PRS Singlecut / SC โครงสร้างสไตล์ LP งานดีสไตล์ PRS – ตอนที่ 3 มีรุ่นอะไรบ้าง (1)

Singlecut Standard Satin

และ Singlecut Standard Soapbar Satin (2006 – 2007)

  • Body and top – mahogany, 52 mm. thickness
  • Neck – mahogany
  • Neck profile – wide fat
  • Scale length – 25″
  • Fingerboard – rosewood
  • Fingerboard inlay – old school abalone birds
  • Headstock veneer – none
  • Truss rod cover text – none
  • Tuners – PRS Phase II locking
  • Bridge – PRS Stoptail or tremolo
  • Pickups options
    • #6
    • P-90 Soapbar
  • Electronics – 3 way toggle, vol, tone
    • #6 : push-pull tone for coil tap
    • P-90 : ไม่มีตัดคอยล์
  • Hardware – chrome or gold
  • Finish – nitrocellulose satin

Singlecut Standard Satin

เห็นหน้าตาดูดิบๆแบบนี้ แต่ดีเทลของงานก็ยังคงมาตรฐาน PRS USA เหมือนเดิมนะครับ ไม่ใช่ว่าเคลือบด้านแล้วงานมักง่าย

https://www.sheltonsguitars.com/2009/9-12-09/prs-singlecut-satin-9-12-09.html

SC Standard Soapbar Satin

http://buyee.jp/item/yahoo/auction/j473729131

สำหรับรุ่นนี้แตกต่างจาก Singlecut Satin กับ SCT Satin ตรงที่รุ่น Standard บอดี้ทำจากไม้มาฮอกกานีทั้งดุ้น ไม่มีท็อปเมเปิล โดยบอดี้มีความหนาประมาณ McCarty คุณ Dave Burrluck แห่งเว็บ musicradar.com เล่าว่า กีตาร์รุ่นนี้ในขั้นตอนแรกของการผลิต ก็เริ่มด้วยไม้ที่มีความหนาเท่ากับ SCT แต่เมื่อผ่านกระบวนการผลิตและปิดท้ายด้วยการเคลือบด้านที่บางมากทำให้กีตาร์รุ่นนี้บางกว่า SCT ประมาณ 1 มม. กลายเป็น 52 มม. แต่ต้องบอกไว้ก่อนว่ากรรมวิธีเคลือบด้านของรุ่น Standard แตกต่างจากการเคลือบด้านของรุ่นระดับบนๆอย่าง Modern Eagle, Singlecut Satin นะครับ ของ Standard ขั้นตอนน้อยกว่า เคลือบบางกว่า ใช้แรงงานและระยะเวลาน้อยกว่า เพื่อราคาที่ไม่แรงมาก

กีตาร์รุ่นนี้มีสีให้เลือกเพียง 4 สี มีออพชันปิคอัพให้เลือกระหว่างรุ่น #6 กับ P-90 Soapbar ของ Seymour Duncan ควบคุมด้วยภาคไฟฟ้าแบบเดียวกับ SCT แต่หากเลือกออพชันปิคอัพเป็น P-90 ปุ่ม tone ก็จะดึงตัดคอยล์ไม่ได้ (ก็ P-90 มันเป็น single coil นี่ครับ) P-90 ก็จะให้โทนหวานๆ ใสๆ กึ่ง sing กึ่ง hum เป็นออพชันปิคอัพที่ PRS มีให้เลือกในกีตาร์บางรุ่นมานานแสนนานจนมาถึงปี 2017 McCarty 594 ตัวแพงก็ยังอุตส่าห์ทำเวอร์ชันลิมิเต็ด P-90 ด้วย แปลว่าปิคอัพนี้มันมีอะไรดีที่เพื่อนๆ ไม่ควรมองข้ามครับ

บริดจ์เลือกได้ว่าจะเอาคันโยกหรือ stoptail สำหรับ Singlecut Standard Satin ติดลูกบิดล็อกสายเป็นมาตรฐาน ไม่ว่าจะคันโยกหรือ stoptail ก็ตาม งานประดับให้อินเลย์อบาโลน old school birds มาเป็นมาตรฐานอีกด้วยครับ

