pickup selector แปลกๆของ PRS: Rotary, 513, 408, 305, 509 ฯลฯ – มันใช้ยังไง?

กีตาร์ PRS บางตัวมากับ pickup selector แปลกๆ บางทีก็มากับ pickup หน้าตาประหลาดๆ บางคนเห็นสวิทช์บนตัวกีตาร์แล้วก็มึน ว่ามันใช้งานยังไงว๊ะ ทำไมยี่ห้อนี้แม่งชอบทำอะไรไม่เหมือนชาวบ้าน

วันนี้ผมขอรวบรวมระบบ pickup selectors รวมถึงภาคไฟฟ้าแปลกๆ ของ PRS มาอธิบายให้เพื่อนๆได้เข้าใจหลักการทำงานของมันมากขึ้น ขอเน้นเฉพาะระบบ selector นะครับ ไม่ลงสเปคกีตาร์

มีอะไร ใช้ยังไงบ้างนั้น ไปดูกันเลย

 

Rotary switch

https://www.chicagomusicexchange.com/listing/prs-custom-22-10-top-tortoise-shell-2003-s343/10417186

เพื่อนๆบางคนอาจเคยสงสัยว่าทำไม PRS บางตัวมันมี knobs มากถึงสามปุ่ม แต่กลับไม่มีสวิทช์เลือกปิคอัพ นั่นแสดงว่า PRS ที่เพื่อนๆดูอยู่นั้นมากับ Rotary Switch หรือสวิทช์เลือกปิคอัพแบบหมุน (ตรงลูกศรชี้) เป็นดีไซน์สุดคลาสสิคของแบรนด์ PRS  ที่ใช้มาตั้งแต่สมัย pre factory ติดตั้งมากับกีตาร์แทบทุกรุ่นของ PRS และเลิกใช้ในช่วงปี 2011

ใช้ยังไง?

สวิทช์ rotary ใช้ปุ่ม (knob) แบบเดียวกับวอลุ่มและโทน แต่ใช้งานโดยการหมุนเลือกเสียงซึ่งมีให้เลือกทั้งหมด 5 แก๊ก ดังนี้ (อ้างอิงตำแหน่งตามปุ่ม knob นะครับ)

position 10 : bridge humbucker

position 9 : คอยล์นอกของทั้ง 2 humbucker ต่อวงจรขนาน ให้เสียงโทน Telecaster

position 8 : คอยล์ในของทั้ง 2 humbucker ต่อวงจรอนุกรม เสียงหนาๆ คล้ายๆ humbucker

position 7 : คอยล์ในของทั้ง 2 humbucker ต่อวงจรขนาน ให้โทนเสียงคล้าย Strat เด้งๆ

position 6 : neck humbucker

คลิป อ. โอ๋สาธิตการใช้งาน ภาษาไทยเข้าใจง่าย

ถึงแม้ Rotary Switch จะเป็นดีไซน์ที่ไม่ค่อยสะดวกในการใช้งานเท่าใดนักโดยเฉพาะสำหรับการเล่นสดหรือเล่นในที่ที่มีแสงสว่างน้อย เนื่องจากมองตำแหน่งของ selector ได้ยาก แม้ปัจจุบันจะมีชุดแปลง selector ให้เป็นแบบ McCarty Switching สามทางดึงปุ่ม Tone แล้ว แต่ก็ยังมีผู้ใช้ Rotary อยู่ไม่น้อยที่ยังใช้เพราะชอบเสียงที่ได้จากการผสมปิคอัพของมัน ซึ่งระบบสวิทช์แบบอื่นๆ ของ PRS ให้ไม่ได้ กับอีกเหตุผลนึงคือไม่อยากโมดิฟายเพราะกลัวเสียของ

แต่บางคนผ่าทางตัน แก้ปัญหาแบบบ้านๆ โดยไม่ต้องโมดิฟายวงจรด้วยการเปลี่ยนปุ่มให้เป็นแบบหัวไก่ไปเลยก็มี จบทุกปัญหา!  ฮ่าๆๆ

https://reverb.com/item/10631671-prs-ce24-20th-anniversary

 

Sweet Switch

https://forums.prsguitars.com/threads/ngd-warning-1988-sweet-switch-pron-inside-pic-heavy.18951/

