PRS McCarty สวยอย่าง PRS วินเทจอย่าง Gibson ตอนที่ 2

จากตอนที่ 1 ผมได้เล่าถึงความเป็นมาของชื่อ McCarty และคอนเซพท์ของกีตาร์สายวินเทจของ PRS ซีรีส์นี้ไปแล้ว สำหรับตอนที่ 2 นี้ ผมจะไล่เรียงกีตาร์ PRS McCarty รุ่นต่างๆ ตั้งแต่รุ่นแรกปีแรก 1994 ที่เริ่มผลิต ไล่ไปถึงประมาณช่วงปี 2008

ทำไมบทความตอนนี้ผมจึงไล่ถึงปี 2008? เหตุผลก็คือ จากที่ผมติดตามและเก็บข้อมูลกีตาร์รุ่นต่างๆของ PRS รวมถึงซีรีส์ McCarty มา ผมสังเกตว่าจุดเปลี่ยนสำคัญของกีตาร์ PRS อยู่ในช่วงปี 2008 – 2009 หลายรุ่นเลิกผลิต หลายซีรีส์มีการยกเครื่องใหม่ เริ่มมีการใช้วัสดุใหม่ที่ไม่เคยใช้มาก่อน จนถึงการนำปิคอัพแนวคิดใหม่ที่ตั้งชื่อด้วยระบบ ค.ศ./ค.ศ. มาใช้ ฯลฯ ซึ่งซีรีส์ McCarty ก็หนีไม่พ้นความเปลี่ยนแปลงนี้เช่นกัน ผมจึงขอเรียกกีตาร์ McCarty กลุ่มที่ผลิตในช่วงตั้งแต่ปี 1994 จนถึงช่วงเปลี่ยนผ่านปี 2008 ว่า แมคคาร์ตี้ยุคคลาสสิค และขอเรียกกีตาร์ McCarty ที่ผลิตตั้งแต่ปี 2008 ที่ติดปิคอัพ 57/08 ว่า แมคคาร์ตี้ยุคใหม่ ซึ่งขอย้ำว่าผมจัดกลุ่มตามตรรกะของผมเองนะครับ เพื่อนๆไม่จำเป็นต้องมองมุมเดียวกันก็ได้

ขอใส่หมายเหตุนิดนึงนะครับว่า หลายรุ่นผมมีข้อมูลปีที่ผลิต แต่บางรุ่นผมไม่มีข้อมูลปีที่ “หยุดผลิต” ซึ่งรุ่นไหนที่ไม่แน่ใจผมได้สอบถามไปทาง PRS แล้ว แต่ทางนั้นเขาไม่มีคำตอบ ผมก็ไม่แน่ใจว่าเพราะอะไร สุดท้ายผมก็ต้องหาข้อมูลจากหลายๆแหล่ง ปะติดปะต่อเอาเอง ทั้งตามเว็บบอร์ดต่างประเทศ เว็บ PRS Customer Support ซึ่งไม่ได้อัพเดทมาสิบเอ็ดปีแล้ว และอื่นๆ อีกมากมาย ดังนั้นเรื่องปีที่หยุดผลิต ผมขอใส่ไว้เพื่อทราบคร่าวๆ ละกันนะครับ

สำหรับเพื่อนๆ ที่ยังไม่ได้อ่านตอนที่ 1 ความเป็นมาของกีตาร์ PRS McCarty สามารถคลิกอ่านได้ที่นี่ครับ

เอาล่ะ แมคคาร์ตี้ยุคคลาสสิคมีรุ่นไหนบ้าง ไปดูกันเลย

 

McCarty (1994 – 2007) และ McCarty Soapbar (1998 – 2007)

https://reverb.com/item/2591842-paul-reed-smith-mccarty-1994-mccarty-burst

อันนี้เป็นเวอร์ชันปิคอัพ soapbar

https://www.vintageandrare.com/product/PRS-Paul-Reed-Smith-McCarty-Soapbar-Jason-Lollar-Pickups-1999-Natural-56942#prettyPhoto

สเปค McCarty (1994 – 2007) และ McCarty Soapbar (1998 – 2007)

  • Body – มาฮอกกานีที่หนากว่า Custom 1/8 นิ้ว
  • Neck – มาฮอกกานี โปรไฟล์ wide fat
  • Scale length – 25 นิ้ว
  • Tuners – ไม่ล็อกสาย สไตล์วินเทจ
  • Pickups
    • McCarty – ปี 94 ใช้รุ่น Dragon แต่ปี 95 เป็นต้นไป เปลี่ยนเป็น McCarty ปิคอัพทั้งสองรุ่นมีฝาครอบ
    • McCarty Soapbar – Seymour Duncan P-90 Soapbar
  • Pickup Selector
    • McCarty – toggle 3 ทาง, 1 vol, 1 tone ตั้งแต่ปี 1995 ดึงปุ่ม tone ตัดคอยล์ได้
    • McCarty Soapbar – toggle 3 ทาง, 1 vol, 1 tone
  • Inlays – Moons หรือ นก Old school วัสดุมีทั้ง MOP และอบาโลน
  • Truss rod cover – มีคำว่า McCarty
  • Bridge – PRS Stoptail

PRS McCarty ออริจินอลที่เปิดตัวด้วยลุควินเทจ ผลผลิตจากการถ่ายทอดภูมิปัญญาของอดีตประธาน Gibson ยุค 50s ปู่ Ted McCarty งานที่ออกมามีความแตกต่างจาก Custom 24 แต่แลดูเรียบง่าย บอดี้หนาขึ้น คอใหญ่เต็มมือ บริดจ์ไม่โยก จำนวนเฟร็ทแค่ 22 ทุกองค์ประกอบต่างช่วยสนับสนุนให้กีตาร์รุ่นนี้มีเสียงที่อุ่น หวาน อ้วน ซัสเทนยาว จนเป็นที่นิยมมากมายตั้งแต่มือกีตาร์ ศิลปินยันนักสะสม ไม่เว้นแม้แต่ศิลปินบ้านเราหลายท่านก็มีครอบครอง

