PRS Dragon ตัวแรกถึงตัวล่าสุด และสถิติราคาซื้อขาย

ช่วงปลายปีที่แล้ว พิพิธภัณฑ์ Musical Instrument Museum (MIM) แห่งรัฐอริโซนาของอเมริกา ได้จัดนิทรรศการแสดงศิลปะงานอินเลย์บนตัวกีตาร์ในชื่อว่า “Dragons and Vines: Inlaid Guitars Masterpieces” (มังกรกับเถาวัลย์: ผลงานชิ้นเอกแห่งวงการกีตาร์ประดับอินเลย์ – ผมแปลเอง) ซึ่งนิทรรศการดังกล่าวเป็นการนำเอา collection กีตาร์ PRS Dragon ที่ลุง Larry Sifel ผู้ก่อตั้งบริษัท Pearl Works คู่หูทางธุรกิจเก่าแก่ของลุงพอลได้สะสมไว้มาจัดแสดง รวมถึงกีตาร์จากแบรนด์กีตาร์เองอย่าง PRS, Martin ร่วมจัดแสดงด้วย ซึ่งกีตาร์แต่ละตัวนั้นก็มาพร้อมงานประดับอินเลย์ระดับ masterpiece กันเลยทีเดียว

ผมเห็นว่าการเอากีตาร์มังกรมารวมกันในที่เดียวเป็นไอเดียที่น่าสนใจมากและอยากทำสรุปให้เพื่อนๆอ่าน แต่เนื่องจากนิทรรศการดังกล่าวเป็นงานที่เก็บค่าเข้าชม ทางพิพิธภัณฑ์จึงไม่ได้ถ่ายรูปกีตาร์ทุกตัวในการประชาสัมพันธ์ และถ้า search หารูปกีตาร์ในงานนี้จากผู้เข้าชมงานอัพโหลดไว้ก็อาจรวบรวมได้ไม่ครบ ผมจึงถือโอกาสรวบรวมข้อมูล PRS Dragon ทุกรุ่น ทุกปี จากแหล่งข้อมูลอื่นๆ มาให้เพื่อนๆ ได้รับชมแบบครบๆ เรียงลำดับตามอาวุโส ไปดูกันเลยครับ

ลำดับที่ 1 : First Dragon (1979)

จากที่ผมเคยเล่าไว้ในบทความตอนท่ีแล้ว เกี่ยวกับเบื้องหลังอินเลย์เทพของ PRS Dragon เอาไว้ว่าแรงบันดาลใจของการสร้าง มาจากการพบกันระหว่างความฝันในวัยเด็กของลุงพอลและเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านงานสร้างอินเลย์ แต่เพื่อนๆรู้หรือไม่ครับว่าที่จริงลุงแกก็เคยทำกีตาร์อินเลย์มังกรด้วยฝีมือตัวเองอยู่นะครับ ซึ่งก็อย่างที่บอก ด้วยข้อจำกัดมากมายของยุคสมัยปี ค.ศ. 1979 (ช่วงนั้นยังเป็นช่างทำกีตาร์อายุแค่ 23 ปี) งานที่ออกมาเลยอาจไม่อลังการงานสร้างเหมือนยุคหลังๆ เจ้า First Dragon ตัวนี้ลุงพอลไม่ได้ทำขายนะครับ แกเก็บไว้เอง

https://imgur.com/gallery/9H17b

ทาง PRS เค้ามีทำกีตาร์รุ่นเวอร์ชันลิมิเต็ดเรโทรสำหรับเจ้ามังกรน้อยนี้ด้วยนะครับ คือจะเป็นรุ่นที่ชื่อว่า 1980 West Street Ltd. ซึ่งตั้งชื่อตามที่อยู่ของร้านทำกีตาร์เล็กๆ ของลุงสมัยที่ยังไม่มีโรงงาน โดยสเปคจะเป็นเป็นบอดี้มาฮอกกานีแปะท็อป Sapele คอมาฮอกกานี ฟิงเกอร์บอร์ดบราซิเลียนโรสวูด 24 เฟรท สเกลสั้น 24.5″ ปิคอัพ HFS + RP ลูกบิดล็อกสาย Phase II