Sweet Switch คือสวิทช์ toggle เล็กๆ ที่อยู่ระหว่างปุ่ม Volume กับ Rotary Swith ติดตั้งมากับกีตาร์ PRS ยุค 80s เจ้าสวิทช์อันนี้ไม่ได้มีไว้เลือกปิคอัพนะครับ แต่มีไว้ทำเอฟเฟคท์คล้ายกับการใช้สายสัญญาณยาวๆ สัก 40 ฟุตลากไปเสียบเข้าแอมป์ เกิดการสูญเสียสัญญาณมากขึ้น ความคมชัดของเสียงก็ลดลงไปกลายเป็นโทนที่ฟังดูเหมือนคุณภาพสัญญาณลดลง ซึ่งศิลปินบางคนก็ใช้วิธีนี้สร้างซาวด์ที่มีความหวาน คล้ายๆที่ Hendrix ทำ แต่ PRS ในยุคนั้นทำสวิทช์สำเร็จรูปจำลองโทนเสียงดังกล่าวขึ้นมาให้เลย Sweet Switch นี้ PRS ค่อยๆ ทยอยเลิกใช้และแทนที่ด้วยปุ่ม Tone ตั้งแต่ปี 1987

 

513

https://www.fanaticguitars.com/en/product/prs-513-wine-red-2010/

ระบบ selector 513 ก็ตามชื่อ คือมากับกีตาร์รุ่น 513 ต้นตำรับกีตาร์สายแปลก (specialty) ของ PRS ที่เปิดตัวเมื่อปี 2004 หลักใหญ่ใจความของรุ่นนี้ก็คือดีไซน์ปิคอัพ 5 คอยล์ที่มากับคอนโทรลเฉพาะรุ่น ที่สร้างเสียงได้ 13 เสียง เป็นที่มาของชื่อ 513 ตัวกีตาร์รุ่นนี้ก็มีความแปลกแยกจาก Custom หลายอย่าง คือ สเกลคอยาวขึ้น บอดี้หนากว่านิดหน่อยสไตล์แมคคาร์ตี้ เพื่อเนื้อเสียงที่มากกว่า เฟรตกว้างกว่าของคัสตอม และสำหรับ 513 generation แรกยังมากับอินเลย์ 513 birds สุดเท่อีกด้วย

ระบบไฟฟ้าของรุ่นนี้ประกอบด้วย 1 วอลุ่ม 1 โทน blade switch 5 ทางบ้านๆ แต่มี blade switch ที่อยู่ใกล้บริดจ์อีกตัว ที่ทำหน้าที่เป็น Mode Switch เลือกโหมดการทำงานของปิคอัพ ซึ่งมี 3 โหมด

https://www.fanaticguitars.com/en/product/prs-513-wine-red-2010/

Mode switch ทั้ง 3 mode มีอะไรบ้าง?

Mode 1 – heavy humbucker เอาท์พุทของhumbucker มาเต็ม 100% ตำแหน่งของ Mode 1 คือการสับสวิทช์ลงไปด้านล่างสุดนะครับ

Mode 2 – clear humbucker เอาท์พุทของhumbucker ถูก tap ให้เอาท์พุทลดลงบางส่วน เหลือ 65% ซึ่งวอลุ่มจะไม่ดร็อปมากนัก เป็นการเปลี่ยนโทนเสียงให้ออกมาวินเทจมากขึ้น โดยไม่กระทบ setup

Mode 3 – single coil ตัดคอยล์ของ bridge humbucker ให้ใช้งานเพียงคอยล์ใน และตัด neck humbucker ให้ใช้งานเพียงคอยล์นอก

แล้วนับยังไงได้ 13 เสียง?