นอกจากนี้ยังมีมีล็อตพิเศษ 100 ตัวที่ปู่ McCarty เซ็น back plate ให้เองด้วย ซึ่งมักมีคนเข้าใจผิดว่ามันคือ PRS McCarty 100 ตัวแรกที่ผลิตเสร็จ แต่ที่จริงแล้วเจ้ากีตาร์ McCarty 100 ตัวนี้ไม่ใช่ร้อยตัวแรกที่ผลิตเสร็จ แต่หมายถึง 100 ออเดอร์แรกที่โรงงงานจะส่งมอบให้ดีลเลอร์จะมีการใส่ backplate ที่ปู่เท็ดเซ็นให้ไปในเคสด้วย โดยกีตาร์ 100 ตัวนี้ก็หยิบสุ่มมา ไม่ได้เรียงลำดับ serial number แต่ประการใด จึงไม่น่าแปลกใจถ้าเราจะเห็น serial ของร้อยตัวนี้ทิ้งช่วงห่างกันเป็นร้อยเป็นพัน และก็ไม่แปลกอะไรถ้าตัวที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มนี้จะมีเลข serial ที่ต่ำกว่า อย่างไรก็ตาม คุณค่าของ McCarty 100 ตัวนี้คงอยู่ที่ลายเซ็นปู่เท็ดผู้ล่วงลับมากกว่า เพราะทำให้ราคาซื้อขายในปัจจุบันพุ่งไปแตะสองแสนบาท!

โลกนี้มีร้อยอัน

McCarty ยุคนี้มักจะมากับอินเลย์ Moon เป็นหลัก และมีอินเลย์นก Old School เต็มตัวเป็นออพชัน ส่วนวัสดุของอินเลย์นั้น จากการสอบถามกับทาง PRS ได้คำตอบว่า ปีแรกๆที่เริ่มผลิตนั้นอินเลย์นกเป็นอบาโลน จากนั้นช่วงกลางๆ 90s ได้เปลี่ยนไปใช้วัสดุ MOP แต่หลังจากนั้นก็กลับมาใช้นกอบาโลนอีกครั้ง ส่วนช่วงปีไหนใช้วัสดุอะไรนั้น เขาไม่สามารถระบุช่วงปีที่ชัดเจนได้นะครับ

ในปีแรกที่เปิดตัวนั้นยังใช้ปิคอัพ Dragon bass ฝาครอบทำจากทองเหลืองชุบ และยังไม่มีปุ่มโทนตัดคอยล์ แต่ปีต่อมาก็ได้ปิคอัพชื่อตรงรุ่นฝาครอบทำจากนิเกิล พร้อมปุ่มโทนที่ดึงตัดคอยล์ได้ selector แบบนี้ของ PRS จึงนิยมเรียกกันว่า McCarty electronics และตั้งแต่ปี 1995 เป็นต้นมา McCarty electronics นี้ได้ถูกนำไปติดตั้งใน McCarty แทบจะทุกรุ่นจนถึงปัจจุบัน รวมถึงเป็นออพชันสำหรับ Custom ที่ผลิตช่วงก่อนปี 2010 อีกด้วย

ปี 1998 เริ่มมีเวอร์ชันปิคอัพ Soapbar ให้เสียง single coil แบบหวานๆ สไตล์วินเทจยุค 50 ซึ่งสเปคของทั้งสองเวอร์ชันเหมือนกันแทบจะทุกประการ ต่างกันแค่ปุ่มโทนของ Soapbar จะไม่สามารถดึงตัดคอยล์ได้ (ก็มันเป็น single coil อยู่แล้วนิ)

 

McCarty Standard (1995 – 2008) และ McCarty Standard Soapbar (1998 – 2008)

https://www.creamcitymusic.com/2008-prs-mccarty-standard-electric-guitar-translucent-red/
https://reverb.com/item/2547620-prs-mccarty-standard-solid-mahogany-paul-reed-smith-electric-guitar-in-vintage-orange

12fret.com

สเปค McCarty Standard (1995 – 2008) และ McCarty Standard Soapbar

  • Body + top – มาฮอกกานีชิ้นเดียว มีความหนามากกว่า Custom 1/8 นิ้ว
  • Neck – มาฮอกกานี โปรไฟล์ wide fat
  • Scale length – 25 นิ้ว
  • Tuners – ไม่ล็อกสาย สไตล์วินเทจ
  • Pickups
    • McCarty Standard – McCarty
    • McCarty Soapbar – Seymour Duncan P-90 Soapbar
  • Pickup Selector
    • McCarty – toggle 3 ทาง, 1 vol, 1 tone ดึงตัดคอยล์ได้
    • McCarty Soapbar – toggle 3 ทาง, 1 vol, 1 tone
  • Inlays – Moons
  • Truss rod cover – มีคำว่า McCarty แต่บางปีก็ว่าง
  • Bridge – PRS Stoptail