ดูจากโครงสร้างมันก็คล้ายๆกับ SCT Satin นั่นแหละครับ เพียงแต่ไม่มีทอปเมเปิลและเลือกออพชันปิคอัพและบริดจ์ได้ และเรื่องความฟรุ้งฟริ้งคงไม่มี เนื่องจากรุ่นนี้เป็นรุ่นที่ขายความดิบของไม้มาฮอกกานี เรียบง่ายไม่สำอาง ราคามือสองไม่แรง เหมาะใช้เป็นกระบี่คู่กายจอมยุทธ์ตะลุยยุทธจักรดนตรีมากกว่ามีไว้ตั้งโชว์

Singlecut Tremolo Modern Eagle (2006 – 2007)

และ NOS Singlecut Tremolo Modern Eagle (2012)

  • Body – mahogany
  • Top – flamed maple
  • Neck – Brazilian rosewood
  • Neck profile – wide fat
  • Scale length – 25″
  • Fingerboard – Brazilian rosewood
  • Fingerboard inlay –  green ripple abalone birds
  • Headstock veneer – Brazilian rosewood
  • Headstock inlay – green ripple abalone Modern Eagle
  • Truss rod cover text – none
  • Tuners – PRS Phase II locking
  • Bridge – PRS tremolo
  • Pickups
    • (2006 – 2007) Ralph Perucci (RP)
    • (NOS) 57/08 with brushed covers
  • Electronics – 3 way toggle, vol, push-pull tone for coil tap
  • Hardware – hybrid
  • Finish – nitrocellulose satin

davesguitar.com

สำหรับ Singlecut ตัวนี้คงต่างจากตัวก่อนหน้าแบบคนละโลก เพราะมันคือ PRS Modern Eagle กีตาร์ตัวท็อปสุดสายป่านของสายการผลิตปกติที่มาในร่าง Singlecut Tremolo พร้อมคอบราซิเลี่ยนทั้งแท่ง ท็อปเฟลมจัดๆ ติดปิคอัพ RP ออกแบบมาเฉพาะสำหรับ ME SCT และเคลือบไนโตรกึ่งด้าน แต่การเคลือบด้านของ SC ME นั้น แตกต่างจากเคลือบไนโตรด้านของ Standard Satin นะครับ ของ ME มีขั้นตอนการผลิตมากกว่า งานละเอียดกว่า ใช้เวลาและแรงงานมากกว่า และแน่นอนว่ากีตาร์รุ่นนี้เป็นที่ชื่นชอบของเหล่าสาวกกระเป๋าหนัก ด้วยความที่มัน “ครบ” โลโก้โชว์บารมี ไม้ดีลายสวย คอบราซิเลียนหายาก งานเคลือบดี แถมมีคันโยก ฮ่าๆๆ

ME SCT ยังมีล็อตที่เป็น New Old Stock (NOS) ซึ่งออกมาในปี 2012 ด้วยนะครับ พวกมันเป็นกีตาร์ 40 ตัวของปี 2007 ที่ยังผลิตไม่เสร็จ แต่ติดปัญหาเรื่องเอกสารการครอบครองไม้บราซิเลียนโรสวูดเนื่องจาก CITES ออกข้อบังคับใหม่ในปีนั้น ทำให้ PRS ต้องระงับการผลิตกีตาร์ทุกตัวที่มีส่วนประกอบจากไม้ดังกล่าวซึ่งรวมถึงกีตาร์รุ่นนี้ด้วย จนเมื่อ PRS เคลียร์ปัญหาดังกล่าวได้สำเร็จจึงสามารถกลับมาผลิตต่อและส่งขายได้ในปี 2012 โดยมีการเปลี่ยนสเปคบางอย่างตามยุคสมัย เช่น ติดปิคอัพ 57/08 แทนที่ RP ที่เลิกผลิตไป

SC 245 (2007 – 2009)

  • Body – mahogany with weight relief
  • Top – figured maple
  • Neck – mahogany
  • Neck profile – wide fat or wide thin
  • Scale length – 24.5″
  • Fingerboard – rosewood
  • Fingerboard inlay
    • (2007) abalone dots หรือ old school abalone birds
    • (2008 – 2009) abalone dots หรือ paua hollow birds
  • Headstock veneer – none
  • Truss rod cover text – SC 245
  • Tuners – vintage style, non-locking
  • Bridge – PRS stoptail
  • Pickups – 245 (treble: alnico 9.56k, bass: alnico 8.96k)
  • Electronics – 3 way on upper bout, 2 vol, 2 tone, PRS style control layout
  • Hardware – chrome
  • Finish – polyurethane base coat, acrylic urethane topcoat
  • Options – 10 top, Artist Package: Artist grade top, paua birds inlay and signature, gold hardware, Brazilian RW fingerboard and headstock veneer