เมื่อเราใช้ Mode switch ที่ผมบอก ร่วมกับ blade selector บ้านๆ 5 ทาง เราก็จะผสมเสียงออกมาได้ออพชันต่างๆ ดังนี้ครับ (ไล่จาก bridge pickup นะครับ)

Mode 1: heavy humbucker

  1. bridge humbucker (full output)
  2. bridge humbucker (full output) + mid single coil
  3. mid single coil
  4. mid single coil + neck humbucker (full output)
  5. neck humbucker (full output)

Mode 2: clear humbucker

  1. bridge humbucker (65% output)
  2. bridge humbucker (65% output) + mid single coil
  3. mid single coil
  4. mid single coil + neck humbucker (65% output)
  5. neck humbucker (65% output)

Mode 3: single coil

  1. bridge single coil (inside coil)
  2. bridge single coil (inside coil) + mid single coil
  3. mid single coil
  4. mid single coil + neck single coil (outer coil)
  5. neck single coil (outer coil)

นับรวมเหมือนจะได้ 15 เสียง แต่อย่าลืมว่า ตรงแก๊กกลางของสวิทช์ 5 ทางนั้น จะเป็น single coil เสมอ ซึ่งเป็นเสียงเดียวกันทุกโหมด เราจึงนับตำแหน่งนั้นเป็นเพียง 1 เสียง ไม่ว่าจะใช้โหมดไหนก็ตาม ดังนั้นเราจึงลบซาวด์จาก single coil ตัวกลางออกไปสองเสียง สรุปได้ว่ามี 13 เสียงไม่ซ้ำกัน ตามชื่อ 513 นั่นเอง

 

 

305 & DC3

PRS 305

loviesguiras.com

12fret.com

PRS DC3

https://www.sweetwater.com/store/detail/DC3RSCS–prs-dc3-scarlet-smokeburst

 

สำหรับ selector ของกีตาร์รุ่น 305 และ DC3 เปิดตัวราวๆ ปี 2009 เห็นหน้าตาและสเปคคร่าวๆ ของกีตาร์สองรุ่นนี้ก็คงรู้ว่าทำมาให้เสียงแนวสตรัท (บอดี้ทั้งสองตัวก็ทำจากไม้ alder คอเมเปิล) ที่ประกอบด้วยปิคอัพ single coil 3 ตัวที่เป็นมรดกตกทอดมาจากรุ่นพี่ PRS 513 ควบคุมด้วย blade switch 5 ทาง วอลุ่มและโทนอย่างละปุ่ม คุมปิคอัพทั้ง 3 ตัว สรุปได้เป็น 3 คอยล์ 5 เสียง อ้อ single coil ของ PRS 305 กับ DC3 ไม่ใช่ noiseless นะครับ

สำหรับชุดปิคอัพของ DC3 ก็เหมือนกับ 305 นั่นแหละ แต่ต่างกันตรงการวาง single coil ตัวใกล้บริดจ์ให้ขนานกับตัว middle วางสวิทช์คนละจุด รวมถึงสเปคปลีกย่อยของตัวกีตาร์ที่ต่างจาก 305 แต่ในส่วนของ electronics นั้นใช้งานไม่ต่างกัน

การใช้งาน Pickup switching สไตล์ 305 กับ DC3

ง่ายๆครับ ก็เหมือนเฟนเดอร์สตรัทที่เพื่อนๆคุ้นเคยนั่นแหละ

นับจากตำแหน่ง bridge

Position 1 – bridge single coil

Position 2 – bridge+middle single coils

Position 3 – middle single coil

Position 4 – middle+neck single coils

Position 5 – neck single coil

 

 

408

https://reverb.com/item/4088754-paul-reed-smith-prs-408-10-top-birds-violet

ชื่อของชุดปิคอัพนี้หมายถึง 4 คอยล์ที่สร้างเสียงได้ 8 เสียง เปิดตัวครั้งแรกในปี 2011 ในซี่รีส์ Private Stock Signature Ltd. 100 ตัว และผลิตเป็นเวอร์ชันลิมิเต็ดในระดับ core line คือรุ่น Signature Limited 400 ตัวในปีต่อมา ก่อนต่อยอดลงสู่ระดับ mass production ในรุ่น Paul’s Guitar, 408 maple top, 408 Standard รวมถึงกีตาร์ซีรีส์ล่าสุด Custom 24-08 ก็ใช้ selector ชุดนี้