แมคคาร์ตี้เวอร์ชั่นมาฮอกกานีล้วน ไม่มีไม้ท็อปเมเปิล ไม่มีอินเลย์นกฟรุ้งฟริ้ง แต่มีดีที่ได้บอดี้ไม้ชิ้นเดียวในราคาที่ไม่แพงมากนัก ที่จริงเวอร์ชันสแตนดาร์ดนี้เป็นกีตาร์ที่ดี แต่มักถูกคนมองข้ามเพราะหน้าตาไม่หล่อ ผมเห็นตามเว็บขายกีตาร์มือสองที่อเมริกาขายกันถูกมากแถวๆ $1000 ก็มีครับ

สำหรับ McCarty Standard Soapbar ก็จะมากับปิคอัพของ Seymour Duncan P-90 นะครับ ส่วนระบบไฟฟ้าก็จะไม่มีการตัดคอยล์ ปีที่ PRS หยุดการผลิต McCarty Standard Soapbar นั้นผมเองก็ยังไม่มีข้อมูล ผมถามไปทาง PRS เขาก็ไม่ทราบเหมือนกัน แปลกดี แต่เท่าที่ค้นข้อมูลเก่าๆเองผมคิดว่าน่าจะเป็นปี 2008

 

McCarty Archtop, Archtop I, Archtop II (1998 – 2001)

guitar-auctions.co.uk

https://reverb.com/item/4649797-vg-used-paul-reed-smith-mccarty-archtop-ii-w-ohsc

ไม้แท้นะครับ ไม่ใช่ไม้อัด สังเกตลายไม้ที่โพรง f-holes ครับ

https://www.sweetwater.com/publications/sweetnotes/sn-earlyfall98/page-01.html

สเปค McCarty Archtop

  • Archtop – ท็อปสปรูซ, หลังมาฮอกกานี, ข้างมาฮอกกานี เป็นไม้แท้ทั้งหมด
  • Archtop I – ท็อปเมเปิล, หลังมาฮอกกานี, ข้างมาฮอกกานี เป็นไม้แท้ทั้งหมด
  • Archtop II – ท็อปเมเปิล, หลังเมเปิล, ข้างมาฮอกกานี เป็นไม้แท้ทั้งหมด
  • Body dimensions – ลึก 4 นิ้วที่ใต้บริดจ์, 2 3/4 นิ้วที่ขอบบอดี้
  • Inlay – Moons หรือ Old school birds เลี่ยมด้วยอบาโลน
  • Pickups – McCarty Archtop มีออพชัน piezo pickups สำหรับปี 1999 – 2001
  • PU selector – toggle 3 ทาง
  • Tuners – Phase II ล็อกสาย
  • Bridge – PRS Adjustable Stoptail หรือ PRS piezo stoptail

กีตาร์ McCarty รุ่นนี้เป็นผลงานการออกแบบของ Joe Knaggs อดีต director แผนกวิจัยและพัฒนา และ Private Stock เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าสายแจ๊ส ด้วยบอดี้แบบกลวงที่มีความลึก 4 นิ้ว ไม้ทุกส่วนเป็นไม้แท้ ไม่ใช่ไม้อัด โครงสร้างภายในกลวงแทบทั้งบอดี้ แต่มีบล็อกไม้มาฮอกกานีวางอยู่ใต้บริดจ์ ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมแรงสั่นสะเทือนของไม้ท็อปและไม้หลังเข้าด้วยกัน รวมทั้งเพื่อสร้างความแข็งแรงของโครงสร้างกีตาร์ตัวกลวงรุ่นนี้ด้วย ในส่วนของปิคอัพเป็นรุ่น Archtop คอนโทรลเป็น 1 volume + 1 tone แต่ปุ่มโทนดึงตัดคอยล์ไม่ได้นะครับ ส่วนออพชั่น piezo มีมาในปี 1999

ไลน์ Archtop ผลิตได้แค่ 4 ปีก็เลิกผลิตไป ถึงมันจะหน้าตาแจ๊สอ้วนๆ โบราณๆ แต่ผมว่ามันสวยมีเสน่ห์เฉพาะตัวเลยหละ ยิ่งปีเก่ายิ่งหายากนะครับ ปีใหม่ๆ มีดีลเลอร์บางเจ้าสั่งทำบ้าง แต่ไม่มาก และส่วนประกอบต่างๆ จะใช้ตามสเปคปีปัจจุบัน ไม่เหมือนรุ่น Hollowbody ที่มีมาเรื่อยๆ ดังนั้นใครที่โชคดีมีกำลังทรัพย์ ถ้าเจอ PRS Archtop เข้าก็น่าจัดมาสะสมเสริมบารมีสะท้อนรสนิยมสักตัว โดยเฉพาะตัว Spruce top เห็นเขาว่าเสียงดีโคตรๆ

 

McCarty Hollowbody (1998 – 2007), Hollowbody I (1998 – 2007), Hollowbody II (1998 – ปัจจุบัน)

http://protocolguitarworks.com/portfolio/1998-prs-mccarty-hollowbody-ii/

สเปค McCarty Hollowbody

  • Hollowbody – ท็อปสปรูซ, หลังมาฮอกกานี, ข้างมาฮอกกานี เป็นไม้แท้ทั้งหมด
  • Hollowbody I – ท็อปเมเปิล, หลังมาฮอกกานี, ข้างมาฮอกกานี เป็นไม้แท้ทั้งหมด
  • Hollowbody II – ท็อปเมเปิล, หลังเมเปิล, ข้างมาฮอกกานี เป็นไม้แท้ทั้งหมด
  • ภายในบอดี้มีบล็อคไม้เชื่อมระหว่างไม้หน้าและหลัง
  • มิติ – ลึก 3 นิ้วที่ใต้บริดจ์, 2 3/4 นิ้วที่ขอบบอดี้
  • Inlay – Moons หรือ Old school birds เลี่ยมด้วยอบาโลน
  • Pickups – McCarty Archtop มีออพชัน piezo pickups ตั้งแต่ปี 1999 เป็นต้นไป
  • PU selector – toggle 3 ทาง ไม่มีตัดคอยล์
  • Tuners – Phase II ล็อกสาย
  • Bridge – PRS Adjustable Stoptail หรือ PRS Piezo stoptail