http://www.buguitars.com/prs/rare/Weststreet_VM/index.html

https://reverb.com/item/94416-prs-1980-west-street-limited

ถึงแม้เจ้าตัวนี้จะไม่ได้จัดอยู่ในไลน์การผลิต แต่ผมนำมาใส่ไว้เพื่อให้เห็น passion ในการทำกีตาร์มังกรที่ลุงพอลมีมาตั้งแต่ยังหนุ่มๆ และไม่เคยทิ้งตัวตนของแกเลยจากวันนั้นจนวันนี้ และ First Dragon เป็นหลักฐานยืนยันได้เป็นอย่างดี ผมคิดว่ามันมีความหมายอะไรบางอย่างสำหรับแบรนด์ PRS และ passion นี้ของลุงก็มีส่วนที่ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักมากขึ้น

ผมไม่รู้ว่าทาง PRS คิดแบบผมมั้ย แต่เขาคงมีเหตุผลอะไรบางอย่างที่เอากีตาร์ First Dragon ตัวนี้ไปให้ทาง MIM จัดแสดงร่วมกับกีตาร์มังกรยุคใหม่ซึ่งถ้าพูดกันตรงๆแล้วคงไม่สวยสะดุดตาน่าสนใจอะไรเลยในสายตาของคนทั่วไป (คนที่ไปชมนิทรรศการนี้ต่างก็แชร์รูปกีตาร์ Dragon I จนถึงตัวล่าสุดหลายรูป แต่ผมเจอรูป first Dragon เพียงรูปเดียว) แต่หากเรามองในแง่ที่ว่ามันเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ ที่ผู้สร้างนำมาพัฒนาต่อเนื่องจนเป็นความสำเร็จยิ่งใหญ่ในปัจจุบัน เช่นนั้นแล้วกีตาร์มังกรเชยๆ ตัวนี้ก็ถือว่ามีคุณค่าน่าจดจำไม่น้อยไปกว่ามังกรตัวใหม่ๆ แต่อย่างใดเลย

ลำดับที่ 2 : PRS Dragon I (1991-1992)

http://www.prsguitars.com/index.php/blog/post/prs_in_musical_instrument_museums_dragons_vines_exhibit

1992 PRS Dragon I

สเปค:

  • บอดี้ mahogany
  • คอ mahogany โปรไฟล์ wide-fat
  • บอร์ด Brazilian rosewood
  • อินเลย์ Dragon รุ่นแรกบนฟิงเกอร์บอร์ด เลี่ยมด้วยวัสดุ 201 ชิ้นประกอบด้วยอบาโลน เทอร์คอยส์ และเปลือกหอยมุก
  • 22 frets
  • ลายเซ็นบน headstock ทำจากอบาโลน
  • Trussrod cover: ว่าง
  • ลูกบิดล็อกสาย PRS Winged Locking Tuners
  • สี: amber, dark cherry, sunburst, indigo, teal black
  • Pickups: Dragon 1 มีทั้งเซ็ทที่มีฝาปิดและไม่มีฝาปิด
  • control: Volume, Tone,
  • PU selector: โรตารี / toggle 3 ทาง
  • บริดจ์: PRS Stoptail
  • อะไหล่สีทอง
  • จำนวนที่ผลิต: 50
  • ราคาเปิดตัว: $8,000 (1992)

ออกแบบโดยลุงพอลและลุงแลรีจากใจลุงพอลที่ใฝ่ฝันจะเห็นอินเลย์มังกรบนฟิงเกอร์บอร์ดมาตั้งแต่ยังเด็ก และ Pearl Works ก็จัดการเนรมิตให้มันอยู่บนบอร์ดจริงๆ นับเป็นก้าวสำคัญของการนำเทคโนโลยี CNC มาใช้ในงานอินเลย์สำหรับกีตาร์ของยุค 90s

Dragon I ไม่ได้มีความสำคัญแค่เป็นมังกรตัวแรก แต่มันยังเป็นกีตาร์ซึ่งเป็นตัวแทนของสิ่งใหม่ๆ หลายสิ่งในสายการผลิตของ PRS เช่น เป็นจุดเริ่มต้นของ PRS ทรง Custom ที่มี 22 เฟรท, เป็นการนำบริดจ์ PRS Stoptail มาใช้เป็นครั้งแรก และเป็นการเปิดตัวปิคอัพ Dragon I

ลำดับที่ 3 : PRS Dragon II (1993)