เห็นลายไม้ 10 top ของยุค 2007 แล้ว เพื่อนๆคงเข้าใจได้ไม่ยากนะครับ ว่าทำไมสาวกตัวจริงจึงมักตามหา PRS ปีเก่าๆ

http://forums.prsguitars.com/threads/used-2007-sc245-10-top-mccarty-burst.13578/

12fret.com

ตัวนี้ปี 2009 สังเกตอินเลย์นะครับ

http://www.soundaffectspremier.com

หลังจากเปิดตัว Singlecut เจเนอเรชันแรกเมื่อปี 2000 ผ่านไป 7 ปี PRS ก็ตัดสินใจหยุดการผลิตกีตาร์รุ่นดังกล่าว และเปิดตัวสองรุ่นใหม่ที่แยกแยะสไตล์ชัดเจนระหว่างวินเทจ และ โมเดิร์น หนึ่งในกีตาร์เปิดตัวใหม่ คือ SC 245

SC 245 ดูเผินๆ จะคล้ายกับ Singlecut แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือ สเกลคอที่หดสั้นลงเหลือ 24.5 นิ้ว และเป็นที่มาของชื่อ 245 ปิคอัพได้รับการออกแบบใหม่ ชื่อรุ่น 245 เช่นกัน ให้โทนวินเทจ เด่นย่านกลาง มีย่านแหลมชัดๆ โซโล่ classic rock, blues rock หวานได้ใจ แต่ไม่ทุ้มหนักแน่นอย่างตัวออริจินอล ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากบอดี้ที่ได้รับการเจาะช่องลดน้ำหนักเหมือนกับ Singlecut Satin รวมถึงสเกลคอที่สั้นลงด้วย neck profile มีให้เลือกทั้ง wide fat / wide thin แต่จากที่ผมเก็บข้อมูลมา คอ thin หายากมากกกก เรียกได้ว่าถ้าอยากได้กีตาร์รุ่นนี้ที่เป็นคอบางแถมจะเอาสีถูกใจด้วยเนี่ย ขอให้ทำใจว่าอาจจะได้คอหนาแทนนะครับ

สำหรับ SC 245 ล็อตที่ผลิตตั้งแต่ปี 2008 – 2009 จะอยู่ในช่วงที่ PRS ใช้อินเลย์นกกลวงหรือ hollow birds นะครับ ซึ่งบางคนก็ชอบนกแบบนี้นะครับ สวยไปอีกแบบ เพราะถึงแม้อินเลย์นกจะไม่เต็มตัว แต่อย่างน้อยมันก็ทำจากเปลือกหอยเกรดดี ใครที่สงสัยว่ามันต่างจากนกอื่นๆอย่างไร สามารถคลิกอ่านเกี่ยวกับอินเลย์นกทั้งหมดของ PRS ได้ที่นี่ครับ

ถ้าใครอยู่ในกลุ่มเฟสบุค PRS Club Thailand ที่ผมตั้งขึ้นอาจจะเคยเห็นผมแชร์เกี่ยวกับ PRS SC 245 original และทราบว่าเป็นกีตาร์ PRS รุ่นที่ทำให้ผมเริ่มสนใจกีตาร์ยี่ห้อนี้จริงจังจนเริ่มออมเงินบาทแรก ผมชอบเสียงของมันมากพอๆกับชอบลุคของมัน น่าตลกที่ในเวลานั้น ผมไม่รู้เลยว่าข้างในบอดี้กีตาร์รุ่นนี้เจาะ weight relief ผมอยากได้เพราะชอบเสียงจริงๆ