McCarty Hollowbody เกิดปีเดียวกันกับ Archtop แต่บอดี้ตื้นกว่า 1 นิ้ว โครงสร้างภายในก็คล้าย Archtop คือกลวงเกือบทั้งตัว แต่ยังมีบล็อกไม้มาฮอกกานีวางอยู่ใต้บริดจ์เหมือนกับ Archtop ลองดูรูป Hollowbody ข้างล่าง สังเกตตรงใต้บริดจ์นะครับ

https://forums.prsguitars.com/threads/another-archtop-ii-vs-hollowbody-ii-question.16482/

ตั้งแต่ 2008 เป็นต้นมา ไลน์ผลิตยิบย่อยของกีตาร์ Hollowbody ถูกยกเลิกเกือบหมด เหลือแค่ Hollowbody II (เมเปิลหน้า-หลัง) เท่านั้นที่ยังขายได้ขายดีมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่ง McCarty Hollowbody II มีการเปลี่ยนชื่อรุ่นโดยตัดคำว่า McCarty ออกและปรับเปลี่ยนรายละเอียดบางอย่าง ผมขอไม่ลงรายละเอียดของ Hollowbody รุ่นหลังปี 2007 นะครับ เนื่องจาก PRS ไม่กีตาร์จัดกีตาร์รุ่นนี้ไว้ในตระกูล McCarty แล้ว

 

Brazilian Rosewood McCarty Ltd. (1999)

ตัวนี้อินเลย์นก อะไหล่นิเกิล
http://www.soundaffectspremier.com/guitars-c93/pre-owned-guitars-c98/mccarty-brazilian-rosewood-neck-ltd-edition-guitar-in-mccarty-burst-1999-pre-owned-p5437
McRosie 250 ของแท้ต้องมี backplate แบบนี้
ยิ่งตัวนี้ 2/250 ยิ่งพิเศษสุด เพราะเป็นหมายเลขแรกสุดที่ทำขาย (ตัวที่ 1/250 ถูกมอบให้ปู่ Ted)
อินเลย์ Moons แต่อะไหล่ทอง ก็มีนะครับ
http://forums.prsguitars.com/threads/brazilian-rosewood-mccarty-limited-run-of-250-pics-please.2610/
หรือจะเป็นปิคอัพ P90 ก็มี
แต่ถึงสเปคจะดูจืดชืดยังไง สิ่งที่ McRosie ต้องมี คือนี่ครับ ห้ามหาย

สเปค Brazilian Rosewood McCarty limited (1999)

  • Body – มาฮอกกานีที่หนากว่า Custom 1/8 นิ้ว
  • Top – เมเปิล
  • Neck – Brazilian rosewood โปรไฟล์ wide fat
  • Fingerboard – Brazilian rosewood
  • Inlays – Moon หรือ นก Old school เลี่ยมด้วยอบาโลน
  • Scale length – 25 นิ้ว
  • Tuners – สไตล์วินเทจ ไม่ล็อกสาย
  • Truss rod cover – ทำจากไม้ Brazilian rosewood ไม่มีข้อความ
  • Pickups – McCarty หรือ Seymour Duncan Soapbar
  • Pickup Selector
    • ปิคอัพ McCarty – toggle 3 ทาง, 1 vol, 1 tone ดึงปุ่ม tone ตัดคอยล์ได้
    • ปิคอัพ Soapbar – toggle 3 ทาง, 1 vol, 1 tone
  • Bridge – PRS Stoptail หรือ Adjustable stoptail
  • Hardeware – นิเกิล หรือ ทอง
  • ผลิต 250 ตัว

McCarty รุ่นตำนานน่าสะสมที่เมืองนอกตั้งชื่อเล่นให้อย่างน่ารักว่า McRosie เพราะมากับคอบราซิเลียนทั้งแท่ง อินเลย์นกอบาโลนเป็นออพชัน แต่ลิมิเต็ดรุ่นนี้มีสเปคแต่ละตัวค่อนข้างเอาแน่เอานอนไม่ได้นะครับ ทุกตัวได้คอบราซิเลียนก็จริง แต่เกรดท็อป อินเลย์ ปิคอัพ อะไหล่ แต่ละตัวแตกต่างกัน ลองคลิกเข้าไปดูตัวอย่างในกระทู้รวมรูปรุ่นนี้ดู

McRosie ทุกตัวจะมากับแผ่น backplate ที่ลุงพอลเซ็นมือเอาไว้พร้อมลงเลขกำกับ x/250 ซึ่งบางครั้งมีปัญหาว่าบางครั้งเจ้าของเก่าที่ขายกีตาร์รุ่นนี้ต่อ ดันเก็บ backplate นี้ไว้ แถมกีตาร์รุ่นลิมิเต็ดนี้ก็ไม่มี จึงทำให้เป็นการยากที่จะ “ชี้ตัว” ว่านี่คือ McRosie limited เพราะไม่มีเอกลักษณ์อะไรบนตัวกีตาร์ที่จะบอกว่านี่คือหนึ่งในจำนวน 250 ตัวนั้น ส่วนเอกสารที่มากับกีตาร์ก็อาจมีบางตัวเขียนชื่อรุ่นในใบ bird tag ว่า TMBR ซึ่งย่อมาจาก Ted McCarty Brazilian Rosewood แต่บางตัวก็เขียนแค่ชื่อรุ่นว่า McCarty เฉยๆก็มี ดังนั้นตรงนี้จึงช่วยอะไรไม่ได้มาก หรือไม่ได้เลย

bird tag ของ PRS บางครั้งก็เชื่อถือไม่ได้ครับ แต่มันก็ต้องมีเพื่อแสดงความแท้ของกีตาร์