1993 PRS Dragon II

http://www.guitarmaverick.com/paul-reed-smith-prs-dragon-ii/

https://gpguitars.com/products/prs-dragon-ii-12-green

http://www.bnbguitars.com/FR/gitaren/paul-reed-smith-dragon/index.cfm

สเปค:

  • บอดี้มาฮอกกานี ท็อปเมเปิลลายเฟลม
  • คอมาฮอกกานี โปรไฟล์ wide-fat
  • ฟิงเกอร์บอร์ด Brazilian rosewood
  • อินเลย์ Dragon รุ่นที่ 2 วัสดุ 218 ชิ้น ได้แก่ ทอง, ปะการัง, อบาโลน, malachite, onyx, และเปลือกหอยมุก
  • 22 เฟรท
  • ลายเซ็นบน headstock เลี่ยมด้วยทอง
  • Trussrod cover: ว่าง
  • ลูกบิดล็อกสาย PRS Winged Locking Tuners
  • สี: amber, dark cherry, sunburst, indigo, teal black
  • Pickups: Dragon ส่วนใหญ่ไม่มีฝาครอบ แต่ก็มีบางตัวที่มีฝาครอบ
  • Control: Volume, Tone
  • PU selector: โรตารีและ toggle 3 ทาง
  • บริดจ์: PRS Stoptail
  • อะไหล่สีทอง
  • จำนวนที่ผลิต 100

หลังจากเนรมิตมังกรรุ่นแรกไปเมื่อปีที่แล้ว ปีต่อมาลุงพอลก็เดินหน้าสร้างมังกรรุ่นต่อไปทันที โดยในรุ่น 2 นี้ลุงพอลได้ David Hazel ซึ่งปัจจุบันอยู่ในทีม Private Stock ช่วยออกแบบให้อินเลย์มีความซับซ้อนมากขึ้น รวมทั้งอัพเกรดอินเลย์ลายเซ็นบนหัวกีตาร์ด้วยทอง

ลำดับที่ 4 : PRS Dragon III (1994)

http://www.guitarmaverick.com/paul-reed-smith-prs-dragon-iii-sold/

http://www.ainig.co.kr/column/39925?ckattempt=1

  • บอดี้มาฮอกกานี
  • คอมาฮอกกานี โปรไฟล์ wide-fat
  • ฟิงเกอร์บอร์ด Indian Rosewood ไม่ใช่บราซิเลียน จากคำยืนยันจากคุณ Shawn@PRS อินเลย์ Dragon รุ่นที่ 3 วัสดุที่ใช้ ทอง, Red and Green Abalone, เปลือกหอยมุก, งาช้างแมมมอธ, หินสีต่างๆ และไม้ รวมวัสดุทั้งหมด 238 ชิ้น
  • 22 frets
  • Truss rod cover: มีคำว่า Dragon III
  • ลายเซ็นบน headstock เลี่ยมด้วยทอง
  • ลูกบิดล็อกสาย PRS Winged locking tuners
  • สี: amber, dark cherry, sunburst, indigo, teal black
  • Pickups: Dragon Treble & Bass
  • Control: Volume, Tone,
  • PU selector: โรตารี
  • บริดจ์: PRS Stoptail (มีคนบอกว่าเคยเห็น Dragon III มีคันโยกด้วยนะครับ แต่ผมยังไม่พบข้อมูลยืนยัน)
  • อะไหล่สีทอง
  • จำนวนที่ผลิต 100
  • ราคาเปิดตัว: $16,000

ผมเรียกมังกรรุ่นนี้ว่า “มังกร U – turn” เพราะผมรู้สึกเหมือนมันกำลังหันหลังกลับไปมองอะไรสักอย่าง หรือไม่ก็กำลังจะเลี้ยวกลับลำ 555 สำหรับผลงานลำดับที่สาม (ที่ทำขาย) ของซีรีส์มังกรนี้ ทาง PRS บอกว่า ได้เพิ่มปริมาณทองในอินเลย์มากขึ้นกว่าทั้งสองรุ่นที่ผ่านมา แต่ถ้าไม่นับเรื่องอินเลย์แล้ว โดยพื้นฐานก็คล้ายกับสองรุ่นก่อนหน้าครับ จะมีส่วนที่เปลี่ยนไปที่สะดุดตาผม ก็คงเป็นฟิงเกอร์บอร์ดที่ไม่ใช่ไม้บราซิเลียนโรสวูดเหมือนที่ผ่านมา