แต่ตอนนั้นถ้าผมรู้ความจริงเรื่องนี้ ผมอาจมีอคติไม่ชอบกีตาร์รุ่นนี้เหมือนคนเล่น Les Paul บางคนที่ปฏิเสธเลสพอลบอดี้เจาะรูอย่างเด็ดขาด เรื่องนี้เหมือนเป็น blind test ทดสอบใจของผมเอง ว่าแท้จริงแล้วผมก็อยู่กับกีตาร์ทรงเลสพอลบอดี้มีโพรงได้ถ้าเสียงโดนใจ ตรงนี้อยากฝากไว้เป็นข้อคิดของเพื่อนๆดูครับ บางทีถ้าเราลองเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆดูบ้าง ใช้ความรู้สึกมากกว่าสเปค เราอาจจะเจอตัวเลือกดีๆ เพิ่มขึ้นมาก็เป็นได้นะครับ

PRS SC ที่มากับสเกลคอ 24.5″ ยังมีอีกหลายรุ่นและเปลี่ยนรายละเอียดสเปคไปตามปีที่ผลิต ซึ่งผมจะทยอยนำมาเล่าในตอนต่อๆไปนะครับ

SC 250, SC 250 Satin (2007 – 2009)

  • Body – mahogany with weight relief
  • Top – figured maple
  • Neck – mahogany
  • Neck profile – wide fat
  • Scale length – 25″
  • Fingerboard – rosewood
  • Fingerboard inlay
    • (2007) abalone dots หรือ old school abalone birds
    • (2008 – 2009) abalone dots หรือ paua hollow birds
  • Headstock veneer – none
  • Truss rod cover text – SC 250
  • Tuners – PRS Phase II locking
  • Bridge – PRS adjustable stoptail
  • Pickups – 250 (treble: ceramic 15.42k, bass: alnico 8.00k)
  • Electronics – 3 way on upper bout, 2 vol, 2 tone, PRS style control layout
  • Hardware – chrome
  • Finishes
    • SC 250 – polyurethane base coat, acrylic urethane topcoat
    • SC 250 Satin – nitrocellulose satin
  • Options – 10 top, Artist Package: Artist grade top, paua birds inlay and signature, gold hardware, Brazilian RW fingerboard and headstock veneer
http://www.mylespaul.com/threads/prs-sc-250-image.31021/page-2
https://www.vintageandrare.com

SC 250 Satin

https://reverb.com/item/12336424-prs-paul-reed-smith-usa-single-cut-sc-250-trans-amber-rosewood-2008

SC 250 รุ่นนี้ ผมหมายถึงตัวออริจินอลดั้งเดิม USA ไม่ใช่ไลน์ S2 ที่ชื่อคล้ายกันนะครับ สำหรับเจ้าตัวนี้ มันคือกีตาร์ SC เวอร์ชันดุเดือด ขั้วตรงข้ามกับรุ่น 245 บอดี้หนาเต็ม full depth แต่น้ำหนักเบาสบายสามกิโลกลางๆ เพราะเจาะช่อง weight relief ในบอดี้มาฮอกกานีตามเทรนด์ SC 2007 ที่ผมได้บอกไป ทีเด็ดของรุ่นนี้ผมคิดว่าอยู่ที่ปิคอัพรุ่น 250 ที่แท้จริงแล้วคือการนำปิคอัพของรุ่น Tremonti มาโมดิฟายเล็กน้อย เปิดฝาตัว bass ออก เพื่อความเคลียร์ของ bass pickup ยิ่งขึ้น ปิคอัพตัวบริดจ์สเปคแรงสะใจด้วยแม่เหล็ก ceramic ขับเคลื่อนด้วยกำลังแรงม้าฝูงใหญ่ high output 15k เท่า Tremonti เป๊ะ (ใช่สิ ก็มันคือปิคอัพเดียวกัน) ส่วนบริดจ์เปลี่ยนจาก PRS stoptail แบบ compensated ที่ใช้มานมนานตั้งแต่ Singlecut original เป็นแบบปรับระยะ saddles ได้ เพื่อรองรับสายเบอร์ใหญ่และการจูนต่ำกว่าเดิม และกีตาร์แรงๆ อกกแบบมาเพื่อการเล่นหนักๆแบบนี้ ถ้าสายเพี้ยนง่ายมันก็คงไม่งาม PRS ก็เลยจัดลูกบิดล็อกสาย Phase II locking มาให้ ทั้งแรง ทั้งไว้ใจได้เรื่องความเที่ยงตรง ลุงพอลบอกเอาไว้ว่า SC 250 นี้ ที่จริงมันก็คือกีตาร์รุ่น Tremonti ที่ไม่มีชื่อ Tremonti นั่นแหละ