แต่มันก็พอมีวิธีดูครับ คือต้องแกะดูใน treble pickup cavity อย่างนี้ ชีดเจน บอกยันลำดับ sequence number ว่านี่คือตัวที่เทาไหร่จาก 250

ถึง backplate ที่ลุงพอลเซ็นไว้ ดันหาย (หรือเจ้าของเก่าเก็บไว้เอง) เราก็เช็กได้
แต่บอกเลย ถ้าไม่มี plate ราคาตกฮวบทันที ของไม่ครบ เช็กไปก็เท่านั้น
กีตาร์ McRosie หลายตัวถูกขายต่อโดยที่ไม่มี signed backplate ให้มาด้วย เรื่องนี้สำคัญมากๆ ก่อนซื้อต้องเช็กก่อนนะครับ

McCarty Brazilian limited (ปี 1999) เป็น McCarty ที่น่าเก็บสะสมมากครับ ข้อแนะนของผมคือ ควรหาอินเลย์นกเท่านั้น พยายามคัดลายไม้ท็อปสวยๆหน่อย ยิ่ง 10 top ได้ยิ่งดี และสำคัญที่สุด ต้องมี backplate ที่ลุงพอลเซ็นกำกับ ถ้าไม่มี อย่าซื้อ

McRosie ที่ไม่สวยหรือ backplate หาย ผมว่านะครับ สู้เอางบไปซื้อ McCarty คอ BRW ที่ไม่ลิมิเต็ดยังจะดีเสียกว่า เพราะในปี 1999 รวมถึงปีใหม่กว่านั้นนั้น ออพชันคอ BRW ก็มีผลิตอยู่ สเปคไม้ก็ไม่ได้ต่างอะไรกันเลย เผลอๆ สวยกว่า McRosie บางตัวซะด้วยซ้ำ ดังนั้นจะเล่น McRosie ต้องเลือกดีๆ ตามที่ผมแนะนำไว้ข้างต้น อย่าให้คนที่เขาเล่นตัวปกติเขาเย้ยเอาว่า ตัวลิมิเต็ดมีดีแค่นี้เหรอ มันจะชอกช้ำระกำใจมิใช่น้อย เตือนแล้วนะครับ

Brazilian Series McCarty Ltd. (2003)

https://reverb.com/item/1705185-2003-paul-reed-smith-prs-brazilian-series-mccarty-limited

ปี 2003 ชื่อเป็นบราซิเลียน แต่คอไม่ใช่ไม้บราซิเลียนนะครับ

https://reverb.com/item/6398778-prs-brazilian-mccarty
  • Top – เมเปิล 10 top เท่านั้น
  • Neck – มาฮอกกานี โปรไฟล์ wide fat
  • Fingerboard – Brazilian rosewood
  • Headstock – แปะด้วยไม้ Brazilian rosewood ลายเซ็นเลี่ยมด้วย pink heart abalone และมีคำว่า BRAZILIAN ตัวเล็กๆ อยู่ใต้ลายเซ็น เลี่ยมด้วย green ripple abalone
  • Inlay – นก Old school วัสดุ pink heart abalone
  • Tuners – วินเทจ ไม่ล็อกสาย
  • Pickups – McCarty
  • Selector – 1 Vol, 1 Tone, 3 way toggle ดึงโทนตัดคอยล์ได้
  • Hardware – hybrid
  • จำนวนที่ผลิต 500

อย่าสับสนกับ Brazilian Rosewood McCarty ของปี 1999 นะครับ เพราะบราซิเลี่ยนซีรี่ส์นี้ ไม่ใช่คอบราซิเลี่ยน โดยจะได้ไม้บราซิเลียนในส่วนฟิงเกอร์บอร์ดกับ headstock veneer สำหรับงานอินเลย์นกของรุ่นนี้ก็ถือว่าสวยไม่เบา เป็นนก Old school ที่เลี่ยมด้วย pink heart abalone และมีคำว่า BRAZILIAN ตัวเล็กๆอยู่ใต้ลายเซ็น ดูไม่เหมือนตัวอื่นดี

 

McCarty Korina Brazilian limited (2007 – 2013)

https://reverb.com/item/3631386-prs-mccarty-korina-brazilian-rosewood-2007-natural
https://reverb.com/item/8312986-paul-reed-smith-mccarty-korina-brazilian-2007-natural

สเปค McCarty Korina Brazilian limited (2007 – 2013)

  • Body + top – ไม้ Korina
  • Neck – Korina โปรไฟล์ wide fat
  • Fingerboard – Brazilian rosewood
  • Inlays – นก Old school เลี่ยมด้วยอบาโลน
  • Scale length – 25 นิ้ว
  • Tuners – สไตล์วินเทจ ไม่ล็อกสาย
  • Pickups – McCarty หรือ Soapbar
  • Pickup Selector
    • McCarty – toggle 3 ทาง, 1 vol, 1 tone ดึงปุ่ม tone ตัดคอยล์ได้
    • Soapbar – toggle 3 ทาง, 1 vol, 1 tone
  • Truss rod cover – มีคำว่า McCarty
  • Bridge – PRS Stoptail
  • จำนวนผลิต 500

