PRS Singlecut / SC โครงสร้างสไตล์ LP งานดีสไตล์ PRS – ตอนที่ 3 มีรุ่นอะไรบ้าง (1)

กลับมาว่ากันต่อในตอนที่ 3 สำหรับกีตาร์ PRS Singlecut/SC หากใครเพิ่งมาอ่านตอนนี้ แล้วยังเข้าใจว่า PRS Singlecut เหมือนกับ Gibson Les Paul อยากให้อ่านบทความตอนที่ 1 ก่อนนะครับ ผมจำแนกแยกแยะความแตกต่างหลายจุดระหว่างกีตาร์สองรุ่นสองยี่ห้อนี้ไว้ให้เห็นกันชัดๆ มันแตกต่างกันถึงรายละเอียดทางโครงสร้าง และแม้ PRS จะเปลี่ยนดีไซน์บางอย่างจนดูใกล้ Gibson มากขึ้นในปัจจุบัน แต่องค์ประกอบหลักของ SC ยุคนี้ก็ยังเหมือนปี 2000 ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งต่างกันจนผมคิดว่าไม่มีใครแทนใครได้ 

ตอนที่ 2 ผมประมวลเหตุการณ์คดีความระหว่าง PRS และ Gibson อันมีกีตาร์เจ้าปัญหา PRS Singlecut เป็นชนวนเหตุ ใครยังไม่ได้อ่าน คลิกที่นี่ครับ

สำหรับตอนที่ 3 นี้ เราก็มาว่ากันต่อเรื่องกีตาร์ PRS Singlecut และ SC รุ่นต่างๆ ตั้งแต่รุ่นแรกปี 2000 ไปถึงประมาณช่วงปี 2008 – 2009 ส่นที่เหลือผมจะเล่าในตอนต่อๆไป เหตุผลที่ผมแบ่ง generation เช่นนั้น เพราะผมมองว่าจุดเปลี่ยนสำคัญของแบรนด์ PRS คือช่วงปี 2008 – 2009 มีกีตาร์ PRS หลายรุ่นเลิกผลิต หลายซีรีส์มีการยกเครื่องใหม่ เริ่มมีการใช้วัสดุใหม่ที่ไม่เคยใช้มาก่อน ซึ่ง Singlecut ก็มีการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน

Singlecut (2000-2007)

  • Body – mahogany
  • Top – figured maple
  • Neck – mahogany
  • Neck profile – wide fat
  • Scale length – 25″
  • Fingerboard – rosewood
  • Fingerboard inlay – abalone dots (ไม่ใช่ moons) หรือ green ripple old school abalone birds
  • Headstock overlay – none
  • Truss rod cover text – none
  • Tuners – vintage style, non-locking
  • Bridge – PRS stoptail
  • Pickups – #7 (treble: alnico 8.44k, bass: alnico 7.36k)
  • Electronics – 3 way on upper bout, 2 vol, 2 tone, PRS style control layout
  • Hardware – chrome
  • Finish – polyurethane base coat, acrylic urethane topcoat
  • Options – 10 top, Artist Package: Artist grade top, paua birds inlay and signature, gold hardware, Brazilian RW fingerboard and headstock veneer
https://shop.guitarpoint.de/en/diverse/2000-paul-reed-smith-singlecut-amber-burst

ตัวสีฟ้านี้เป็น Artist Package ครับ วัสดุอินเลย์ก็อัพเกรดไปอีก จาก abalone ไป paua เปลือกหอยหายากสีออกเขียวๆรุ้งๆ ลายเซ็นบน headstock ก็ด้วย อ้อ ฟิงเกอร์บอร์ดเป็น Brazilian นะครับสำหรับ AP

ออพชัน paua birds inlay งามๆ

Arrtist Package มาพร้อม Brazilian fingerboard and headstock overlay ครับ

https://reverb.com/item/7927870-2007-prs-singlecut-artist-top-one-piece-quilted-maple-brazilian-rosewood-fretboard-mateo-blue