งานประดับก็มาตรฐาน Singlecut อินเลย์มีให้เลือกระหว่าง dots กับ abalone old school birds นกคลาสสิคเต็มตัวที่พวกเราคุ้นเคย ถ้าเป็นล็อต 2008 เป็นต้นไปก็จะเปลี่ยนจากนกเต็มตัวเป็นนกกลวง hollow birds ที่แม้จะไม่เต็มตัว แต่ก็ให้วัสดุชั้นดี เลี่ยมด้วยเปลือกหอย paua สีรุ้งเหลือบเขียวงามๆ แลดูเพลินตา เป็นเสน่ห์จากธรรมชาติ

อ้อ สำหรับ SC 250 ยังมีเวอร์ชันเคลือบด้านหรือ Satin ด้วยนะครับ นอกจากนี้ก็ยังมีล็อต NOS ที่ออกมาในปี 2013 ซึ่งก็เหมือน SC รุ่นอื่นๆในปี 2007 ที่ติดปัญหาข้อบังคับใหม่ของ CITES ในเรื่องไม้ Brazilian rosewood ทำให้การผลิตกีตาร์ที่มีไม้ชนิดนี้ต้องดีเลย์อยู่หลายปีกว่าจะผลิตจนเสร็จ

Singlecut Hollowbody Standard และ Singlecut Hollowbody I (2008 – 2009)

  • Body and top
    • SCH Standard: all mahogany, full hollow body construction
    • SCH I: mahogany back and sides, maple top, full hollow body construction
  • Neck – mahogany
  • Neck profile – wide fat
  • Scale length – 25″
  • Fingerboard – rosewood
  • Fingerboard inlay – moons หรือ paua hollow birds
  • Headstock veneer – none
  • Truss rod cover text – none
  • Tuners – PRS Phase II locking, ebony buttons
  • Bridge
    • PRS compensated stoptail หรือ
    • PRS adjustable stoptail หรือ
    • PRS/LR Baggs piezo
  • Pickups – SC Hollowbody 245
  • Electronics
    • (magnetic only) 3 way toggle, vol, tone
    • (magnetic and piezo) 3 way toggle, 3 way mini toggle, mag vol, mag tone, piezo blend
  • Hardware – chrome
  • Finishes – polyurethane base coat, acrylic urethane top coat

Singlecut Hollowbody Standard

http://www.guitarrez.com/prsinventory/prsscholstdvor.html
https://reverb.com/item/8317876-paul-reed-smith-prs-singlecut-hollowbody-standard-2008-vintage-cherry

Singlecut Hollowbody I Artist Package

https://www.thegearpage.net/board/index.php?threads/prs-experts-a-few-questions.1835401/
https://forums.prsguitars.com/threads/ngd-2008-prs-singlecut-hollowbody-artist-package.12282/

Singlecut ตัวกลวงรุ่นแรกในสายการผลิตหลัก มีสองเวอร์ชันคือแบบมีทอปเมเปิล (SC HB I) และแบบไม่มีทอปเมเปิล (SC HB Standard) แต่โครงสร้างอื่นๆก็เหมือนกัน คือตัวกลวง ความลึกของบอดี้ประมาณ 3  1/8 นิ้ว มากกว่า PRS Hollowbody เล็กน้อย แต่ไม่ลึกเท่ารุ่น Archtop ไม้หลังและไม้ข้างเป็นมาฮอกกานี

PRS ทรง Hollowbody ไม่ว่าจะ SC หรือ DC ก็ใช้ไม้แท้นะครับ ไม่ใช่ไม้อัด กีตาร์ตัวกลวงของ PRS ใช้ไม้แท้แผ่นหนาๆ มาสกัดเนื้อไม้ออกให้เหลือเป็นชิ้นไม้ที่โค้งเว้าตามที่ต้องการ มีกรรมวิธีและการเลือกสรรวัสดุแตกต่างจากการใช้ไม้อัด ดังนั้นถึงราคาจะสูงแต่ก็สูงอย่างสมเหตุสมผล ส่วนสเกลคอก็ 25นิ้วมาตรฐาน ปิคอัพ 245 มีออพชัน piezo เลียนเสียงกีตาร์โปร่ง