แมคคาร์ตี้ลิมิเต็ดท่ี่ทำจากไม้ Korina หรือเรียกอีกอย่างว่า African limba ซึ่งให้เสียงใกล้เคียงกับมาฮอกกานี ฟิงเกอร์บอร์ดทำจากไม้บราซิเลียน นกอบาโลนเต็มตัว กีตาร์รุ่นนี้อาจดูไม่หรูหราหวือหวาเท่าไหร่ แต่ความน่าสนใจมันอยู่ตรงสปีชีส์ไม้ที่ยุคนี้เราจะไม่ได้พบเห็นบ่อยนัก เนื่องจากไม้ Korina เริ่มหายาก รวมถึงฟิงเกอร์บอร์ดบราซิเลียนโรสวูด ทั้งหมดนี้ไม่น่าเชื่อว่ามือสองสภาพสวยๆ อย่างตัวในรูป ไม่ถึง $2000 สำหรับบ้านเราเมื่อปีที่แล้วผมเห็นร้านนึงโพสต์ขายอยู่ ราคาแถวๆหกหมื่นบาท

ที่จริงกีตาร์ลิมิเต็ดรุ่นนี้ PRS แพลนไว้ว่าจะผลิตและส่งมอบให้ดีลเลอร์ในปี 2007 แต่จากการที่ CITES ประกาศแบนการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของไม้ Brazilian rosewood ทำให้ PRS มีปัญหาทางกฎหมายจนต้องหยุดการผลิตกีตาร์ทุกตัวที่ใช้ไม้ชนิดนี้กลางคัน กีตาร์ตัวไหนขึ้นโครงไปแล้วแต่ยังไม่ได้ใส่คอ ก็ห่อเก็บรักษาไว้อย่างก่อน เพราะไม่สามารถผลิตขายได้เนื่องจากจะมีความผิด กว่าจะเคลียร์เรื่องนี้จบก็ลากยาว ใช้เวลาดำเนินการนานถึง 4 – 5 ปี จนในปี 2012 PRS ก็สามารถจัดการเรื่องนี้ได้จบ และลงมือปิดจ๊อบกีตาร์ลิมิเต็ดซีรี่ส์นี้ได้ และผลิตตัวสุดท้ายได้เสร็จในปี 2013

 

McCarty Korina และ McCarty Korina Soapbar (2008 – 2010)

https://reverb.com/au/item/4169312-prs-mccarty-korina-2008-black-tobacco-burst
https://www.gbase.com/gear/paul-reed-smith-mccarty-korina-2008-natural-1
https://reverb.com/item/6613539-paul-reed-smith-mccarty-korina-soapbar-usa-made-with-fralin-hum-cancelling-pickups-2008-natural

สเปค McCarty Korina (2008 – 2010)

  • Body + top – ไม้ Korina
  • Neck – Korina โปรไฟล์ wide fat
  • Fingerboard – Rosewood
  • Inlays มีทั้งสามแบบ
    • Moon
    • นกเต็มตัว old school bird เลี่ยมด้วยอบาโลน
    • นกกลวง hollow birds เลี่ยมด้วยอบาโลน
  • Scale length – 25 นิ้ว
  • Tuners – สไตล์วินเทจ ไม่ล็อกสาย
  • Pickups – McCarty หรือ Soapbar
  • Pickup Selector
    • PU McCarty – toggle 3 ทาง, 1 vol, 1 tone ดึงปุ่ม tone ตัดคอยล์ได้
    • PU Soapbar – toggle 3 ทาง, 1 vol, 1 tone
  • Truss rod cover – มีคำว่า McCarty
  • Bridge – PRS Stoptail

McCarty Korina รุ่นนี้ก็คือเวอร์ชันฟิงเกอร์บอร์ดโรสวูดธรรมดา ปลอดภัยจากไซเตส สเปคก็คล้ายๆตัวลิมิเต็ดนะแหละ แต่ไม้บอดี้จะเริ่มมีหลายชิ้น (เท่าที่ผมเจอคือ 3 ชิ้น ในรูปด้านบน) จากเดิมรุ่นลิมิเต็ดที่มีแค่ 1 – 2 ชิ้น ในส่วนของอินเลย์ก็มีทุกแบบนะครับ เหมือนกับเป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน เพราะปี 2008 PRS เปลี่ยนสไตล์อินเลย์จากนก old school ไปเป็นนกกลวง

 

McCarty 1957/2008 และ McCarty Singlecut 1957/2008 limited (2008)

https://reverb.com/item/4792138-rare-prs-mccarty-1957-2008-limited-editon-2008-cherry-amber-quilt-10-top-44-of-150

สเปค McCarty 1957/2008 limited (2008)

  • Body – มาฮอกกานีน้ำหนักเบา
  • Top – เมเปิล 10 top
  • Neck – มาฮอกกานีเปรู โปรไฟล์ wide fat
  • Fingerboard – East Indian rosewood
  • Inlays – hollow birds เลี่ยมด้วยอบาโลน
  • Scale length – 25 นิ้ว
  • Tuners – สไตล์วินเทจ ไม่ล็อกสาย
  • Pickups – 57/08 มีฝาครอบ ปัดด้าน
  • Pickup Selector – toggle 3 ทาง, 1 vol, 1 tone ดึงปุ่ม tone ตัดคอยล์ได้
  • Truss rod cover – มีคำว่า 1957/2008
  • Bridge – PRS Stoptail
  • Hardware – นิเกิล
  • จำนวนผลิต – 150 ตัว