PRS Singlecut กีตาร์ PRS ทรงเลสพอลที่มากับอินเลย์นก บอดี้หนากว่า Custom แต่ก็บางกว่า Les Paul ทั้งในส่วนของ back และ maple top ลุงพอลให้เหตุผลว่าความหนาของกีตาร์เลสพอลนั้น ทำให้กีตาร์หนักเกินความจำเป็น กระดูกสันหลังของผู้เล่นไม่ควรต้องแบกรับน้ำหนักขนาดนั้น อีกทั้งไม้มาฮอกกานีที่ PRS นำมาใช้ก็มีน้ำหนักค่อนข้างเบาอยู่แล้ว ส่วนคอก็ใช้ไม้มาฮอกกานีตามสูตรต้นตำรับ โปรไฟล์คอหนา (wide fat) มี 22 เฟรทเพื่อความหวานและโทนเสียง bass pickup โทนวินเทจมากกว่าดีไซน์ 24 เฟรท

ในส่วนของปิคอัพ #7 (นัมเบอร์ เซเว่น) ลุงพอลบอกว่ามันถูกออกแบบมาให้มีคาแรคเตอร์เสียงที่อยู่ระหว่างปิคอัพรุ่น Dragon II กับ McCarty จากที่ผมเคยใช้มา  ปิคอัพตัว neck ให้เสียงที่สะอาด มีย่านกลางค่อนข้างมาก ไม่คอยกัด ในขณะที่ตัว treble กลับมีคาแรคเตอร์ที่ต่างกันอย่างมาก คือมีความแรง ค่อนข้างแผดแต่ไม่บาดหู เมื่อใช้กับ cabinet ดอก V30 closed back จะให้เสียงเบสที่แน่นมาก เหมาะกับการเล่นแนวร็อกเป็นอย่างยิ่ง รีวิวละเอียดๆ อ่านได้ในบทความตอนที่ 1 ครับ

Singlecut Brazilian ltd. (2001)

  • Body – mahogany
  • Top – 10 top grade maple
  • Neck – Brazilian rosewood
  • Neckprofile – wide fat
  • Scale length – 25″
  • Fingerboard – Brazilian rosewood
  • Fingerboard inlay – old school abalone birds
  • Headstock veneer – Brazilian rosewood with green ripple abalone signature
  • Truss rod cover text – none
  • Tuners – vintage style, non-locking
  • Bridge – PRS stoptail
  • Pickups – #7
  • Electronics – 3 way on upper bout, 2 vol, 2 tone, PRS style control layout
  • Hardware – hybrid
  • Finish – polyurethane base coat, acrylic urethane top coat
  • 250 made
https://www.soundpure.com/p/prs-sc24s-pre-lawsuit-electric-guitar-used/11657

Singlecut รุ่นพิเศษผลิตจำนวนจำกัดที่ไม่บอกก็รู้ว่าน่าเก็บสะสม เพราะคอเป็นไม้ Brazilian rosewood เกรดดีสีดำสนิททั้งแท่งรวมถึง headstock veneer ซึ่งในยุคนั้นไม้ชนิดนี้ยังมีจำนวนมากพอสมควรและยังไม่ถูก CITES ควบคุม กีตาร์รุ่นนี้เท่าที่ผมเห็นมาหลายตัวก็ไม่ต่อหัวหลายชิ้นเหมือนของ Dragon 2002 ซึ่งตรงนี้ผมมองว่า Singlecut Brazilian ยังเหนือกว่าในแง่ของไม้คอบราซิเลียนที่ยาวจาก heel จรดปลาย headstock

ส่วนองค์ประกอบอื่นๆของกีตาร์รุ่นนี้ก็แทบจะเหมือน Singlecut เวอร์ชันปกติ ต่างกันที่ Singlecut Brazilian มากับท็อปเกรด 10 เป็นมาตรฐานพร้อมอะไหล่ผสมเงิน-ทอง นอกจากนี้กีตาร์ในซีรีส์นี้ทุกตัวจะมากับแผ่น back plate ที่เขียนหมายเลขลำดับการผลิต 1 – 250 กำกับไว้

Singlecut Tremolo (2003 – 2007)