SC รุ่นนี้ถ้าอัพเกรดไป AP จะได้ไม้ Macassar ebony ทั้ง fingerboard และ headstock ไม้ท็อปเกรด Artist และอะไหล่ทอง น่าสังเกตว่า AP ของปี 2008 จะใช้ไม้ Macassar ebony แทน Brazilian rosewood ก็คงจะเนื่องมาจากมาตรการควบคุมไม้ BRW ที่ทำให้ PRS ต้องระงับการผลิตกีตาร์บางรุ่นไปเมื่อปี 2007 นั่นเอง

 

SC 245 1957/2008 limited (2008)

  • Body – lightweight mahogany
  • Top – quilted maple 10 top
  • Neck – Peruvian mahogany
  • Neck profile – wide fat
  • Scale length – 24.5″
  • Fingerboard – East Indian rosewood
  • Fingerboard inlay – paua hollow birds
  • Headstock veneer – none
  • Truss rod cover text – 1957/2008
  • Tuners – vintage style, non-locking
  • Bridge – PRS stoptail
  • Pickups – 57/08 with covers (treble: alnico 2   9.4k, bass: alnico 2   8.5k)
  • Electronics – 3 way on upper bout, 2 vol, 2 tone, PRS style control layout
  • Hardware – chrome
  • Finishes – polyurethane base coat, acrylic urethane top coat
  • Accessories – 1957/2008 limited hardshell case
  • 250 made
http://willcuttguitars.com/paul-reed-smith/sc-245-sc-250-singlecut/prs-sc-245-5708-mccarty-burst-quilt-10-top-839

gbratsguitars.com

http://protocolguitarworks.com/product/2008-limited-edition-prs-sc245-5708-sold/

245 ตัวนี้เป็นรุ่นผลิตเพื่อฉลองการเปิดตัวปิคอัพ 1957/2008 ติดปิคอัพสายวินเทจที่เพิ่งเปิดตัวใหม่ในปีนั้น คือรุ่น 1957/2008 หรือ 57/08 นั่นเอง มีฝาครอบปัดด้านแกะชื่อรุ่นไว้อย่างสวยงาม ปิคอัพรุ่นนี้เป็นที่สนใจของวงการกีตาร์อย่างมากในเวลานั้น เนื่องจากผลิตโดยใช้ลวดทองแดงจาก supplier เดียวกัน, วัสดุชนิดเดียวกัน, เครื่องจักรเดียวกันกับที่ผลิตให้บริษัท Gibson และ Fender ในยุค 50s โดยจะมีหมายเลขประจำตัวและลายเซ็นของลุงพอลที่ฝาปิดช่องคอนโทรล (มีอันสำรองที่ไม่มีลายเซ็นแถมมาให้ ถ้าใครจะซื้อรุ่นนี้มือสอง อย่าลืมเช็กนะครับว่าแผ่น backplate พร้อมลายเซ็นมีมาด้วยหรือเปล่า ถ้าไม่มีนี่ เสียหายนะครับ) สเปคก็ quilted maple 10 top คอเป็นไม้มาฮอกกานีจากเปรู เพื่อน้ำหนักที่เบากว่ามาฮอกกานีที่ใช้ปกติ

กีตาร์ 245 เวอร์ชันลิมิเต็ดรุ่นนี้ผลิตจำนวนจำกัด 250 ตัวครับ

Sunburst 245 (2009)

www.fretsguitarcentre.co.uk

reverb.com

  • Body – mahogany with weight relief
  • Top – figured maple
  • Neck – mahogany
  • Neck profile – wide fat
  • Scale length – 24.5″
  • Fingerboard – rosewood
  • Fingerboard inlay – paua hollow birds
  • Headstock veneer – none
  • Truss rod cover text – 245
  • Tuners – vintage style, non-locking
  • Bridge – PRS stoptail
  • Pickups – 57/08 with covers (treble: alnico 2   9.4k, bass: alnico 2   8.5k)
  • Electronics – 3 way on upper bout, 2 vol, 2 tone, PRS style control layout
  • Hardware – chrome
  • Finish – nitrocellulose gloss