พูดถึงทองที่รุ่นนี้ต้องใช้มากขึ้น ลุงแลรีแห่ง Pearl Works ได้เคยเล่าไว้ว่า ทาง Pearl Works ต้องจัดหาทองโดยมีรถขนทองคำมูลค่าเที่ยวละ 4000 ดอลลาร์ มาส่งทุกวันพฤหัสบดีสุดท้ายของเดือน ซึ่งก็ทำเช่นนี้อยู่หลายเดือนจนคนขับรถถามว่า นี่พวกคุณจะเอาไปทำอะไรกันเนี่ย

ลำดับที่ 5 : PRS Dragon 2000 (1999 – 2000)

http://americanhistory.si.edu/collections/search/object/nmah_1192868

http://rockguitardaily.blogspot.com/2014/10/the-prs-electric-guitar-book-30th.html

                                        

1999 PRS Dragon 2000 – #30 – Finished in Violin Amber

                        

https://www.gbase.com/gear/paul-reed-smith-dragon-2k-1999-burgundy

สเปค:

  • บอดี้มอฮอกกานี เฟลมท็อป อินเลย์มังกร 3 มิติที่ทำจากวัสดุจำนวน 242 ชิ้น ได้แก่ งาช้าง mastodon, rhodonite, agoya, ปะการัง, onyx, sugilite, chrysacola, red, green, and pink abalone และ paua
  • คอ Brazilian rosewood ทั้งแท่งรวมถึงฟิงเกอร์บอร์ดด้วย โปรไฟล์คอ wide-fat
  • ไม่มีอินเลย์ฟิงเกอร์บอร์ด
  • 22 เฟรท
  • truss rod: มีคำว่า “Dragon 2000” เลี่ยมด้วยอบาโลน
  • Headstock: ลายเซ็นสีทอง
  • ลูกบิดแบบไม่ล็อกสาย ตัว tuner buttons ทำจากไม้อีโบนี
  • สี: สีซันเบิรสท์หรือสีอื่นๆ
  • Pickups: PRS Model (ที่จริงก็คือ McCarty set)
  • Control: Volume, Tone,
  • PU selector: สวิทช์สามทาง
  • Bridge: PRS Stoptail
  • Hardware: สีทอง
  • จำนวนผลิต: 50
  • ราคามือหนึ่ง: $20,000

หลังจากยอดขายของ Dragon III ที่ค่อนข้างทำยอดขายได้ช้า บวกกับต้นทุนค่าแรงการทำอินเลย์ที่สูง จึงทำให้ PRS ต้องพักเบรคโปรเจคท์กีตาร์มังกรไปถึง 6 ปี ก่อนจะกลับมาด้วยมังกรโฉมใหม่ Dragon 2000 (หรือเรียกว่า Millennium Dragon) คราวนี้อินเลย์มังกรเปลี่ยนจากมังกรตัวยาวๆ แบนๆ บนฟิงเกอร์บอร์ดมาเป็นมังกรพ่นไฟอยู่บนตัวกีตาร์บริเวณ lower bout แทน และเว้นว่างในส่วนของฟิงเกอร์บอร์ดไป ผลงานการออกแบบอินเลย์โดย Jeff Easley ที่เคยฝากผลงานไว้ใน Dragon III

แน่นอนว่านอกจากอินเลย์แล้ว อีกสิ่งที่เพื่อนๆคงสนใจกันเป็นพิเศษคงหนีไม่พ้นคอบราซิเลียนโรสวูดทั้งแท่งซึ่งเพิ่งมีเป็นรุ่นแรกของครอบครัวมังกร ไม่เคลือบเงา ได้ฟีลลื่นมือ สัมผัสเป็นธรรมชาติ และเพิ่มความตึ้บให้กับเนื้อเสียง นอกจากนี้ องค์ประกอบอื่นที่แตกต่างจากรุ่นก่อนหน้าก็ยังมีลูกบิดไม่ล็อกสายที่ button ทำจากไม้ ebony พร้อมด้วยปิคอัพรุ่นชื่อรุ่น PRS Model ซึ่งความจริงก็คือปิคอัพรุ่น McCarty นั่นเอง

ตัวโหดราคาล้านบาทรออยู่หน้าต่อไป คลิกหน้า 2 เลยครับ