  • Body – mahogany, 49 mm thickness
  • Top – figured maple
  • Neck – mahogany
  • Neck profile – wide fat
  • Scale length – 25″
  • Fingerboard – rosewood
  • Fingerboard inlay – abalone dots (ไม่ใช่ moons) or old school abalone birds
  • Headstock veneer – none
  • Truss rod cover text – none
  • Tuners – PRS Phase II locking
  • Bridge – PRS tremolo
  • Pickups – #6 (treble 11.65k, bass 7.87k)
  • Electronics – 3 way toggle, vol, push-pull tone for coil tap
  • Hardware – chrome
  • Finish – polyurethane base coat, acrylic urethane topcoat
  • Options – 10 top, Artist Package: Artist grade top, gold hardware, Brazilian RW fingerboard and headstock veneer

davesguitars.com

สังเกตความหนาของบอดี้นะครับ

https://reverb.com/uk/item/568935-prs-singlecut-trem-pre-lawsuit-10-top-birds-tremolo-sc-paul-reed-smith-single-cut

Singlecut Trem ดูเผินๆก็คล้าย Singlecut ที่เอามาติดคันโยก แต่ในความจริง SCT (ขอเรียกย่อๆ) มีอะไรต่างจาก Singlecut original รุ่นพี่ของมันหลายอย่างครับ

  • บอดี้ของรุ่นมีคันโยกนี้มีความหนาประมาณ 49 มม. บางกว่า Singlecut original รุ่นพี่ของมันประมาณ 1 เซนติเมตรเต็มๆ
  • SCT ใช้ปิคอัพรุ่น #6 (นัมเบอร์ ซิกซ์) ที่ให้สุ้มเสียงที่ต่างจาก #7 ของรุ่นพี่
  • controls ก็ vol + tone + 3 way toggle คล้ายๆกับ McCarty สำหรับ SCT ไม่มี treble bleed นะครับ
  • Tuners ของ SCT ใช้แบบล็อกสาย
  • และแน่นอน รุ่นนี้มีคันโยก แต่รุ่นพี่ ไม่มี

นอกจากตัวบางกว่ารุ่นพี่แล้ว สุ้มเสียงของ CST ก็แตกต่าง คือมีย่านเบสน้อยกว่า (เนื่องมาจากโครงสร้างที่ต่างกันด้วย) แต่มีย่านแหลมมากกว่า ลุงพอลบอกว่าตั้งใจออกแบบคาแรคเตอร์ #6 ให้อยู่ระหว่าง #7 กับ Dragon II คือกึ่งหวาน กึ่งแรง นอกจากนี้ยังใช้ชุดควบคุมจากรุ่น McCarty ทำให้สามารถตัดคอยล์ได้ด้วย ซึ่ง Singlecut ไม่มี แต่มีสิ่งหนึ่งที่ผมอยากให้ระวังนิดนึงสำหรับใครที่เล็งๆว่าจะเอารุ่นนี้ไปปั่น เพราะโปรไฟล์คอยังเป็น wide fat กลมกลึงหนาเตอะไม่ต่างจากของรุ่นพี่ อันนี้ถ้าใครเล่นถนัดก็แล้วไปครับ

สรุปว่า SCT ก็ต่างจากรุ่นพี่ของมันเยอะอยู่ ดังนั้นถ้าใครคิดว่าสอยตัวนี้ตัวเดียวจบ คิดใหม่นะครับ เพราะที่ถูกมันต้องมีทั้งสองรุ่นต่างหาก ฮ่าๆๆ

ลุงพอลเคยพูดว่า ถ้าเมื่อปี 2000 PRS เปิดตัวกีตาร์ทรงชายเว้าเดี่ยวด้วยรุ่น SCT นี้ บางที อาจจะไม่ต้องมีประเด็นขึ้นโรงขึ้นศาลกับ Gibson ก็เป็นได้

20th Anniversary Singlecut

และ 20th Anniversary Singlecut Tremolo (2005 – 2007)

สเปคพื้นฐานทั้ง Singlecut และ SCT ก็เหมือนเวอร์ชันปกติ แต่เพิ่ม:

  • อินเลย์นกบินโค้ง 20th Anniversary birds in flight ตัวนกใช้วัสดุ green ripple abalone ส่วนเส้นโค้งเล็กๆ เลี่ยมด้วยวัสดุ brown lip mother of pearl
  • Truss rod cover อลูมิเนียมชุบสีดำ (anodized) มีคำว่า 20th
  • Artist Package upgrade:  Brazilian rosewood fingerboard and headstock overlay, abalone signature, gold hardware
https://forums.prsguitars.com/threads/ngd-20th-anniversary-singlecut.21755/

loviesguitars.com

https://sumally.com/p/1518246
https://www.ishibashi.co.jp/sale-event/12573

SC 20th ตัวนี้เคยเป็นของผม แต่ขายไปแล้วนะครับ อิอิ

หลังจากคดีความเรื่อง PRS Singlecut สิ้นสุดลงเมื่อเดือนกันยายนปี 2005 PRS ก็กลับมาเดินหน้าผลิตกีตาร์ทรงนี้ต่อ และได้เพิ่มรุ่นใหม่ในไลน์ Singlecut ซึ่งก็รวมถึงการทำเวอร์ชันฉลองครบรอบ 20 ปีการก่อตั้งบริษัทเหมือนกับไลน์ Custom ที่ผลิตไปก่อน ซึ่งสเปคเด่นเป็นเอกลักษณ์ก็คืออินเลย์ 20th Anniversary birds in flight นกบินเป็นแนวโค้งสุดสวยฝีมือ Marc Quigley และ Joe Knaggs  อินเลย์ดีไซน์นี้เลี่ยมด้วย green riple abalone มีเส้นโค้งเลี่ยมด้วยเปลือกหอยมุกหรือ mother of pearl นอกจากนี้ถ้าอัพเกรดสเปคเป็น Artist Package ก็จะได้ฟิงเกอร์บอร์ดและ headstock overlay เป็นไม้ Brazilian rosewood ซึ่งเป็นช่วงปีท้ายๆแล้วที่ PRS ยังมีไม้ชนิดนี้ให้เลือกอัพเกรดในสายการผลิตปกติ ก่อนที่ CITES จะออกมาตรการคุมเข้มการนำเข้า-ส่งออกไม้ชนิดนี้ในเวลาต่อมา

รายละเอียดอินเลย์ birds in flight ของรุ่น 20th เทียบกับ 30th เพื่อนๆสามารถคลิกอ่านได้ที่นี่ครับ

แน่นอนว่า สาวก PRS ต่างก็หาเก็บกีตาร์รุ่น 20 ปีที่ว่านี้ ไม่ว่าจะทรง Singlecut หรือ Custom เพราะกีตาร์รุ่นนี้จะว่าไปแล้วก็ถือว่าครบเครื่องที่สุด คือนอกจากงานอินเลย์สวยงามเป็นเอกลักษณ์แถมไม่กั๊กสเปควัสดุแล้ว ในมุมมองของผม คำว่า 20 ปีสำหรับแบรนด์ PRS ยังสะท้อนกีตาร์รุ่นที่ผลิตในยุคที่ลายไม้ยังหาสวยๆได้ไม่ยาก มีออพชันไม้ Brazilian rosewood ที่นับวันยิ่งมีมูลค่าเพราะหายากยิ่ง ปิคอัพเซ็ทสร้างชื่อ ระบบ electronics สุดคลาสสิค ซึ่งทั้งหมดที่ผมว่ามานี้ กีตาร์รุ่นปัจจุบันแทบไม่มีให้แล้ว หรือถ้าอยากได้ก็ต้องสั่งพิเศษ ดังนั้นคำแนะนำของผมคือ ถ้าเพื่อนๆ สาวก PRS ถ้าเจอกีตาร์ PRS 20th Anniversary โดยเฉพาะตัวที่เป็น Artist Package จงอย่าปล่อยให้หลุดมือไปครับ เพราะเป็นไปไม่ได้แล้วที่จะมีสเปคแบบนี้อีกในรุ่นมาตรฐานปัจจุบัน แม้แต่รุ่นลิมิเต็ดเดี๋ยวนี้ก็ยังต้องเช็กสเปคดีๆครับ

