • Pickups – SE Soapbar
  • Electronics – 3 way toggle on upper bout, 2 vol, 2 tone, original PRS-style control layout
  • Hardware – nickel
  • Accessories – gig bag

https://reverb.com/item/6551634-prs-se245-soapbar-electric-guitar

https://davesguitar.com

https://reverb.com/item/13482637-prs-se-245-soapbar-w-skb-polyfoam-case

SE 245 Soapbar ก็คือ SE 245 ที่เปลี่ยนปิคอัพ เป็นสไตล์ P-90 หรือ Soapbar นั่นเอง โครงสร้างอื่นๆ เหมือนกันทุกประการ บอดี้มาฮอกเมเปิลท็อป ตัวหนา คอหนา 2 วอลุ่ม 2 โทน ปิคอัพ Soapbar เป็นปิคอัพ single coil สไตล์เก่าแก่ ให้โทนเสียงประมาณระหว่าง single coil ปกติกับ humbucker ที่มีความหวาน มีความสะอาด แต่ก็ไม่อ้วนป่อง และ output ต่ำกว่า humbucker  เล่นกับเสียงแตกอ่อนๆ จะเพราะมาก แต่ถ้าเอาไปอัด gain แรงๆก็คงจะแปลกๆนิดนึงนะครับ

 

SE Standard

SE standard เป็นกีตาร์กลุ่มราคาประหยัดที่สุดของ prs และผลิตในโรงงานที่อินโดนีเซีย

SE Standard 245 (2015 – ปัจจุบัน)

  • Body – all thick mahogany with binding on top edge
  • Neck – mahogany
  • Neck profile – wide fat
  • Scale length – 24.5″
  • Fingerboard – rosewood
  • Fingerboard inlay – synthetic old school birds
  • Fingerboard binding – white plastic
  • Headstock veneer – none
  • Headstock text
    • 2017 – SE 245
    • 2018 – PRS signature and ‘SE’
  • Truss rod cover text
    • 2017 – none
    • 2018 – 245
  • Tuners – SE non-locking
  • Bridge – SE stoptail
  • Pickups
    • 2015-2017 – SE 245
    • 2018 – 245 “S”
  • Electronics – 3 way toggle on upper bout, 2 vol, 2 tone, original PRS-style control layout
  • Hardware – nickel
  • Accessories – gig bag

SE Standard 245 ปี 2018 มีลายเซ็นบน headstock

http://www.prsguitars.com/index.php/electrics/se/se_245_standard_2018

สี platinum ของปี 2015

 

http://www.guitargohot.com/paul-reed-smith-se-standard-245-platinum-p-43.html

http://www.guitargohot.com/paul-reed-smith-se-standard-245-vintage-cherry-p-47.html

 

 

 

SE Standard 245 โดยพื้นฐานมันก็คือ SE 245 ที่ไม่มี Top Maple นั่นเอง ก็จะได้ บอดี้มาฮอกกานีทั้งตัว ไม่มีไม้ท็อป แต่มีการเดินขอบบายดิ้งมาให้บนขอบบอดี้ด้านหน้า โดยสีของเส้นบายดิ้งมีทั้งสีครีมและสีดำ ขึ้นอยู่กับสีของบอดี้ว่าเป็นสีอะไร คอมาฮอกกานีโปรไฟล์หนา wide fat ฟิงเกอร์บอร์ดโรสวูด  สเกล 24.5 นิ้ว  inlay นกเต็มตัว มีเส้นบายดิ้งสีขาวตรงขอบฟิงเกอร์บอร์ด

ปิคอัพของรุ่นนี้ ตอนเปิดตัวเมื่อปี 2015 ใช้ปิคอัพรุ่น SE 245  แต่ในปี 2018  มีการอัพเกรด ปิคอัพ เป็นรุ่น 245 “S” ที่มีความ Modern มากขึ้น พุ่งกว่าเดิม รวมถึงมีการเปลี่ยนโลโก้ที่ headstock ให้เป็นลายเซ็นคล้ายของรุ่น USA อีกด้วย

โทนเสียงที่มาจากบอดี้มาฮอกล้วนๆ ไม่ผสมไม้เมเปิลเลย คิดว่าหลายๆคนอาจพอนึกออก คือย่านเบส+ย่านกลางมาเยอะ แต่แหลมลดลงไป ได้เสียงโทนอุ่นกลม จะเอาไปเล่นหวานก็เคลิ้ม จะเอาไปอัด gain หนัก ยิ่งมันส์ ได้บริดจ์แบบ Stoptail มาเล่น palm mute กระแทกๆ ตึ้บๆ ท่าจะมันส์ดี

ผมมองว่า การที่กีตาร์ทรงนี้จะไม่มีท็อปเมเปิล ไม่ใช่ว่าไม่ดีนะครับ แต่มันสร้างความแตกต่างด้านคาแรคเตอร์เสียงมากกว่า หลายๆคนก็ชอบนะครับโทนเสียงมาฮอกเพียวๆ เรื่องรสนิยมไม่มีถูกผิดครับ แต่ประเด็นสำคัญที่เหมือนเป็นโบนัสของรุ่นนี้ คือ มันเป็นกีตาร์ที่ราคาถูกสุดรุ่นนึงในบรรดา SE ทั้งหมด (ราคามือหนึ่งแถวๆหมื่นหก) เนื่องจากไม่มีไม้ท็อปเมเปิล เลยลดต้นทุนการผลิตลงไปเยอะครับ