เป็นรุ่นผลิตจำนวนจำกัด 150 ตัว โดยจะมีหมายเลขประจำตัวและลายเซ็นของลุงพอลที่ฝาปิดช่องคอนโทรล (มีอันสำรองที่ไม่มีลายเซ็นแถมมาให้) สเปคก็มีปิคอัพ 57/08 ที่เพิ่งเปิดตัวใหม่ในปีนั้น คอเป็นไม้มาฮอกกานีจากเปรู บอดี้มาฮอกกานีน้ำหนักเบา อินเลย์นกกลวง hollow birds เลี่ยมด้วยอบาโลนตามมาตรฐานของกีตาร์ PRS core line ในช่วงปีนั้น ส่วน truss rod cover มีตัวเลข 1957/2008 สีขาวบนพื้นดำ เป็นจุดสังเกตที่แสดงความ unique ของรุ่นนี้

ปิคอัพ 57/08 ใช้ลวดทองแดงจากผู้ผลิตที่ Fender และ Gibson ใช้ทำปิคอัพในยุค 50s และเป็นลวดสเปคเดียวกัน ผลที่ได้คือปิคอัพรุ่นนี้ให้โทนเสียงนุ่มนวล หวาน เป้นปิคอัพที่ขาแจสและบลูส์น่าจะชอบกันเยอะ

ในปี 2008 ไม่ได้มีแค่ McCarty นะครับที่ผลิตเป็นเวอร์ชันลิมิเต็ดฉลองปิคอัพ 57/08 เพราะยังมีกีตาร์รุ่นอื่นๆ ด้วย ได้แก่ Custom 24 (350 ตัว) และ SC 245 (250 ตัว) หน้าตาก็ประมาณในสองรูปนี้ครับ

http://wildwireguitars.com/prs-custom-24-1957-2008-limited-edition-10-top-quilt-signed-mccarty-sunburst/
http://willcuttguitars.com/paul-reed-smith/sc-245-sc-250-singlecut/prs-sc-245-5708-mccarty-burst-quilt-10-top-839

McCarty 1957/2008 limited สเปคจะใกล้เคียงกับ McCarty 58 หรือ MC-58 ที่คลอดตามมาในอีกสองปีถัดมา แต่ MC-58 นั้นอัดเกรดไม้และงานประดับโหดสัสกว่ารุ่นลิมิเต็ดนี้มากมาย ดังนั้นถ้าใครอยากได้ McCarty ที่ติดปิคอัพ 57/08 สเกล 25″ แต่หาตัวลิมิเต็ดไม่ได้ เรายังมี MC-58 รออยู่อีกรุ่นหนึ่งนะครับ

Smokeburst McCarty (2009)

  • Body – มาฮอกกานี
  • Neck – มาฮอกกานี โปรไฟล์ wide fat
  • Fingerboard – Rosewood
  • Inlays – นก hollow birds ทำจาก abalone
  • Scale length – 25 นิ้ว
  • Tuners – สไตล์วินเทจ ไม่ล็อกสาย
  • Pickups – 57/08
  • Pickup Selector – toggle 3 ทาง, 1 vol, 1 tone ดึงปุ่ม tone ตัดคอยล์
  • Truss rod cover – มีคำว่า McCarty
  • Bridge – PRS Stoptail เสาทองเหลืองไม่ชุบโครเมี่ยมในจุดที่โลหะสัมผัสกัน
  • Finish – nitrocellulose gloss

Smokeburst McCarty เป็นกีตาร์รุ่นท้ายๆ ของยุคคลาสสิคที่สเปคโดยรวมยังมีความดั้งเดิมอยู่ แต่สำหรับปี 2009 ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านก็เริ่มมีการใส่สเปคบางอย่างของยุคใหม่เข้ามา สำหรับเจ้าตัวนี้นี้มันก็คือ McCarty ที่เคลือบเงาด้วยแลคเกอร์ nitrocellulose gloss เพื่อให้แลดูเป็นแนววินเทจ และติดปิคอัพสายวินเทจรุ่นใหม่ของปีนั้นคือรุ่น 57/08 เหมือนกับของ McCarty 1957/2008 ltd.

แนวคิดของลุงพอลที่สร้างรุ่นนี้ขึ้น คือต้องการสร้างกีตาร์ที่ดูวินเทจมากขึ้น และสามารถนำไม้เมเปิลลายธรรมดาๆ ที่ค้างสต๊อกอยู่เยอะมาทำกีตาร์ เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่มักเลือกแต่ออพชันลายไม้สวยๆ ทำให้เหลือไม้เมเปิลเกรดธรรมดาเยอะ ลุงบอกว่าลวดลายของไม้มันไม่เกี่ยวอะไรกับเสียง กีตาร์ตัวหนึ่งสามารถเป็นกีตาร์ที่ดีได้โดยไม่จำเป็นต้องมีลายสวย ผลที่ได้ก็คือ McCarty ที่อัพเกรดเพิ่มลุควินเทจเคลือบไนโตร ได้อารมณ์กีตาร์เก่านั่นเอง ขาวินเทจน่าจะลองเช็กรุ่นนี้ดูหน่อย เผื่อจะชอบนะครับ

https://reverb.com/item/1004098-prs-mccarty-2009-smokeburst-super-light-6-lbs-15-oz

PRS McCarty II (2008 – 2009)

สังเกตฝาปิดรังถ่านสำหรับวงจร MVC นะครับ

https://www.musicgoround.com/p/147074/used-prs-mccarty-ii-2008-wcs

สเปค McCarty II (2008 – 2009)