PRS Paul’s Guitar สังเกตปิคอัพตัว bridge นะครับ

http://www.guitars-shop.de/product_info.php/products_id/543/language/en

PRS Custom 24-08

http://prsguitars.com/media/custom2408/

ปิคอัพ 408 ใช้ลวดและแม่เหล็กชนิดเดียวกันกับที่ใช้ในปิคอัพรุ่น 57/08 แต่ของ 408 ทั้งสองตำแหน่งมีรูปร่างแปลกๆ ตัว bridge มีหน้ากว้างกว่า humbucker ปกติ เนื่องจากถูกออกแบบมาให้มีพื้นที่รับสัมผัสการแกว่งของสายที่กว้างขึ้น เพื่อความนุ่มนวลขึ้นของปิคอัพตำแหน่งนี้ซึ่งมักเป็นจุดอ่อนของ hum ตำแหน่งนี้ ส่วน neck humbucker กลับมีขนาดเล็กกว่า ก็เนื่องจากถูกออกแบบให้ทำงานตรงกันข้าม คือบีบหน้ารับสัมผัสให้แคบลง เพื่อให้เสียงมี focus ไม่บวมเบลออย่าง neck humbucker ทั่วไปที่มักจะเป็นกัน ลุงพอลให้เหตุผลว่าดีไซน์หน้า pickup แบบนี้ช่วยให้การเล่นของเราเวลาอยู่ในวงใหญ่ที่มีหลายๆเครื่อง ไม่จม

นอกจากนี้ ปิคอัพตัว bass (หรือตัว neck) ยังถูกวางตำแหน่ง slug coil และ screw coil กลับด้านไม่เหมือนปิคอัพฮัมบัคเกอร์ของชาวบ้านชาวช่อง นอกจากนี้ตัว bobbins ยังมีหน้าโค้งรับกับเรเดียสของฟิงเกอร์บอร์ดเพื่อให้หมุดปิคอัพทุกหมุดกับสายทุกเส้นมีระยะห่างที่สมำเสมอ เป็นความใส่ใจในละเอียดเล็กน้อยที่แบรนด์ PRS ขึ้นชื่อมานาน

https://centaurguitar.com

แต่สำหรับ Paul’s Guitar จะเป็นการเอาปิคอัพ Narrow 408 (คือ 408 ตัว bass/neck) มาใช้ทั้งสองตำแหน่ง ตามสเปคของกีตาร์ที่ลุงทำขึ้นใช้ส่วนตัว และในส่วนของ PRS Custom 24-08 นั้นก็เป็นการยกเอาชุด selector ของ 408 มาทำงานร่วมกับชุดปิคอัพ 85/15 ก็นับได้แปดเสียงเหมือนกัน

หลักการทำงานของ 408 switching

http://www.prsguitars.com/index.php/electrics/core/408_2018

เริ่มจาก mini toggle สองทาง จำนวน 2 ตัวทำหน้าที่ตัดคอยล์ของ 408 humbucker ทั้งสองตัวหน้าหลัง (สับลง=hum / สับขึ้น=sing)  แต่! การตัดคอยล์ของ 408 ไม่เหมือนกีตาร์ทั่วไป เมื่อสับสวิทช์ toggle จะเป็นการตัด single coil ตัวที่เป็น screw coil ออกไปเลย 100% และเปิดใช้งาน single coil ตัวที่เป็น slug coil แต่แทนที่จะปล่อยให้วอลุ่มลดลงไปเนื่องจากการสูญเสียคอยล์ไปหนึ่งอัน PRS แก้ปัญหาโดยออกแบบระบบให้มีการเพิ่มขดลวด 1500 รอบให้กับ single coil ตัวที่เป็น slug coil เพื่อชดเชย output ที่เสียไป ดังนั้นผลที่ได้คือเสียง single coil ที่วอลุ่มไม่ดร็อป และเป็น single coil ที่มีความหวาน คล้ายปิคอัพตระกูล soapbar ไม่แหลมบาดหูอย่างระบบฮัมคู่ตัดคอยล์ทั่วไป

ส่วนตัว selector ที่ใช้เลือกปิคอัพมี 3 ทางโดยถ้าเป็นเวอร์ชั่นทำขายปกติจะมากับ blade switch แต่สำหรับรุ่นลิมิเต็ด, Paul’s Guitar หรือรุ่น 408 Standard ก็จะได้ toggle switch หล่อๆแทน

นับยังไงได้ 8 เสียง?