Sunburst 245 เป็นกีตาร์รุ่นท้ายๆ ของตระกูล Singlecut ยุคแรก และเป็นรุ่นที่เริ่มมีการใส่สเปคบางอย่างของยุคใหม่เข้ามา โดยพื้นฐานกีตาร์รุ่นนี้มันก็คือ SC 245 ที่เคลือบเงาด้วยแลคเกอร์ nitrocellulose gloss เพื่อให้แลดูเป็นแนววินเทจ ซึ่งต้องใช้เวลาถึงสองวันสำหรับกระบวนการเคลือบ ต่างจากการเคลือบ polyurethane กับ acrylic นอกจากนี้ก็ยังติดปิคอัพสายวินเทจรุ่นใหม่ของปีนั้นคือรุ่น 57/08 ซึ่งความพิเศษของปิคอัพรุ่นนี้ก็ตามที่ผมได้เล่าไป

แนวคิดของลุงพอลที่สร้างรุ่นนี้ขึ้น คือต้องการสร้างกีตาร์ทรง SC ที่ดูวินเทจมากขึ้น และสามารถนำไม้เมเปิลลายธรรมดาๆ ที่ค้างสต๊อกอยู่เยอะมาทำกีตาร์ เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่มักเลือกแต่ออพชันลายไม้สวยๆ ทำให้เหลือไม้เมเปิลเกรดธรรมดาเยอะ ลุงบอกว่าลวดลายของไม้มันไม่เกี่ยวอะไรกับเสียง กีตาร์ตัวหนึ่งสามารถเป็นกีตาร์ที่ดีได้โดยไม่จำเป็นต้องมีลายสวย ผลที่ได้ก็คือ SC 245 ที่อัพเกรดเพิ่มลุควินเทจเคลือบไนโตร ได้อารมณ์กีตาร์เก่านั่นเอง

สำหรับ Sunburst 245 ที่ผมเห็นรูปในอินเทอร์เน็ทมาหลายตัว ก็มากับไม้ท็อปลายสวยๆนะครับ คือเฟลมชัด แต่เส้นวิ่งไม่ค่อยตรง ไม่ค่อยเป็นระเบียบ ก็เลยถือว่าตกเกรดซะงั้น

อีกสิ่งหนึ่งที่ผมสังเกตเห็นจากรุ่น Sunburst นี้และคิดว่า เด็ด คือ ท็อปของบางตัวมีเส้น  flecks ประปราย ได้อารมณ์วินเทจเหมือนพวก Gibson Les Paul ปีเก่าๆ ขาวินเทจน่าจะลองเช็กรุ่นนี้ดูหน่อย เผื่อจะชอบนะครับ

ส่งท้าย

สำหรับกีตาร์ PRS Singlecut/SC ยุคแรกก็จะมีประมาณนี้นะครับ ผมมีความรู้สึกว่ากีตาร์ในยุคแรกนี้ค่อนข้างโฟกัสไปที่แนวดนตรีร็อกหรือโทนเสียงสไตล์โมเดิร์น อาจจะด้วยกระแสดนตรีในยุค 2000s ที่เพลงแนว nu metal ยังขายดีหรือเปล่าก็ไม่แน่ใจนะครับ แต่ผมคิดว่ากีตาร์ตระกูล Singlecut ในช่วงแรกนี้มีความเป็นตัวของตัวเอง มีความเป็น PRS มากที่สุด ซึ่งสำหรับยุคต่อมา สิ่งต่างๆก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไปอย่างที่ผมได้จั่วไว้ในย่อหน้าแรกของบทความนี้ ส่วนกีตาร์ Singlecut ยุคหลังจะเป็นอย่างไรนั้น ผมจะนำมาเล่าให้เพื่อนๆเห็นพัฒนาการของมันในตอนต่อๆไปครับ

ขอบคุณที่ติดตามอ่านนะครับ เนื้อหาเยอะหน่อย เพราะผมอยากเขียนให้เป็นแหล่งข้อมูลละเอียดๆ มากกว่าการโพสต์เฟสบุคสั้นๆ แล้วข้อมูลก็หล่นหายไปตามกาลเวลาครับ

สำหรับบทความ PRS SC ตอนต่อไป : PRS Singlecut / SC โครงสร้างสไตล์ LP งานดีสไตล์ PRS – ตอนที่ 4 มีรุ่นอะไรบ้าง (2) คลิกอ่านได้ที่นี่ครับ


กลุ่มเฟสบุค PRS Club Thailand แอดเข้ามากันได้ คลิกที่นี่ครับ

กด Like page ของผมได้ที่นี่จ้า