Singlecut Satin

และ Singlecut Tremolo Satin (2006 – 2007)

ทั้งสองรุ่นเคลือบด้าน nitrocellulose satin finish ในส่วนของ Singlecut Satin ใช้สเปคคล้ายกับ Singlecut original แต่บอดี้มีการเจาะไม้ลดน้ำหนัก (weight-relieved) ส่วน SCT Satin สเปคก็คล้าย SCT เวอร์ชันมาตรฐาน และมีออพชัน Artist Package

Singlecut Satin

https://www.gbase.com

SCT Satin

สังเกตว่าถ้าตรงไหนมีการสัมผัส เสียดสีบ่อยๆ เช่นตรงคอ บริเวณนั้นก็จะเป็นมันเงาครับ

https://reverb.com/nz/item/1507199-prs-singlecut-trem-2007-sc-single-cut-birds-nice

ถึงจะเคลือบด้าน แต่ถ้ากีตาร์สวย ไม้สวยซะอย่าง การเคลือบด้านก็ไม่ได้ดูขี้เหร่นะครับ

https://www.youtube.com/watch?v=_ZziXWo2Pss

สเปคพื้นฐานและออพชันคล้ายกับ Singlecut และ Singlecut Tremolo เวอร์ชันปกติ แต่เปลี่ยนการเคลือบจากเคลือบเงาเป็นเคลือบไนโตรด้านๆ บางๆ ได้อารมณ์กีตาร์วินเทจ ดูดีมีเสน่ห์ไปอีกแบบ

แต่มีสิ่งหนึ่งที่ควรรู้ไว้ คือ กีตาร์ Singlecut Satin และ SC ที่บอดี้หนาเต็ม 58 mm. ที่ผลิตตั้งแต่ต้นปี 2007 – 2009 จะมีการเจาะภายในบอดี้บางส่วนเพื่อลดน้ำหนัก (weight-relief) และช่วยให้กีตาร์มีความกังวานตามธรรมชาติคล้ายกีตาร์ semi hollow และทำให้เสียงมีความหวานขึ้นอีกเล็กน้อย โดยวิธีการคือใช้เครื่อง CNC เจาะบอดี้มาฮอกกานีบริเวณที่ว่างช่วงด้านท้ายบอดี้เป็นช่องที่มีความกว้างประมาณ 3/4 นิ้วจำนวน 8 ช่อง สั้นบ้างยาวบ้าง ก่อนจะปิดทับด้วยท็อปเมเปิลตามปกติ Singlecut ที่เจาะลดน้ำหนักบางตัวอาจเบาลงไปเหลือเพียง 3.5 -3.6 kg (พอๆกับ Custom 24) ก็มีครับ

ลองดูรูปนี้เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นนะครับ ในรูปนี้เป็นภาพ X-ray PRS SC 245 ปี 2007 กีตาร์คนละรุ่นแต่เป็นปีเดียวกัน บอดี้หนาเท่ากัน และมีการเจาะเหมือนกัน บอดี้ส่วนที่ถูกเครื่อง CNC เจาะคว้านเนื้อไม้ออกไปคือแถบสีดำๆ ครับ

http://forum.gibson.com/index.php?/topic/138435-3-strikes-your-out-prs-blows-you-away-gibson/page__st__120

กีตาร์ Singlecut เคลือบซาตินออกมาในช่วงเวลาสั้นๆ ไม่ถึงสองปีสุดท้ายก่อนที่กีตาร์ไลน์ Singlecut จะถูกแทนที่ด้วยรุ่นใหม่ไลน์ SC รุ่นซาตินนี้จะว่าไปก็น่าสนใจนะครับ เพราะได้เคลือบด้านบางๆ อารมณ์วินเทจ อีกอย่างผมมีความรู้สึกว่า พวกเคลือบด้านเนี่ย มันช่วยให้ลายเฟลมดูเด่นขึ้นด้วยครับ

ตัวแรง ตัวท็อป คลิกอ่านต่อหน้า 2 ครับ