  • Body – มาฮอกกานี
  • Neck – มาฮอกกานี โปรไฟล์ wide fat
  • Fingerboard – Rosewood
  • Inlays – Moons หรือ นก hollow birds ทำจาก abalone
  • Scale length – 25 นิ้ว
  • Tuners – สไตล์วินเทจ ไม่ล็อกสาย
  • Pickups – 245
  • Pickup Selector – toggle 3 ทาง, 1 vol, 1 tone ไม่ตัดคอยล์
  • สวิทช์ Mastering Voice Control (MVC)
  • Truss rod cover – มีคำว่า McCarty II
  • Bridge – PRS Stoptail เสาทองเหลืองไม่ชุบโครเมี่ยมในจุดที่โลหะสัมผัสกัน

McCarty II เป็นเจเนอเรชั่นที่สองของแมคคาร์ตี้เวอร์ชันมาตรฐาน มีการปรับปรุงในบางจุด แต่ก็ไม่ถือว่าเปลี่ยนแปลงมากมายนักจากรุ่นแรก ไม้ท็อปใช้ไม้เมเปิล east coast red maple ซึ่งเป็นเมเปิลชนิดเดียวกันกับที่ใช้ใน Gibson LP 50s ปิคอัพเปลี่ยนจากรุ่น McCarty เป็นรุ่น 245 ซึ่งให้โทนเสียงวินเทจ แต่มีย่านแหลมที่พุ่ง เคลียร์ ทำให้เล่นในสไตล์ร็อก โดยเฉพาะแนวคลาสสิคร็อกได้ดีกว่าปิคอัพสายวินเทจหวานๆ ในยุคถัดมา (เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ) ส่วนงานอินเลย์ก็ถูกปรับไปตามสเปคของกีตาร์ PRS Custom 24 ช่วงปีนั้น ก็คือนกไม่เต็มตัว เป็นนกกลวงอบาโลน ซึ่งก็สวยไปอีกแบบ

ฟีเจอร์เด่นของ McCarty II คือระบบปรีแอมป์ในตัวที่ชื่อ Mastering Voice Control ที่มาของระบบนี้เกิดจากการรีเควสต์ของคาร์ลอส ซานทานา ที่อยากได้เสียงซิงเกิลคอยล์สไตล์ 60s ในกีตาร์ Santana ของแก ซึ่ง PRS ก็ทำระบบนี้ให้และติดตั้งกับ PRS Santana MD คุณสมบัติของระบบพรีแอมป์ MVC คือเมื่อเปิดระบบด้วย mini toggle ที่วางอยู่ระหว่างวอลุ่มกับโทนแล้วจะสามารถเปลี่ยนเสียงกีตาร์จากเสียงซิงเกิลคอยล์สไตล์เทเลยุค 60s ไปจนพุ่งแบบฮัมบัคเกอร์แนวเมทัลด้วยการหมุนปุ่มโทน แต่ปุ่มโทนของ McCarty II จะไม่สามารถดึงขึ้นเพื่อตัดคอยล์ได้นะครับ เรื่องนี้ผมคิดว่าน่าจะเป็นเพราะสเปคของปิคอัพรุ่น 245 ไม่ได้ทำมารองรับการตัดคอยล์เหมือนอย่างปิคอัพ McCarty เลยทำให้ McCarty II ตัดคอยล์ไม่ได้ไปโดยปริยาย

PRS บอกไว้ว่าโทนซิงเกิลคอยล์ที่ได้จาก MVC นั้นวอลุ่มจะไม่ดรอป ไม่จี่ ลองฟังเสียงการใช้ MVC ดูนะครับ

แต่ด้วยความที่วงจรนี้เป็นวงจรแอคทีฟ จึงต้องใช้ไฟเลี้ยงระบบจากถ่าน 9 volts จำนวนสองก้อน ซึ่ง PRS ระบุว่าจะใช้งานได้อย่างน้อย 20 ชั่วโมง ซึ่งจากการรีวิวของ Guitarist magazine พบว่าใช้งานได้ประมาณ 40 ชั่วโมง แต่ถ้าแบตหมดก็สามารถใช้งานกีตาร์เหมือนกีตาร์ทั่วไปหากไม่เปิดสวิทช์วงจร MVC ครับ

เท่าที่ผมอ่านความเห็นตามเว็บบอร์ดต่างประเทศ ดูเหมือนว่า McCarty II จะไม่ค่อยได้รับความนิยมสักเท่าไหร่นะครับ ท่าทางคนจะไม่ค่อยชอบระบบ MVC เท่าใดนัก บ้างก็ว่ากีตาร์วินเทจอะไรใช้ปรีแอมป์ บ้างก็ว่าเปลี่ยนไปใช้ push-pull Tone แบบเก่าจะดีกว่าไหม ฯลฯ ก็ไม่รู้ว่าเพราะแบบนี้หรือเปล่า ไลน์ผลิตแมคคาร์์ตี้รุ่นนี้จึงมีอายุสั้นเพียงสองปี แต่สำหรับคนที่ใช้อยู่เขาก็ประทับใจข้อดีของ MVC ตรงที่โทนซิงเกิลคอยล์ของมันใกล้เคียงกับต้นฉบับมากๆ และเล่นได้กว้างซะยื่งกว่าการมีปุ่มโทนตัดคอยล์เสียอีก

 

ส่งท้ายตอนที่ 2

PRS McCarty ในยุคแรกตั้งแต่ปี 1994 จนถึงปี 2008 ก็จะมีประมาณนี้นะครับสำหรับกีตาร์แมคคาร์ตี้ยุคคลาสสิค สำหรับรุ่นที่ผลิตตั้งแต่ช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างปี 2008 – 2009 จนมาถึงปัจจุบันจะมีรุ่นไหนบ้างนั้น อ่านต่อได้ในตอนที่ 3 คลิกที่นี่คร้าบ

########################################################

กลุ่มเฟสบุค PRS Club Thailand คลิกเลยจร้าา
https://web.facebook.com/groups/346587559155557/