 

ส่งท้าย

สำหรับกีตาร์ PRS รุ่น Singlecut/SC คิดว่าก็น่าจะมีประมาณนี้ ผมไม่ได้เอากีตาร์รุ่นลายเซ็นทรงนี้มารวม เพราะรุ่นลายเซ็นแต่ละรุ่นมีรายละเอียดที่ต่างจาก SC ค่อนข้างมาก มิหนำซ้ำกีตาร์ลายเซ็นบางรุ่นก็อยู่มานาน ผ่านความเปลี่ยนแปลงมากมายหลายครั้งจนสามารถเขียนแยกบทความต่างหาก ซึ่งผมจะนำเสนอในตอนต่อๆไปนะครับ

ผมหวังว่าเพื่อนๆน่าจะพอได้ข้อมูลอะไรบ้างไม่มากก็น้อยนะครับ และอยากย้ำสิ่งที่ผมเคยบอกไว้ตั้งแต่ตอนที่ 1 ว่า PRS ทรงนี้แม้จะดูคล้าย Les Paul แต่ไม่มีตัวไหนเลยที่เสียงเหมือน Les Paul ถ้าเพื่อนๆซื้อมาด้วยหวังว่ามันจะดุๆ เบสแน่นๆ กัดๆ (bite) อย่าง Les Paul เป๊ะๆ สิ่งที่เพื่อนๆจะได้รับ คือความผิดหวังครับ กีตาร์สองยี่ห้อนี้ แม้ทรงคล้ายกัน แต่มันก็ต่างกันในหลายๆจุด อยากให้ถามตัวเองดีๆว่ากำลังมองหาอะไร ถ้ามองหาเสียง Les Paul  ก็เล่น Les Paul จริงๆไปเลย จบกว่าครับ หาของก็โคตรง่ายมีให้ลองแทบทุกร้าน แต่ไม่ใช่ว่า PRS SC ไม่ดีนะครับ มันแค่ “แตกต่าง” ผมเองแม้จะรักแบรนด์ PRS แต่ก็รู้แก่ใจว่าต้องมี Les Paul Standard ไว้ด้วยเหมือนกัน เพราะชอบเสียง และรู้ว่า PRS SC ให้เสียงแบบนั้นไม่ได้ ลองอ่านบทความตอนที่ 1 PRS Singlecut   -VS-  Gibson Les Paul ผมแจกแจงความแตกต่างแบบละเอียดยิบเอาไว้ แล้วจะเข้าใจอะไรมากขึ้นครับ

มีลูกค้ากลุ่มหนึ่งที่ชอบเสียงโทน Gibson แต่รักในความสวยและคุณภาพงานของ PRS อันนี้ไม่รู้จะช่วยยังไงจริงๆครับ คงต้องใช้เครื่องทุ่นแรงช่วย เช่น เอฟเฟคท์ดีๆ แอมป์แรงๆ หรือไม่อาจต้องโมดิฟายลงปิคอัพใหม่กันเลย ซึ่งก็คาดเดาไม่ได้ว่าผลออกมาจะเป็นอย่างไร เพราะตัวแปรต้นมันผิดตั้งแต่ตัวกีตาร์แล้ว และถึงจะปรับแต่ง+หาตัวช่วยจนเสียงแรง มันก็อาจจะไม่ได้แรงในโทน Gibson อยู่ดี

แต่สรุปสุดท้ายเอาเป็นว่า เงินของเรา กีตาร์ของเรา เราเลือกเอง มีความสุขทางไหนก็ทำไปครับ ไม่ผิด ผมก็แค่ให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจเท่านั้นครับ วันนึงถ้าผมมีทุนมากพอผมก็อาจนึกสนุกสั่ง PRS SC มาลงปิคอัพแรงๆดูบ้างเหมือนกันครับ น่าลองนะ อาจจะสุดยอดทั้งความแรงและความสวยไปเลยก็ได้ ใครจะรู้

ข้อสำคัญอีกอย่าง ผมอยากให้เพื่อนๆ ทำการบ้านให้ดีก่อนซื้อ เพราะกีตาร์ PRS SC แต่ละรุ่นย่อย แต่ละปี อาจมีการเปลี่ยนสเปคปิคอัพ, สเกล, electronics, งานประดับ, ต่อให้ชื่อรุ่นเหมือนกันเด๊ะก็อาจต่างสเปคหลายจุด และกีตาร์ทรงนี้ของ PRS มันมากับปิคอัพหลายรุ่นเหลือเกิน เช่น #7, #6, 57/08, 245, 250, RP, 58/15LT ยังไม่รวมพวกสั่งพิเศษอีกที่ไม่รู้ผสมปิคอัพอะไรมา ก็ลองเช็กดูดีๆก่อนตัดสินใจนะครับ

ขอบคุณเพื่อนๆที่แวะเวียนเข้ามาอ่านนะครับ