1. bridge humbucker

2. both humbuckers

3. neck humbucker

4. bridge single coil + neck humbucker

5. bridge humbucker + neck single coil

6. bridge single coil

7. both single coils

8. neck single coil

คลิปนี้ Custom 24-08 หรือพูดง่ายๆ ก็คือ Custom 24 ที่ติดตั้งระบบ 408 switching นั่นเอง

จุดเด่นอย่างหนึ่งของระบบ 408 คือเราแทบไม่รู้สึกถึงความแตกต่างของวอลุ่มในขณะที่มีการ tap ไปมาระหว่าง humbucker/single coil  และก็ทำได้โดยสะดวกกว่าการจับปุ่มโทนดึง-กด ในส่วนของเสียง โดยฉพาะปิคอัพ 408 ผมรู้สึกว่าเสียงที่ได้นั้นเคลียร์มาก แม้จะใช้แอมป์ที่ให้โทนนุ่ม ก็ยังไม่บวมเบลอ

 

509

http://www.guitars-shop.de/product_info.php/products_id/733/language/en

509 เป็นชุด switching แบบใหม่ของ PRS ที่มากับกีตาร์ PRS 509 กีตาร์รุ่นนี้ดูเผินๆคล้าย 513 เพราะนำคอยล์ทั้งห้าของ 513 มาใช้

หลักการทำงาน

หลักการทำงานของ 509 switching ก็คล้ายระบบของ 408 คือมี mini toggle สองตัวควบคุมการทำงานของ humbucker สวิทช์ละตัวมีสองแก๊ก แต่ละแก๊กเป็นการเลือกการทำงานของ humbucker ระหว่างเปิดเต็ม กับ ตัดคอยล์ แต่สิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือ แทนที่จะใช้ปิคอัพเซ็ท 408 หรือ 85/15 ครั้งนี้ PRS เอาปิคอัพรุ่น 513 พร้อม blade switch 5 ทางมาใช้ แทนสวิทช์สามทางของ 408

นับยังไงได้ 9 เสียง?

การปรับแบบที่ 1

both mini toggles: humbucker mode

1. bridge humbucker

2. bridge humbucker + mid single coil

3. mid single coil

4. mid single coil + neck humbucker

5. neck humbucker

 

การปรับแบบที่ 2

bridge mini toggle: single coil mode

neck mini toggle: humbucker mode

1. bridge single coil

2. bridge single coil + mid single coil

3. mid single coil

4. mid single coil + neck humbucker

5. neck humbucker

 

การปรับแบบที่ 3

bridge mini toggle: humbucker mode

neck mini toggle: single coil mode

1. bridge humbucker

2. bridge humbucker + mid single coil

3. mid single coil

4. mid single coil + neck single coil

5. neck single coil

 

การปรับแบบที่ 4

both mini toggles: single coil mode

1. bridge single coil

2. bridge single coil + mid single coil

3. mid single coil

4. mid single coil + neck single coil

5. neck single coil

เหมือนจะมี 15 เสียงถ้านับรวมกันหมด แต่ที่จริงมันมีหลายเสียงที่ซ้ำกันอยู่ และก็เหมือนกับ 513 ที่ selector แก๊กกลางจะเป็น single coil เสมอ (ต้องเป็น 408 แก๊กกลางจึงจะผสม humbucker หน้า-หลังได้)

ถ้าเลือกเอาเฉพาะเสียงที่ไม่ซ้ำกันเลย จะมี 9 ออพชันดังนี้ครับ

1. bridge humbucker

2. bridge humbucker + mid single coil

3. mid single coil

4. mid single coil + neck humbucker

5. neck humbucker

6. bridge single coil

7. bridge single coil + mid single coil

8. mid single coil + neck single coil

9. neck single coil

ลองไปฟังเสียงกันดูครับ ตัวเดียวเอาอยู่จริงๆ

 

ส่งท้าย

อ่านแล้วเพื่อนๆ คิดว่ายังไงกันบ้างครับ ระบบ switching แบบไหนที่น่าจะเวิร์คที่สุดสำหรับสถานการณ์จริงของเพื่อนๆ คอมเมนท์กันได้นะครับ ถือว่าได้แลกเปลี่ยนไอเดียกันครับ

 


กลุ่มเฟสบุค PRS แอดเข้ามากันได้ คลิกที่นี่ครับ

กด Like page ของผมได้ที่นี่จ้า